ร้องเปิดเผยเงื่อนไขการเจรจาประมูลอู่ตะเภาสูง ผู้รับผิดชอบคือใคร หากทำไม่ได้จริง!

ร้องเปิดเผยเงื่อนไขการเจรจาประมูลอู่ตะเภาสูง ผู้รับผิดชอบคือใคร หากทำไม่ได้จริง!

ร้องเปิดเผยเงื่อนไขการเจรจาประมูลอู่ตะเภาสูง ผู้รับผิดชอบคือใคร หากทำไม่ได้จริง!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากการประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ที่มีการเสนอราคาสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 3.05 แสนล้านบาท โดยมีเม็ดเงินที่จะต้องจ่ายจริงให้ภาครัฐตลอด 50 ปีของอายุสัญญา เป็นจำนวน 1.3 ล้านล้านบาท อยู่บนสมมุติฐานว่า สนามบินอู่ตะเภาจะสามารถรองรับผู้โดยสาร 60 ล้านคน ซึ่งหลายฝ่ายตั้งคำถามว่า หากทำไม่ได้ ใครจะรับผิดชอบ จะเกิดเป็นค่าโง่ซ้ำซากหรือไม่

ล่าสุด นายเอนก ธีระวิวัฒน์ชัย รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)(ทอท.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 วงเงินราว 6.2 หมื่นล้านบาทว่า ภาพรวมของงานก่อสร้างมีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 60% ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นจำนวนมาก

โดยหลักการแล้วมีความจำเป็นต้องสร้างเทอร์มินอล 2 เพราะปัจจุบันสนามบินสุวรรณภูมิรับผู้โดยสาร 63 ล้านคนต่อปี เกินขีดความสามารถปกติที่รับได้ 45 ล้านคนต่อปี ซึ่งหากการก่อสร้างแล้วเสร็จจะทำให้มี 28 หลุมจอด พื้นที่ลานจอด 250,000 ตร.ม. รองรับเครื่องบิน A380 ได้พร้อมกัน 8 ลำ และอื่น ๆ อีก 20 ลำในเวลาเดียวกัน

ดังนั้นจึงมีคำถามสำคัญว่า สนามบินอู่ตะเภาจะแย่งจำนวนผู้โดยสารจากสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมืองได้เท่าไร จะทำได้ 60 ล้านคนตามที่เสนอจริงหรือไม่

นอกจากนั้น ในระยะยาวยังมีแผนขยายสนามบินดอนเมืองระยะที่ 3 วงเงิน 3.2 หมื่นล้านบาท โดยเป็นการขยายลานจอดอากาศยานด้านทิศเหนือ ปรับปรุงหลุมจอดด้านทิศเหนือ 12 หลุมจอด ก่อสร้างอาคารหลังใหม่ เพิ่มอาคารจอดรถ โรงแรม ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM) ซึ่งตามแผนจะแล้วเสร็จในปี 2567 จะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 40 ล้านคนต่อปี และ 50 เที่ยวบินต่อชั่วโมง

ซึ่งการประเมินจำนวนผู้โดยสารของสนามบินอู่ตะเภาที่สูงเกินไปนั้น หากทำไม่ได้จริง จะมีแผนรองรับอย่างไร เพราะอาจทำให้กระทบต่อการท่าอากาศยาน จึงควรเปิดเผยแผนฉุกเฉิน (Contingency Plan) ของผู้เสนอราคา ซึ่งสหภาพแรงงานเอง ก็อาจต้องออกมาตั้งคำถามถึงความโปร่งใส และผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน หากโครงการอู่ตะเภาไม่เป็นไปตามแผนที่มีราคาสูงลิ่ว

ตัวอย่างจากกรณีของสหภาพแรงงานการบินไทยที่เข้ายื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในวันที่ 2 มี.ค. เวลา 11.00 น. ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล เพื่อขอให้เยียวยาช่วยเหลือแก่บริษัทการบินไทย, พนักงาน, ลูกจ้าง และครอบครัว ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จำนวนกว่า 1,500 คน ที่ต้องหาที่อยู่ใหม่ ต้องหาที่เรียนให้บุตรหลานใหม่ และต้องย้ายที่ทำงานใหม่

ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ กลุ่มนี้ได้เคยสนับสนุน ให้กำลังใจในการทำงานพล.อ.ประยุทธ์ พร้อมขอให้อยู่ต่ออีก 10 ปี เมื่อครั้งที่ พล.อ.ประยุทธ์ และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์ซ่อมอากาศยานแห่งที่ 2 (อู่ตะเภา) ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2559

บทเรียนหลายอย่างที่ผ่านมาทำให้เห็นว่า ความโปร่งใส และการเปิดเผยข้อมูลของแผนรองรับผลกระทบร่วมกันทั้งของใหม่และของเก่ามีความสำคัญ ที่ต้องให้ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนรับทราบถึงผลกระทบ เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาต่อไปในอนาคต แต่สำหรับกรณีของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา แม้กระทั่งรายชื่อคณะกรรมการเจรจา ก็ยังไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ นอกจากนั้น หน่วยงานที่อ้างตนว่าเป็นกลาง ที่เข้าไปเป็นสักขีพยาน ก็ปิดปากเงียบอย่างผิดปกติ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook