อ.เจษฎา เผยวิธียืดอายุหน้ากากอนามัย ใช้ซ้ำยังป้องกันโควิด-19 ได้เหมือนเดิม

อ.เจษฎา เผยวิธียืดอายุหน้ากากอนามัย ใช้ซ้ำยังป้องกันโควิด-19 ได้เหมือนเดิม

อ.เจษฎา เผยวิธียืดอายุหน้ากากอนามัย ใช้ซ้ำยังป้องกันโควิด-19 ได้เหมือนเดิม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

(13 มี.ค.63) อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย สำหรับป้องกัน COVID-19

วิธีการยืดอายุการใช้งานหน้ากากอนามัยโดย ไต้หวัน ระบุว่า หน้ากากอนามัยสามารถนำมาใช้ซ้ำได้ หากผ่านการฆ่าเชื้อโรคอย่างเหมาะสม ซึ่งเหมาะกับสถานการณ์ที่ตอนนี้คนกำลังแตกตื่น ทำให้ขาดแคลนหน้ากากอนามัย มีคำแนะนำมีดังนี้...

  1. หน้ากากอนามัย สามารถใช้ไปได้เรื่อย ๆ ถ้ามันยังไม่เปียก และไม่ได้ไปใช้ในพื้นที่ที่เสี่ยงติดเชื้อมาก เป็นเวลานานกว่า 4-6 ชั่วโมง (เช่น โรงพยาบาล)
  2. ถ้าจะฆ่าเชื้อด้วยการฉายแสงอัลตราไวโอเลต (เช่น บ้านใครมีเครื่องล้างจานแบบที่ใช้แสงยูวีลงไปได้ด้วย) ต้องฉายแสงด้านละ 30 นาที ถึงจะพอต่อการฆ่าเชื้อ หลังจากนั้นให้ไปเก็บในที่ที่สะอาดและแห้ง เป็นเวลา 3 วัน ก่อนจะนำมาใช้ใหม่ (งงเหมือนกัน ว่าทำไมต้องทำอย่างนี้)
  3. ใช้แอลกอฮอล์สเปรย์พ่นใส่หน้ากากอนามัย ทั้ง 2 ด้าน ทิ้งให้แห้ง ก็สามารถใส่ไปได้เรื่อย ๆ จนกว่ามันจะเริ่มฉีกขาด หรือปนเปื้อนเชื้อโรค
  4. หน้ากากที่ใช้วิธีดังกล่าวนั้น จะมีความสามารถในการกรองได้น้อยลง แต่มันก็ยังใช้ได้อยู่

ด้าน ประเทศจีน ระบุดังนี้ ...

  • ฆ่าเชื้อด้วยการอบแห้ง Oven dry heat disinfection
  • ฆ่าเชื้อด้วยการพ่นแอลกอฮอล์ Alcohol spraying disinfection
  • ฆ่าเชื้อด้วยการนึ่ง Steamer wet heat disinfection
  • ฆ่าเชื้อด้วยอุณหภูมิสูงและแรงดันสูง High temperature and high-pressure disinfection
  • ฆ่าเชื้อด้วยแสงอัลตราไวโอเลต Ultraviolet disinfection

ทั้งนี้ ข้อสรุปการฆ่าเชื้อแบบอบแห้งนั้น (อบที่ความร้อน 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที) ทำความเสียหายน้อยที่สุด ให้กับความสามารถในการกรองของหน้ากาก ยังคงความสามารถไว้ที่ 95 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป ส่วนการพ่นแอลกอฮอล์และการนึ่งฆ่าเชื้อนั้น สามารถทำความเสียหายให้กับการกรองของหน้ากากได้

ขณะที่ การฉายแสง UV นั้น ยังไม่มีผลการศึกษาชัดเจนว่าสามารถทำให้ฆ่าเชื้อที่ซ่อนอยู่ในเส้นใยของหน้ากากได้ดีเพียงใด จึงไม่ค่อยแนะนำวิธีนี้

มีวิธีหนึ่งที่แนะนำคือ เอาหน้ากากอนามัยทางการแพทย์นั้น มาใส่ไว้ในถุงซิปล็อก แล้วเป่าด้วยลมร้อนจากที่เป่าผมเป็นเวลานาน 30 นาที ก็สามารถฆ่าเชื้อโรคได้เช่นกัน โดยไม่ค่อยส่งผลเสียต่อความสามารถในการกรองของหน้ากากนัก

คลิปที่เผยแพร่กันเป็นการทดลองฉีดแอลกอฮอล์ลงไปบนหน้ากากอนามัย แล้วเทน้ำตามลงไป พบว่าน้ำซึมผ่านหน้ากากได้ทันที เป็นการทดลองที่ไม่ถูกต้อง เพราะใช้วิธีการพ่นแอลกอฮอล์ลงไป แล้วเทน้ำตามเลย ซึ่งแอลกอฮอล์เป็นสารที่มีขั้ว ก็จะทำให้น้ำซึ่งเป็นสารที่มีขั้วอ่อนไหลออกผ่านช่องเล็กๆ ของเส้นใยหน้ากากได้โดยง่าย จริงๆ แล้วจะต้องพ่นสเปรย์แอลกอฮอล์และทิ้งให้จนแห้งถึงจะมาทดสอบใหม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook