ฮิลลารีหารือมาร์คชมท่าทีไทยหลายเรื่อง

ฮิลลารีหารือมาร์คชมท่าทีไทยหลายเรื่อง

ฮิลลารีหารือมาร์คชมท่าทีไทยหลายเรื่อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ฮิลลารี่ คลินตัน หารือ อภิสิทธิ์ ไม่มีเรื่องคุกชมท่าทีไทยหลายเรื่อง ทั้งพม่า เกาหลีเหนือ ม้ง นครบาลสั่งกำลังอารักขาเข้ม ผู้ช่วยรมต.-ทูตมะกันพบเพื่อไทยแนะจริงใจเจรจารบ. เวทีรมต.ตปท.อาเซียน รมว.อินโดฯกดดันให้พม่าจัดการเลือกตั้งตามหลักประชาธิปไตยอย่างแท้จริง นักวิเคราะห์มององค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งแรกในเอเชียที่ตั้งขึ้นมาใหม่แม้จะไร้เขี้ยวเล็บแต่ก็ยังดีกว่าไม่มีเสียเลย

(21ก.ค.) พล.ต.ต.เอกรัตน์ มีปรีชา รอง ผบช.น.รับผิดชอบงานกิจการพิเศษ(กศ.) มีคำสั่งถึงผบก.น. 1, 2, 5, 6, ตปพ. และ อก. โดยมีเนื้อหาว่า ตามที่ บช.น. มีคำสั่งปฏิบัติการเรื่องแผนรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกการจราจร นางฮิลลารี่ คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาจะเดินทางมาถึงประเทศไทยวันนี้ โดยนางคลินตันมีกำหนดการเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและหารือทวิภาคีกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.ต.เอกรัตน์ ได้สั่งการบก.น. 1, 2, 5 และ 6 จัดเตรียมมาตรการแผนการปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยและให้มีการจัดกำลัง ปจ.เข้าปฏิบัติหน้าที่ในจุดรวมพลที่เหมาะสมสามารถเข้าพื้นที่ปฏิบัติการได้ทันทีเมื่อได้รับคำสั่ง และให้พิจารณากำหนดเส้นทางเข้า-ออกของรัฐมนตรี ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น โดยกำหนดเป็นเส้นทางหลักและเส้นทางรองเอาไว้ และให้บก.ตปพ.จัดเตรียมกำลัง ปจ. จำนวน 1 กองร้อยเตรียมพร้อม ณ ที่ตั้งสามารถเคลื่อนเข้าไปยังพื้นที่ปฏิบัติการได้ในทันทีเมื่อได้รับคำสั่ง พร้อมทั้งให้บก.จร.จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรอำนวยความสะดวกการจราจรและเตรียมแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อแก้ไขสถานการณ์การจราจรติดขัดที่อาจเกิดจากการชุมนุมในสถานที่ต่าง ๆ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงเย็นวันนี้ (21ก.ค.) นางฮิลลารี คลินตัน รมว.ต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา มีกำหนดเข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล หลังจากนั้นนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีและนางฮิลลารี จะร่วมแถลงข่าวผลการหารือกับนายกรัฐ มนตรีต่อสื่อมวลชนในเวลา 17.30 น.ก่อนจะเดินทางไปร่วมประชุมที่ จ.ภูเก็ต ทั้งนี้นางฮิลลารีมีกำหนดการเข้าพักที่โรงแรมคอนราด อย่างไรก็ตาม คาดว่าอาจจะมีการเปลี่ยนแผนเพื่อเข้าพักที่ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำเทศไทย ด้วยเหตุผลด้านการรักษาความปลอดภัย

รมว.อินโดฯกดดันให้พม่าจัดการเลือกตั้งตามหลักประชาธิปไตยอย่างแท้จริง นักวิเคราะห์มององค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งแรกในเอเชียที่ตั้งขึ้นมาใหม่แม้จะไร้เขี้ยวเล็บแต่ก็ยังดีกว่าไม่มีเสียเลย

"ฮิลลารี่ คลินตัน" ถึงแล้วไทยเตรียมหารือ"อภิสิทธิ์"

เมื่อเวลาประมาณ 17.00น. นางฮิลลารี ได้เดินถึงประเทศไทย ด้วยเครื่องบินส่วนตัวที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ก่อนเข้าหารือกับนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พร้อมเข้าร่วมการประชุมอาเซียนที่จังหวัดภูเก็ต ในวันที่ 22-23 กรกฏาคม 2552

"ฮิลลารี"หารืออภิสิทธิ์ชมท่าทีไทยหลายเรื่อง

หลังจากนั้นนางฮิลลารี ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายอภิสิทธิ์ ที่ทำเนียบรัฐบาล ทั้งนี้ทั้งสองได้ย้ำถึงความสัมพันธ์ระหว่า 2 ประเทศที่มีมายาวนานถึง 176 ปี ซึ่งไทยชื่มชมท่าทีของสหรัฐที่พยายามผลักดันการประชุมกรอบโดฮา ส่วนทางสหรัฐเองก็ชื่มชมไทยในเรื่องท่าทีต่อพม่าและเกาหลีเหนือ เรื่องม้งอพยพไทยที่ทางไทยยืนยันว่าได้ดำเนินการตามกฎหมายตามหลักสิทธิมนุษยชนทุกประการ ซึ่งทางสหรัฐเองก็เห็นใจทางไทยที่ต้องแบกรับภาระดังกล่าว ส่วนสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ทางไทยได้บอกไปว่าสถานกรณ์ดีขึ้นและจากควมร่มมือของทางการอินโดนิเซีย และมาเลย์เซีย คาดว่าจะทำให้ภาพรวมทางเศรษฐกิจดีขึ้นปัญหาต่างๆก็จะดีขึ้นตามมา

อภิสิทธิ์ยันไม่มีการหารือเรื่องคุกกับฮิลลารี

เมื่อเวลา 14.50 น.นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ก่อนหารือกับนางฮิลลารีช่วงเย็นวันนี้ที่ทำเนียบรัฐบาลว่า จะหารือ 2 ส่วนคือ 1.ส่วนที่เป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกาที่มีมิตรไมตรีที่ดีต่อกันมาโดยตลอด ซึ่งคงจะพูดถึงลู่ทางของการร่วมมือต่อไป ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจการเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปัจจุบันเราก็ยังคิดว่าการร่วมมือกันในเรื่องเศรษฐกิจยังมีศักยภาพอย่างมาก เพราะดูจากตัวเลขการค้าการลงทุนแล้ว สหรัฐอเมริกายังมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ค้าและนักลงทุนในประเทศไทย ส่วนความร่วมมือในด้านอื่นๆ เช่น ความมั่นคง สังคม เป็นต้น ก็จะมีการสานต่ออย่างต่อเนื่อง สิ่งที่เราเห็นเป็นสัญญาณที่ดีคือ สหรัฐฯให้ความสำคัญกับภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น ซึ่งเป็นผลโดยตรงต่อบทบาทของประเทศไทยด้วย

นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า 2.เป็นการหารือเรื่องสถานการณ์ต่างๆในโลกและภูมิภาค โดยเฉพาะขณะนี้ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน ซึ่งสหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับการทำสนธิสัญญาทางไมตรีกับทางอาเซียนในการประชุมครั้งนี้ และบทบาทของไทยกับสหรัฐอเมริกาในการช่วยกันดูแลปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านความมั่นคงของภูมิภาค ตั้งแต่เรื่องคาบสมุทรเกาหลี และปัญหาอื่นๆ

นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องความขัดแย้งในพม่านั้น เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของทั้งไทยและสหรัฐ อเมริกาซึ่งส่วนหนึ่งก็ต้องติดตามการเดินทางไปเยือนพม่าของนายบัน คี มูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ และต้องติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ด้วย อย่างไรก็ตามประเทศไทยขอยืนยันจุดยืนเดิม คือให้พม่าแก้ปัญหาภายในประเทศ โดยการเร่งรัดให้เกิดประชาธิปไตยให้เร็วที่สุด ส่วนสหรัฐอเมริกานั้นก็มีท่าทีทบทวนแนวทางอยู่เหมือนกัน ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางที่สอดคล้องกัน แต่ยังมีบางอย่างที่กระทบกระเทือนประเทศไทย เช่น เรื่องอัญมณี ก็จะมีการหยิบยกมาพูดคุยกัน

เมื่อถามว่าจะมีการพูดคุยรื่องคุกลับของสหรัฐอเมริกาที่นสพ.วอชิงตัน โพสต์ระบุว่ามีอยู่ในไทยกับนางฮิลลารีหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เข้าใจว่าที่เขียนถึงทั้งหมดน่าจะเป็นเหตุการณ์ในปี 2544-2545 หลังจากเกิดเหตุการณ์ 11 กันยายน 2544 และเท่าที่พยายามตรวจสอบก็ไม่ได้เป็นเรื่องของการมีคุกลับหรืออะไร อย่างมากที่สุดก็มีเพียงในช่วงที่มีการปฏิบัติการณ์และมีการจับคุมตัวแล้วเขามาสอบสวนหรือะไรต่างๆ จากนั้นก็ส่งตัวออกไป ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อ 6-7 ปีมาแล้วและไม่ใช่สถานการณ์ปัจจุบัน โดยรัฐบาลไม่มีนโยบายแบบนี้ เพราะเรามีกรอบกฎหมายและความร่วมมือที่ชัดเจนในการที่จะช่วยแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย แต่เราก็ยึดถือแนวทางที่เคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกๆคนอยู่แล้ว

เมื่อถามว่าจะต้องทำความเข้าใจกับข่าวนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เมื่อถูกสอบถามตนก็ยืนยันว่าเป็นเรื่องเก่าทั้งนั้น และอาจจะต้องไปถามคนที่เป็นรัฐบาลในตอนนั้น

ผู้ช่วยรมต.-ทูตมะกันพบพท.แนะจริงใจเจรจารบ.

ก่อนหน้านี้ที่พรรคเพื่อไทย นายเคิร์ต แคมป์เบล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา นายอีริค จี จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และ นายสก็อต มาร์เซียล เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำกลุ่มอาเซียน พร้อมด้วยคณะ เดินทางเข้าหารือกับนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และแกนนำพรรค อาทิ นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองหัวหน้าพรรค นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรค นายพิทยา พุกกะมาน หัวหน้าคณะทำงานฝ่ายต่างประเทศพรรคเพื่อไทย และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ นายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ก็ได้เข้ามารร่วมสังเกตุการณ์ด้วย โดยใช้เวลาหารือกันจนกระทั่งเวลา 12.30 น.

จากนั้น นายพิทยา พร้อมด้วย นายปลอดประสพ และ นายปานปรีย์ ได้ร่วมกันแถลงข่าว โดยนายพิทยา กล่าวว่า นายเคิร์ต แคมป์เบล ได้กล่าวกับแกนนำของพรรคเพื่อไทย ว่า การมาเยือนประเทศไทยครั้งนี้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับประเทศไทยในฐานะประเทศพันธมิตรเก่าแก่รวมทั้งมารับฟังปัญหาของประเทศไทยและอาเซียนด้วย สำหรับประเทศไทยนั้น นายเคิร์ต แคมป์เบล ต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการรับฟังปัญหา ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทย ซึ่งสหรัฐอเมริกาต้องการให้มีการพูดจากันระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้านอย่างเปิดเผยและจริงใจ โดยอาศัยกระบวนการทางกฎหมายและรัฐธรรมนูญ

จากนั้น นายพิทยา พร้อมด้วย นายปลอดประสพ และ นายปานปรีย์ ได้ร่วมกันแถลงข่าว โดยนายพิทยา กล่าวว่า นายเคิร์ต แคมป์เบล ได้กล่าวกับแกนนำของพรรคเพื่อไทย ว่า การมาเยือนประเทศไทยครั้งนี้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับประเทศไทยในฐานะประเทศพันธมิตรเก่าแก่รวมทั้งมารับฟังปัญหาของประเทศไทยและอาเซียนด้วย สำหรับประเทศไทยนั้น นายเคิร์ต แคมป์เบล ต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการรับฟังปัญหา ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทย ซึ่งสหรัฐอเมริกาต้องการให้มีการพูดจากันระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้านอย่างเปิดเผยและจริงใจ โดยอาศัยกระบวนการทางกฎหมายและรัฐธรรมนูญ

ขณะที่ นายปานปรีย์ กล่าวว่า การพูดคุยวันนี้ส่วนใหญ่จะพูดถึงเรื่องหลักการปกครองที่ถูกต้องของบ้านเมือง ซึ่งสหรัฐอเมริกาต้องการเห็นความสมานฉันท์ในประเทศไทย พูดกันให้มากขึ้นอย่างตรงไปตรงมา และยังกังวลต่อปัญหาความไม่สมานฉันท์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยด้วย เพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อภูมิภาคเอเชีย ขณะที่เราได้สะท้อนความเห็นไปว่า อยากเห็นประชาธิปไตยและความสมานฉันท์เช่นเดียวกัน และได้อธิบายถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับการเมืองไทย และได้บอกว่าเรายังเป็นเสียงข้างมากอยู่ในขณะนี้ การเลือกตั้งเราก็ชนะ ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็มีข้อมูลเหล่านี้อยู่แล้วและรับฟังอย่างสนใจ

นายเคิร์ต ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าหารือกับนายยงยุทธและแกนนำพรรคเพื่อไทย ว่า ยินดีที่ได้มาประเทศไทย


รมว.อินโดฯจี้พม่าจัดการเลือกตั้งตามหลักปชต.อย่างแท้จริง

นายฮัสซัน วิรายุดา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย ให้สัมภาษณ์นอกรอบการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่จังหวัดภูเก็ตในวันนี้ ระบุว่า การเลือกตั้งในพม่าที่จะมีขึ้นในปีหน้านี้จะไม่เป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม หากนางอองซาน ซูจี ผู้นำเรียกร้องประชาธิปไตยยังคงถูกจับกุมคุมขัง เพราะการเลือกตั้งที่ได้รับการยอมรับต้องให้ทุกกลุ่มในสังคมพม่าต้องมีโอกาสเข้าร่วมด้วย

นายวิรายุดา บอกด้วยว่า เราต้องจับตาดูว่าจากนี้ไปจนถึงปี 2553 พม่าจะสามารถพัฒนากระบวนการที่น่าเชื่อถือซึ่งจะนำไปสู่การจัดเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงซึ่งเป็นที่ยอมรับของประชาคมโลกได้หรือไม่ แต่ขณะนี้รัฐบาลทหารพม่าดำเนินการเปลี่ยนแปลงช้าเกินไปและน้อยเกินไป ดังนั้นบททดสอบสำคัญจะอยู่ที่ว่ารัฐบาลทหารจะจัดการเลือกตั้งที่มีหลายพรรคการเมืองร่วมแข่งขันตามอย่างระบบประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริงหรือไม่

นอกจากนี้นาย วิรายุดา บอกด้วยว่า อาเซียนจะต้องมีการหารืออย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมากับพม่ามากขึ้น แต่ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะประเมินว่า ความร่วมมือของอาเซียนจะสร้างความแตกต่างขึ้นในพม่าได้หรือไม่

นักวิเคราะห์มององค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งแรกในเอเชียดีกว่าไม่มี

ขณะที่นักวิเคราะห์และนักเคลื่อนไหวหลายคน ให้ความเห็นว่า องค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งแรกของเอเชียที่มีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลของอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมีแนวโน้มที่โอนอ่อนให้ประเทศที่มีประวัติการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างพม่า และไร้อำนาจโดยแท้จริง แต่ก็ยังถือว่าเป็นย่างก้าวแห่งประวัติศาสตร์ของการก้าวไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง

รัฐมนตรีต่างประเทศจากชาติสมาชิกสมาคมอาเซียน ได้พยายามปกป้องคณะกรรมาธิการชุดนี้จากเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่ว่า จะเป็นองค์กรที่ไร้ประสิทธิภาพ ขณะที่พวกเขาให้การยอมรับและสนับสนุนร่างเอกสารขอบเขตการดำเนินงาน เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา สมาชิกในกลุ่มประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ที่นำโดยอินโดนีเซีย ได้กดดันให้เพื่อให้คณะกรรมาธิการชุดนี้มีอำนาจในมือมากขึ้น ในขณะที่ประเทศที่มีประวัติเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่รวมทั้งพม่า ลาวและเวียดนาม ต่าง
พยายามต่อต้าน ซึ่งเดวิด แมทธีสัน จากกลุ่มฮิวแมนไรท์ วอทช์ ระบุว่า บางทีอาจมีคนจำนวนมากที่ยังสงสัยในขั้นตอนทั้งหมด ซึ่งอาเซียนนั้นได้ชื่อว่าอ่อนในหลาย ๆ ประเด็นมานานแล้ว และย่างก้าวในประเด็นนี้ ถือเป็นย่างก้าวแรกที่ยังไม่สมบูรณ์

คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลของอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่มีกำหนดจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในระหว่างการประชุมสุดยอดของผู้นำอาเซียน ในเดือนตุลาคม ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ตอบโต้เสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่มีมานานแล้ว อาเซียนซึ่งมีประวัติก่อตั้งมายาวนานถึง 42 ปี อ่อนแอในเรื่องของสิทธิมนุษยชน และในเงื่อนไขของการจัดตั้งได้แสดงให้เห็นว่า มุ่งเน้นส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนมากกว่าการปกป้อง เพราะไม่มีอำนาจในการลงโทษสมาชิกที่ละเมิดพันธกรณี และยัง
ติดเงื่อนไขหลักการของสมาคมอาเซียน ในประเด็นการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกันที่สมาชิกบางประเทศใช้เป็นโล่ห์กำบังเสียงวิพากษ์วิจารณ์ข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน

พม่า มีชื่อเสียงกระฉ่อนเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค โดยจำคุกนักโทษการเมืองไว้กว่า 2 พันคน รวมทั้งนางอองซาน ซูจี เจ้าของรางวัลโรเบลสาขาสันติภาพ และเพิ่งจะเรียกเสียงประนามจากนานาชาติเมื่อเดือนกรกฎาคม ด้วยการพิจารณาคดีนางซูจี ฐานละเมิดการกักบริเวณ และยังไม่ยอมให้เธอได้พบกับนายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาติที่ไปเยือนพม่าในเดือนนี้

เวียดนามก็เป็นอีกประเทศที่เผชิญเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสหรัฐและสหภาพยุโรป หรือ อียู กรณีการจับกุมหลายระลอก รวมทั้งทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ฐานชวนเชื่อต่อต้านรัฐบาล ส่วนลาวก็เผชิญเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องชนกลุ่มน้อยชาวม้ง และกัมพูชาก็เผชิญเสียงเรียกร้องให้ยุติการดำเนินการทางกฎหมายต่อคนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล

แม้แต่ประเทศประชาธิปไตยอย่างไทยและอินโดนีเซีย ก็ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ในเรื่องการใช้กองกำลังรักษาความมั่นคงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

ปชป. เชื่อประชุมอาเซียน ไทยได้ประโยชน์5ด้าน

นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 42 และการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับคู่เจรจา ที่จ.ภูเก็ต ว่า พรรคได้ประเมินประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการประชุมครั้งนี้ 5 เรื่อง คือ 1.ประเทศสามารถกอบกู้ภาพลักษณ์ของประเทศกลับมาได้ หลังจากเหตุการณ์ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดงบุกการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา

2.บทบาทของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ได้รับโอกาสสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่มประเทศอาเซียน ยุโรป และคู่ประเทศเจรจา 3.มีผลต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคและฟื้นความเชื่อมั่นของประเทศ 4.จากกรณีที่นางฮิลลาลี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา ได้เขียนบทความถึงบทบาทของรัฐสภาไทย ที่ได้ผ่านกฎหมายการค้ามนุษย์ ซึ่งมีผลทำให้ไทยมีความสำคัญในการให้ความร่วมมือต่อต้านการค้ามนุษย์ และ 5.มาตรการในการป้องกันไข้หวัด 2009 ที่ได้รับความร่วมมือในการค้นคว้าวิจัยและผลิตวัคซีนในระดับภูมิภาค

ส่วนกรณีที่หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์เผยแพร่ข่าวว่าประเทศไทยมีคุกลับ ซีไอเอ นั้น นพ.บุรณัชย์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบยืนยันได้ว่าในไทยไม่มีคุกลับดังกล่าว ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าข่าวนี้เกิดในช่วงที่ นางฮิลลาลี่ คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางมาประเทศไทย เพื่อประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 42 และการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับคู่เจรจา ที่จ.ภูเก็ต ซึ่งจะได้ตรวจสอบว่ามีคนที่ต้องการลดความน่าเชื่อถือของประเทศ และเป็นเรื่องการเมืองของมิตรประเทศของสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบเรื่องดังกล่าวแล้ว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook