ทำความรู้จัก “ไข้หวัดแดด” ร้อนนี้ต้องระวังไม่แพ้โควิด-19

ทำความรู้จัก “ไข้หวัดแดด” ร้อนนี้ต้องระวังไม่แพ้โควิด-19

ทำความรู้จัก “ไข้หวัดแดด” ร้อนนี้ต้องระวังไม่แพ้โควิด-19
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่เรากำลังเผชิญกับวิกฤติไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ไปพร้อมๆ กับอุณหภูมิของอากาศที่กำลังสูงขึ้นทุกที ซึ่งสิ่งหนึ่งที่มีผลต่อสุขภาพทุกปีในช่วงหน้าร้อน นั่นก็คือ “ไข้หวัดแดด” ที่จะทำให้เรารู้สึกไม่สบาย มีอาการไข้ขึ้นได้ ดังนั้น เรามาทำความรู้จักโรคไข้หวัดแดดและวิธีป้องกันสักหน่อย รวมไปถึงความแตกต่างของ 2 โรคนี้ เพื่อคลายความกังวลใจสำหรับใครที่อาจจะป่วยเป็นโรคไข้หวัดแดดได้ในช่วงหน้าร้อนนี้ จะได้แยกออกว่าแท้จริงแล้วร่างกายของเราไม่ได้ติดไวรัสโควิด-19

ไข้หวัดแดด (Summer Flu) เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่เข้าไปในขณะที่อากาศร้อนจัด พร้อมกับปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศที่สูงขึ้น การอยู่พื้นที่กลางแจ้งหรืออยู่ในสถานที่ที่อาจได้รับรังสีความร้อนนานเกินไป สภาวะที่มีลมหรือการระบายอากาศน้อย จึงทำให้ร่างกายปรับตัวกับสภาพอากาศไม่ทัน เมื่อร่างกายสะสมความร้อนไว้มากจึงทำให้เป็นโรคไข้หวัดแดดได้นั่นเอง

  • ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นไข้หวัดแดด?

โรคไข้หวัดแดดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะเกิดขึ้นได้บ่อยกับผู้ทำงานกลางแดด, นักกีฬา, พนักงานออฟฟิศที่นั่งทำงานในห้องแอร์ และต้องออกไปเผชิญแดดร้อนจัดด้านนอกในบางเวลา, ผู้ที่ไม่ชินกับสภาพอากาศร้อนจัด รวมไปถึงเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เป็นต้น

  • อาการของผู้ป่วยไข้หวัดแดดเป็นอย่างไร?
  1. ตัวร้อน มีไข้ต่ำ แต่ไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส
  2. ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ
  3. ครั่นเนื้อครั่นตัว
  4. รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  5. ริมฝีปากแห้ง
  6. คอแห้ง แสบคอ แต่ไม่ถึงกับเจ็บคอ
  7. เบื่ออาหาร ขมปาก
  8. ระบบขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องไส้ปั่นป่วน ท้องเสีย ขับถ่ายไม่เป็นเวลา
  9. คลื่นไส้ อาเจียน
  10. นอนหลับไม่สนิท
  11. เป็นตะคริว
  12. บางรายอาจมีอาการตาแดง แสบกระบอกตา เนื่องจากร่างกายสะสมความร้อนไว้มากเกินไป
  • ความแตกต่างระหว่างไข้หวัดแดดกับโควิด-19

แม้ไข้หวัดแดดกับโควิด-19 จะมีอาการไข้ขึ้นตัวร้อนเหมือนกัน แต่เราสามารถสังเกตความแตกต่างของอาการในแต่ละโรคได้อย่างชัดเจน ดังนี้

อาการไข้หวัดแดด

อาการโควิด-19

ตัวร้อน มีไข้ต่ำ แต่ไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส

ตัวร้อน มีไข้มากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส

คอแห้ง แสบคอ แต่ไม่ถึงขั้นเจ็บคอ

เจ็บคอ ไอ

ไม่มีน้ำมูกหรือมีแต่เล็กน้อยเท่านั้น

มีน้ำมูกไหล

ตาแดง

ตาไม่แดง

หายใจเป็นปกติ

หายใจถี่และเหนื่อยหอบ

 

  • ป้องกันไข้หวัดแดดไม่ให้เกิดกับตัวเองได้อย่างไรบ้าง?

การป้องกันไข้หวัดแดดสามารถทำได้ง่ายมาก โดยไม่ต้องรอให้ป่วยก่อน เช่น

  1. หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดหรือสภาวะอากาศร้อนจัด
  2. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด
  3. สวมใส่เสื้อผ้าที่สามารถระบายความร้อนได้ดีหรือเสื้อผ้าสีอ่อน
  4. หากอยู่ในสภาวะอากาศร้อนจัดและต้องการคลายความร้อน ไม่ควรรีบเดินเข้าห้องแอร์ทันที เพราะจะทำให้อุณหภูมิในร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  5. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ท่ามกลางสภาวะอากาศร้อน
  6. รับประทานวิตามินซีหรือผักและผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  7. ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณน้ำที่เพียงพอในสภาพอากาศที่ร้อน
  8. พักผ่อนให้เพียงพอ
  9. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  10. รักษาสุขอนามัย เช่น ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังรับประทานอาหาร รวมไปถึงหลังออกจากห้องน้ำด้วย
  • รักษาตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นไข้หวัดแดด

ไข้หวัดแดดเป็นโรคที่รักษาได้ไม่ยากและสามารถรักษาด้วยตัวเองได้ ซึ่งวิธีป้องกันต่างๆ ที่เราแนะนำไปข้างต้นก็สามารถนำมาปรับใช้ในขณะที่เป็นไข้หวัดแดดได้

และทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่เรานำมาฝากกัน อย่าลืมว่าประเทศไทยเป็นเมืองร้อน มีสภาพอากาศแปรปรวนบ่อยครั้ง ดังนั้น โรคไข้หวัดและไข้หวัดแดดสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี ทั้งนี้ โรคที่มากับอากาศร้อนยังมีอีกมากมาย การดูแลสุขภาพตัวเองและการสังเกตอาการป่วยของตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากรู้สึกอาการไม่ค่อยดีก็แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อความมั่นใจได้เลย เพราะการดูแลสุขภาพของตนเองนอกจากจะทำให้ร่างกายตนเองแข็งแรงแล้ว หากป่วยขึ้นมายังถือเป็นการรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย เพราะคนที่อยู่ใกล้ชิดกับเราจะได้ไม่ป่วยตามนั่นเอง

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมและติดตามข่าวสารได้ที่

Website : https://www.gedgoodlife.com

Facebook : https://www.facebook.com/GEDGoodLife

Line Official : http://line.me/ti/p/~@gedgoodlife

Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCeeZjN8Za_aTj6gBXSzn73A

(Advertorial)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook