6 วิธีต้าน “ไวรัสโคโรนา” ในโลกโซเชียล ที่ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าไม่ได้ผล

6 วิธีต้าน “ไวรัสโคโรนา” ในโลกโซเชียล ที่ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าไม่ได้ผล

6 วิธีต้าน “ไวรัสโคโรนา” ในโลกโซเชียล ที่ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าไม่ได้ผล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในช่วงวิกฤต “ไวรัสโคโรนา” หลายคนคงวิตกกังวลและพยายามสรรหาวิธีการต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองและคนรอบข้างเจ็บป่วย ช่วงเวลาแบบนี้จึงเป็นช่วงที่ข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันและรักษาโรค COVID-19 ทั้งจริงและไม่จริง กระจายอยู่ในโลกออนไลน์ ส่งผลให้นักวิทยาศาสตร์และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ทำงานหนักอยู่แล้ว ต้องหันมาต่อสู้เพื่อจำกัดการแพร่ระบาดของข้อมูลที่บิดเบือนด้วย และนี่คือ 6 วิธีต้าน “ไวรัสโคโรนา” ในโลกโซเชียล ที่ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าไม่ได้ผล

กลั้วคอด้วยน้ำอุ่น

ภาพมีมร่างกายคนเรืองแสงสีน้ำเงิน พร้อมไวรัสโคโรนาเกาะอยู่ในลำคอ กลายเป็นไวรัลกระจายในโลกออนไลน์ แถมยังถูกแปลในหลายภาษา โดยระบุว่าเชื้อไวรัสจะอยู่ในลำคอเป็นเวลาหลายวัน ก่อนที่จะจะเดินทางเข้าสู่ปอด และการกลั้วคอที่ถูกวิธีจะช่วยหยุดยั้งการเดินทางของเชื้อไวรัส ซึ่งเรื่องนี้ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention) ออกมายืนยันแล้วว่าไม่เป็นความจริง พร้อมระบุว่าการกลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่นเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาอาการเจ็บคอ แต่ไม่มีหลักฐานที่ชี้ว่าวิธีนี้สามารถฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาได้ ด้าน ดร.พอล ออฟฟิต ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย และโรงพยาบาลเด็กฟิลาเดลเฟีย ก็กล่าวว่า “วิธีการนี้ไม่ได้ช่วยหยุดไวรัสไม่ให้เดินทางเข้าสู่ปอด แต่เป็นการลดการอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนเราเจ็บคอ”

ดื่มน้ำบ่อยๆ

มีโพสต์ในโซเชียลมีเดียระบุว่า หากคุณจิบน้ำทุก 15 นาที จะสามารถป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัสได้ แนวคิดนี้หมายความว่า เชื้อไวรัสจะเข้าสู่ร่างกายทางปากและไหลลงสู่กระเพาะ โดยไม่ผ่านหลอดลม และเดินทางเข้าสู่ปอดนั่นเอง

ทำร่างกายให้ร้อน

มีวีดิโอที่แชร์กันบนเฟซบุ๊กอ้างว่าไวรัสไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในอุณหภูมิสูง โดยแสดงภาพผู้หญิงคนหนึ่งใช้ไดร์เป่าผมเป่าหน้าของตัวเอง เพื่อทำให้โพรงจมูกอุ่น โดยเชื่อว่าการทำเช่นนี้จะทำให้จมูกมี “อุณหภูมิสูงจนฆ่าไวรัสได้” คือ 133 องศา ส่วนในโซเชียลมีเดียอื่นๆ ก็มีการระบุว่าเครื่องเป่ามือสามารถฆ่าไวรัสได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าวิธีนี้จะใช้ได้ผล โดยจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ไวรัสไม่สามารถตายได้โดยใช้เครื่องเป่ามือ และยังปรากฏด้วยว่าไวรัสสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในอุณหภูมิสูง (และอุณหภูมิต่ำ)

ดร.ออฟฟิตกล่าวว่า มีงานวิจัยระบุว่า การทำให้โพรงจมูกอุ่นอาจช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันสามารถต่อสู้กับไวรัสได้ แต่เขาเสริมว่า การหายใจเอาไอน้ำเข้าไป เช่น การนั่งใกล้กับชามซุปร้อนๆ น่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่าการเอาไดร์เป่าผมมาเป่าหน้า

“ทำซุปกินน่าจะดีกว่าพยายามเอาอากาศอัดเข้าไปในจมูก” ดร.ออฟฟิตกล่าว

กินซิลเวอร์คอลลอยด์

ซิลเวอร์คอลลอยด์ (colloidal silver) คือแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ที่เชื่อกันว่าสามารถใช้รักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น การติดเชื้อ มะเร็ง เบาหวาน ข้ออักเสบ ซึ่งยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันเรื่องนี้แต่อย่างใด มีเพียงการกล่าวอ้างเกี่ยวกับประโยชน์ของแร่ธาตุชนิดนี้ จากบริษัทต่างๆ ที่ขายผลิตภัณฑ์นี้เท่านั้น

ซิลเวอร์คอลลอยด์มีหลายรูปแบบ แต่มักจะมาในรูปของของเหลวบรรจุขวด พร้อมอณูสีเงิน และมักจะมีการโปรโมตว่าเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่ National Center for Complementary and Integrative Health ระบุว่า ยังไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับประโยชน์ทางการแพทย์ และแร่เงินก็อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ผลข้างเคียงที่เป็นไปได้อย่างหนึ่งคือภาวะที่เรียกว่า “อาร์จัยเรีย” คือภาวะที่ผิวหนังบริเวณที่ถูกแสงแดดมีสีเทา-น้ำเงิน นอกจากนี้ ซิลเวอร์คอลลอยด์ยังขัดขวางการดูดซึมยาบางตัวด้วย

นอกจากนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว องค์การอาหารและยาระบุว่า มีการเตือน 7 บริษัท ให้ยุติการขายผลิตภัณฑ์ ซึ่งรวมถึงซิลเวอร์คอลลอยด์ ที่ทางบริษัทอ้างว่าสามารถรักษาหรือป้องกันไวรัสโคโรนาได้

ตากแดด

ยังไม่มีผลการวิจัยที่แน่ชัดว่าแสงแดดหรือแสงอัลตราไวโอเล็ตมีผลอย่างไรต่อเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และหากไวรัสมีการแบ่งตัวในร่างกายมนุษย์แล้ว แสงยูวีจากดวงอาทิตย์หรือโคมไฟก็จะไม่สามารถเข้าถึงไวรัสได้ การตากแดดอาจจะดีสำหรับสุขภาพกายและจิต หากคุณใช้วิธีเพิ่มระยะห่างทางสังคม (social distancing)
อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกเตือนว่า ไม่ควรใช้หลอดไฟแสงยูวีในการฆ่าเชื้อที่มือหรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เนื่องจากจะทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง

กินวิตามิน

บนโซเชียลมีเดียเต็มไปด้วยคำแนะนำเกี่ยวกับการกินวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินซี ที่ได้รับความนิยมมาก รวมทั้งการกินกระเทียม พริกไทย สะระแหน่ หรือเอลเดอร์เบอร์รี แต่ยังมีหลักฐานเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ระบุว่าอาหารและอาหารเสริมเหล่านี้สามารถป้องกันร่างกายของคุณอย่างต่อเนื่องและมีนัยสำคัญ

วิตามินซี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ไม่ได้แสดงประโยชน์ที่ต่อเนื่องในการรักษาหรือป้องกันการเจ็บป่วยอย่างไข้หวัดทั่วไป และอาจจะเป็นอันตรายเมื่อบริโภคในปริมาณมากเช่นเดียวกับสารอื่นๆ นอกจากนี้ หลักฐานที่ระบุว่าเอลเดอร์เบอร์รีช่วยรักษาอาการหวัดก็ยังไม่มีการยืนยันอย่างชัดเจน ส่วนกระเทียมก็อาจจะมีคุณสมบัติต้านจุลชีพ แต่ไม่มีหลักฐานว่าสามารถป้องกันไวรัสโคโรนาได้

โดยสรุปก็คือ วิตามินและสารอาหารอาจจะมีประโยชน์ โดยเฉพาะหากมาจากอาหารที่มีความสมดุล แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าช่วยป้องกันร่างกายของเราจากโรคระบาด

คริสโตเฟอร์ ไทดีย์ โฆษกของ UNICEF กล่าวว่า การให้ข้อมูลผิดๆ ในช่วงวิกฤตสุขภาพอาจส่งผลให้เกิดการงดเว้นการป้องกันและทำให้คนเรายิ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส รวมทั้งยังสร้างความวิตกกังวล ความกลัว และการตีตรา ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมอย่างมีสติ และยึดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

นอกจากนี้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคยังเสนอแนวทางในการลดโอกาสติดเชื้อไวรัส ได้แก่ การล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าและพยายามอยู่ห่างจากผู้คน รวมทั้งปกป้องผู้อื่นโดยการปิดปากเมื่อไอหรือจาม กักตัวเองอยู่ที่บ้านเมื่อมีอาการป่วย และทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ

ด้านองค์การอนามัยโลกก็ร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึง Google, Facebook และ Twitter ในการต่อสู้กับข้อมูลที่ผิดพลาดเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา และเว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลกก็ได้พยายามหักล้างคำกล่าวอ้างเกี่ยวกับน้ำเกลือ ยาปฏิชีวนะ คลอรีน และสารอื่นๆ เช่นกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook