แพทย์ห่วง ประชาชนเครียดข่าว "โควิด-19″ สะเทือนสุขภาพจิต

แพทย์ห่วง ประชาชนเครียดข่าว "โควิด-19″ สะเทือนสุขภาพจิต

แพทย์ห่วง ประชาชนเครียดข่าว "โควิด-19″ สะเทือนสุขภาพจิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แพทย์ห่วง ตระหนก "โควิด-19"อาจกระทบสุขภาพจิต แนะปฏิบัติ3หลัก"สร้างความปลอดภัย ความสงบ ความหวัง" เชื่อไทยรับมือวิกฤตได้

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถจำแนกสภาพจิตใจของคนเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.กังวลน้อยไป กลุ่มนี้มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อมากกว่าคนอื่น เพราะไม่ปฏิบัติตามหลักแนะนำ พาตัวเองเข้าไปในสถานที่เสี่ยง  2.กังวลมากเกินไป รู้สึกนอนไม่หลับ ไม่กล้าออกไปไหน  ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เช่นปรากฏการณ์กักตุนสินค้า ทั้งที่ความจริงยังสามารถออกไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ เพียงแต่ต้องป้องกันตัวเอง สวมหน้ากาก ล้างมือ คำนึงถึงระยะห่างทางสังคม “Social Distancing” 3.กังวลพอดี กลุ่มคนเหล่านี้คือรากฐานสำคัญของสังคม เพราะมีความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลตัวเอง เป็นแบบอย่าง และช่วยแนะนำกลุ่ม 1, 2

นพ.ยงยุทธ กล่าวอีกว่า สถานการณ์เช่นนี้ ควรคำนึงถึงหลัก 3 สร้าง ได้แก่ “สร้างความปลอดภัย” ด้วยหลักล้าง เลี่ยง ลด ต่อมาคือ “สร้างความสงบ” ไม่ตื่นกลัว จัดเวลา รับและส่งต่อข้อมูลข่าวสารจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และสุดท้าย “สร้างความหวัง” นำเสนอข่าวเชิงบวก ตัวอย่างที่ดี และทางออกของปัญหา ขณะที่กระทรวงสาธารณสุข และ สสส. ร่วมกันเสนอข้อมูลความรู้การดูแลตัวเองผ่านเฟซบุ๊ก “ไทยรู้สู้โควิด” เพื่อสื่อสารทางตรงกับประชาชน

ทั้งนี้ ประเทศไทยถือว่ารับมือการระบาดระยะที่ 2 ได้ดีและนานพอสมควร หากเข้าสู่เฟส 3 อาจจะไม่รุนแรงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ส่วนยุโรปนั้น คนยุโรปส่วนใหญ่เชื่อว่าการสวมใส่หน้ากากอนามัยต้องเป็นคนป่วยเท่านั้น ทั้งที่จริงแล้วสามารถป้องกันคนทั่วไปจากการรับเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ ดังนั้นประสบการณ์ที่ประเทศไทยมีเช่นเดียวกับประเทศที่รับมือกับการสื่อสารได้ดีและมียอดผู้ติดเชื้อน้อยคือสิงคโปร์และไต้หวัน ทำให้ทั่วโลกรับรู้ความสำคัญของการใช้หน้ากากอนามัยในบุคคลทั่วไปมากขึ้น และเชื่อว่าหากภาครัฐ สาธารณสุข และประชาชนร่วมมือกัน จะช่วยให้ก้าวผ่านพ้นวิกฤตนี้ได้ เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่เคยระบาดในปี 2009

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook