ทำความรู้จัก NK Cell บอดี้การ์ดประจำลำไส้ เสริมภูมิคุ้มกันที่ดีแก่ร่างกาย

ทำความรู้จัก NK Cell บอดี้การ์ดประจำลำไส้ เสริมภูมิคุ้มกันที่ดีแก่ร่างกาย

ทำความรู้จัก NK Cell บอดี้การ์ดประจำลำไส้ เสริมภูมิคุ้มกันที่ดีแก่ร่างกาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Sanook เชื่อว่าไม่มีใครอยากป่วย ทุกคนต่างก็อยากแข็งแรงกันทั้งนั้น ซึ่งกุญแจสู่การมีร่างกายที่แข็งแรงก็คือ การสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดี เพื่อเสริมเกราะป้องกันสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโรค ไวรัส หรือแบคทีเรียต่างๆ หากภูมิคุ้มกันบกพร่อง ร่างกายจะเกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคและเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น

และหนึ่งในอวัยวะสำคัญที่มีส่วนสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ก็คือ ลำไส้ เพราะสารอาหารต่างๆ จะถูกดูดซึมผ่านลำไส้ โดยลำไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหาร และลำไส้ใหญ่มีหน้าที่ดูดซึมน้ำ แต่ในขณะเดียวกัน ลำไส้ก็เป็นทางผ่านของเชื้อโรคด้วยเช่นกัน ดังนั้น ภายในลำไส้จึงมีระบบการป้องกันหรือเครื่องกีดขวางหลายอย่างที่ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากเชื้อโรค โดย 60-70 เปอร์เซ็นต์ของเซลล์ทั้งหมดที่มีหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายล้วนอยู่ในลำไส้ของเรานี่เอง

ระบบการป้องกันของลำไส้ ประกอบด้วย 3 ด่านด้วยกัน ทันทีที่เชื้อโรคเข้าสู่ลำไส้จะเจอกับเครื่องกีดขวางด่านแรก นั่นคือ แบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ เช่น แบคทีเรียกรดแลคติค มีหน้าที่ขัดขวางไม่ให้แบคทีเรียร้ายเพิ่มจำนวน จากนั้นเครื่องกีดขวางด่านที่สองจึงจะเริ่มทำงาน นั่นคือ พื้นผิวเยื่อเมือกในลำไส้ ที่ทั้งหนาและหนืดจนทำให้แบคทีเรียร้ายไม่สามารถอยู่รอดได้ สุดท้ายระบบภูมิคุ้มกันของลำไส้จะทำหน้าที่เก็บกวาดแบคทีเรียร้ายที่เล็ดรอดผ่านมาได้ และปิดเกมในที่สุด

ทั้งนี้ ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์นั้น มีทั้ง Innate Immunity หรือระบบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ ที่ติดตัวเรามาแต่กำเนิด เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอย่างเชื้อโรคเข้ามาในร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันจะตรงเข้ากำจัดเชื้อโรคทันที แต่ในบางครั้งก็อาจทำงานได้ไม่สมบูรณ์นัก จึงต้องมี Acquired Immunity เสริมขึ้นอีกตัว

Acquired Immunity เป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลัง มีทั้งภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นเมื่อเกิดการติดเชื้อตามธรรมชาติ เช่น หัด อีสุกอีใส ฯลฯ กับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังรับวัคซีน เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายช่วยสร้างภูมิคุ้มกันจากโรคหรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ

และเมื่อทั้ง 2 ระบบภูมิคุ้มกันร่วมมือกันก็จะยิ่งเป็นการเสริมกองกำลังในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ว่าด้วยกองกำลังหลักที่อยู่ใน Innate Immunity นั้น ได้แก่ NK Cell หรือ Natural Killer Cell เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งในร่างกาย มีอยู่ประมาณ 2,000 – 5,000 ล้านเซลล์ มีหน้าที่พิฆาตเซลล์แปลกปลอมที่เป็นอันตรายสมชื่อ โดย NK Cell จะต่อสู้ ป้องกัน และกำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสเป็นหลัก ซึ่งในตอนที่เรายังอายุน้อย และสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ดี NK Cell ก็จะมีจำนวนมากและแข็งแรงพอที่จะทำหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

แต่ด้วยอายุที่มากขึ้น และปัจจัยอื่นๆ ในชีวิตประจำวันที่มีส่วนบั่นทอนสุขภาพไปทีละน้อย เช่น ความเครียด นอนไม่หลับ สูบบุหรี่ กินอาหารที่ไม่เหมาะสม ฯลฯ ล้วนส่งผลให้จำนวน NK Cell น้อยลงตามไปด้วย เมื่อปริมาณ NK Cell ในเลือดต่ำลง ทำให้ร่างกายขาดกองกำลังสำคัญในการต่อสู้กับเชื้อโรค จนทำให้เจ็บป่วยได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

ดังนั้น คุณจึงควรรักษาสมดุลทุกกิจกรรมในชีวิตให้ลงตัว เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้แจ่มใส และรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสม เท่านี้ก็สามารถเพิ่มจำนวน NK Cell ในร่างกายได้แล้ว

และยังมีอีกวิธีที่ช่วยกระตุ้น NK Cell ของเราให้มีความแข็งแรงยิ่งขึ้น นั่นคือ การเพิ่มจำนวนโพรไบโอติกส์ในร่างกาย เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในลำไส้ให้ทำงานได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่มีชื่อว่า จุลินทรีย์แลคโตบาซิลัส คาเซอิ สายพันธุ์ชิโรต้า ซึ่งมีอยู่ในนมเปรี้ยวยาคูลท์ ที่มีผลวิจัยรองรับว่า มีส่วนช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน NK Cell ให้มีความแข็งแรงและมีจำนวนมากขึ้นได้

ดังนั้น นอกจากจะรับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขอนามัย และครบ 5 หมู่แล้ว คุณควรเสริมภูมิคุ้มกันในลำไส้ด้วยการดื่มเครื่องดื่มที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่มีชีวิตเป็นประจำ เพื่อสุขภาพลำไส้ที่แข็งแรง และสร้างภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพ เจอแบคทีเรียหรือไวรัสตัวร้ายแค่ไหน ก็เอาอยู่ ฟื้นฟูพละกำลังกลับคืนมาได้ง่ายขึ้น

#ภูมิคุ้มกันที่ดีเริ่มที่ลำไส้

อ้างอิงข้อมูลจาก: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16968405

https://onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1111/j.1365-2249.2006.03165.x?sid=nlm%3Apubmed

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook