ความหวังสู้ “ไวรัสโคโรนา” นักวิทย์เตรียมทดสอบยาต้านไวรัส 69 ชนิด

ความหวังสู้ “ไวรัสโคโรนา” นักวิทย์เตรียมทดสอบยาต้านไวรัส 69 ชนิด

ความหวังสู้ “ไวรัสโคโรนา” นักวิทย์เตรียมทดสอบยาต้านไวรัส 69 ชนิด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์รายงานว่า มีตัวยา 69 ชนิด และสารประกอบในการทดลอง ซึ่งรวมถึงยาคลอโรควิน ซึ่งใช้รักษาโรคมาลาเรีย ที่น่าจะมีประสิทธิภาพในการรักษาโรค COVID-19 ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งการใช้ยาที่มีอยู่มารักษาโรคอาจจะเป็นวิธีการที่เร็วกว่าการคิดค้นยาต้านไวรัสใหม่

นักวิจัยได้เริ่มการวิจัยเกี่ยวกับพันธุกรรมของไวรัสโคโรนา ที่เรียกว่า SARS-CoV-2 ที่มีกระบวนการแพร่เชื้อสู่เซลล์ในปอด โดยเกาะกับเซลล์ในร่างกายมนุษย์ จนกระทั่งเซลล์เริ่มผลิตโปรตีนไวรัส ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างไวรัสตัวใหม่กว่าล้านตัว และโปรตีนไวรัสแต่ละตัวจะสามารถยึดตัวเองเข้ากับโปรตีนที่จำเป็นในร่างกายมนุษย์ เพื่อเจริญเติบโตต่อไป และได้ตรวจสอบพันธุกรรมของไวรัสโคโรนา 26 พันธุกรรม จาก 29 พันธุกรรม ซึ่งเป็นพันธุกรรมที่ผลิตโปรตีนไวรัสโดยตรง และค้นพบโปรตีนของมนุษย์ 332 ตัว ที่เป็นเป้าหมายของไวรัสโคโรนา

จากนั้น นักวิจัยค้นหาตัวยาที่จะเกาะกับโปรตีนของมนุษย์ ที่ไวรัสโคโรนาดูเหมือนจะต้องการที่จะแทรกตัวเข้าไปและแบ่งตัวในเซลล์ของมนุษย์ และในที่สุด ทีมนักวิจัยจึงได้ระบุชื่อตัวยา 24 ชนิด ที่ได้รับการอนุมัติโดยองค์การอาหารและยา ที่ใช้ในการรักษาโรคที่ไม่เกี่ยวข้องกับไวรัสโคโรนา อย่างโรคมะเร็ง พาร์กินสัน และความดันโลหิตสูง

นอกจากนี้ ในรายชื่อยายังมีตัวยาที่ไม่คาดคิดอยู่ด้วย ได้แก่ ฮาโลเพริดอล ซึ่งใช้ในการรักษาโรคจิตเภท และเมตฟอร์มิน ที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานไทป์ 2 รวมทั้งยาที่ใช้รักษาโรคจากปรสิต และยาปฏิชีวนะที่ฆ่าแบคทีเรียโดยเข้าไปรบกวนกลไกของเซลล์ที่ใช้ในการสร้างโปรตีน จึงมีความเป็นไปได้ว่า ผลข้างเคียงของยาเหล่านี้อาจจะกลายเป็นยาต้านไวรัส

ยาชนิดหนึ่งที่อยู่ในรายงาน คือคลอโรควิน ซึ่งฆ่าปรสิตเซลล์เดี่ยวที่ก่อให้เกิดโรคมาลาเรีย ยาตัวนี้สามารถเกาะกับโปรตีนเซลล์ของมนุษย์ที่เรียกว่า “ตัวรับ sigma-1” ที่เป็นเป้าหมายของไวรัสด้วย จึงกลายเป็นยาที่ปรากฎอยู่ในข่าวบ่อยครั้งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จากคุณสมบัติที่สามารถต้านไวรัสโคโรนาได้

อย่างไรก็ตาม ดร.แอนโธนี ฟอซี ผู้อำนวยการสถาบันภูมิแพ้และโรคติดเชื้อเตือนว่า ยังมีเพียง “หลักฐานเชิงประวัติ” เท่านั้น ที่ระบุว่ายาคลอโรควินอาจจะใช้ได้ แต่จะมีการทดสอบว่ายาชนิดนี้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการต้านไวรัสโคโรนาจริงหรือไม่ ซึ่งทางองค์การอนามัยโลกจะเริ่มการทดสอบในวันพุธนี้

ด้านนายแอนดรูว์ เอ็ม คูโอโม ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก ก็ได้ประกาศว่า รัฐนิวยอร์กจะนำยาคลอโรควินและอะซิทโธรมัยซินไปทดสอบด้วยตัวเองเช่นกัน

ดร.เนวาน โครแกน นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมวิจัย เตือนว่าคลอโรควินอาจจะมีผลข้างเคียงที่เป็นพิษ เนื่องจากตัวยามีเป้าหมายเป็นโปรตีนเซลล์ของมนุษย์ จึงต้องระมัดระวังในการใช้ และต้องมีข้อมูลในทุกระดับมากกว่านี้

ทีมของ ดร.โครแกนที่วิทยาลัยแพทย์อิคานในนิวยอร์ก และสถาบันปาสเตอร์ในกรุงปารีส ได้เริ่มทดสอบยา 22 ชนิด และสารประกอบอื่นๆ ในรายการ เพื่อดูคุณสมบัติในการต้านไวรัสโคโรนาที่เติบโตในห้องทดลอง และคาดว่าจะรู้ผลครั้งแรกในคืนวันอาทิตย์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook