วชิรพยาบาลเปิดตัว "หน้ากาก N99" คิดค้นสร้างเอง มาตรฐานสูงกว่า N95

วชิรพยาบาลเปิดตัว "หน้ากาก N99" คิดค้นสร้างเอง มาตรฐานสูงกว่า N95

วชิรพยาบาลเปิดตัว "หน้ากาก N99" คิดค้นสร้างเอง มาตรฐานสูงกว่า N95
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล เปิดตัวนวัตกรรมหน้ากากป้องกันการติดเชื้อ Covid-19 ที่มีมาตรฐานสูงกว่า N95 และสามารถดัดแปลงขึ้นใช้งานได้จากวัสดุที่มีอยู่ในโรงพยาบาล

รองศาสตราจารย์ นพ.อนันต์ มโนมัยพิบูลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช แถลงว่า ในสถานการณ์ที่โรคระบาดทางเดินหายใจ Covid-19 ระบาดไปอย่างรวดเร็วในทุกจังหวัดเกือบทั่วประเทศไทย และโรงพยาบาลทั่วประเทศประสบปัญหาการขาดอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อในบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อต่อจากผู้ป่วย Covid-19 ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อระบบการให้บริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดแคลนหน้ากากป้องกันการติดเชื้อ N95 ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องนำเข้าจากต่างประเทศและเกิดความขาดแคลนอย่างมากในขณะนี้

คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่สำหรับการดัดแปลงสร้างหน้ากากอนามัยที่มีมาตรฐานสูงกว่า N95 คือมีระดับความสามารถในการกรองอนุภาคได้ถึง N99 ขึ้นใช้ได้เองจากวัสดุทางการแพทย์ที่มีอยู่ในโรงพยาบาลต่าง ๆ และได้ผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติการของวชิรพยาบาลในเรื่องศักยภาพในการกรองอนุภาค และ ผ่านการตรวจสอบในเรื่องการยึดกระชับหน้ากากแล้ว และในขณะนี้วชิรพยาบาลได้เริ่มใช้หน้ากากป้องกันเชื้อ N99 สำหรับบุคลากรของตน ในการสัมผัสกับผู้ป่วย covid19 แล้ว

อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชอธิบายว่าหน้ากากป้องกันการติดเชื้อที่กว้างขึ้นความขาดแคลน N95 นี้ ที่ทำขึ้นโดยใช้ Silicone Mask ที่โรงพยาบาลใช้เป็นหน้ากากครอบจมูกสำหรับคนไข้ที่ต้องให้ออกซิเจนในโรงพยาบาล นำมาต่อให้แน่นกับ Hepa Filter ที่มีอยู่ในท่อเครื่องช่วยหายใจ และจัดหาสายซิลิโคนสำหรับวัดกับด้านหลังศรีษะของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อให้กระชับกับใบหน้า และสามารถใช้ได้เป็นเวลานานถึง 72 ชั่วโมง จึงต้องเปลี่ยนตัวกรอง Hepa Filter อีกครั้งหนึ่งและหากมีการใช้อีกหลังสัมผัสผู้ป่วย ควรจะมีการฆ่าเชื้อในเครื่อง Auto Clave ทุกครั้ง

เนื่องจาก Silicone Mask และตัวกรอง Hepa Filter ในเครื่องช่วยหายใจเป็นอุปกรณ์ที่มีอยู่ในทุกโรงพยาบาลอยู่แล้วจึงสามารถนำมาใช้ประกอบเป็นหน้ากากป้องกันการติดเชื้อระดับ N99 นี้ได้เองเลย เพียงแต่อุปกรณ์ที่ใช้วัดหน้ากากที่เป็นสายซิลิโคนนั้น โรงพยาบาลต่าง ๆ อาจจัดหาหรือคิดแปลงวัสดุอื่นที่ใช้รัดกระชับแทนก็ได้ ทั้งนี้ โดยวชิรพยาบาลจะเผยแพร่แนวทางการจัดทำหน้ากากป้องกันการติดเชื้อนี้ในเวปเพจของคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เพื่อให้ทุกโรงพยาบาลสามารถดัดแปลงหน้ากากดังกล่าวขึ้นใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอการสนับสนุนหน้ากาก N95 จากหน่วยงานกลาง

 

ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ นายกสภามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า เนื่องจากตัวกรอง Hepa Filter ในเครื่องช่วยหายใจของแต่ละโรงพยาบาลมีอยู่อย่างจำกัด และอาจนำมาใช้ได้ไม่มากนัก ดังนั้นคณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล จึงได้ดำเนินการจัดทำและขึ้นรูปอุปกรณ์ตัวกรอง Hepa Filter ขึ้นเอง โดยว่าจะสามารถดำเนินการให้ได้ตัวกรองสำหรับหน้ากากระดับ N99 นี้จำนวน 10,000 ชิ้น ภายในสิบวันเพื่อสนับสนุนโรงพยาบาลขอรัฐทุกแห่งที่มีความขาดแคลนอุปกรณ์นี้ อีกทั้ง Silicone Mask สำหรับการให้ออกซิเจนในโรงพบาบาลต่างๆ ก็อาจมีจำนวนจำกัดและไม่พอเพียงสำหรับบุคลากรทางการแพทย์จำนวนมากที่ต้องรับมือกับผู้ป่วย Covid-19 ในสถานการณ์สงครามนี้

ดังนั้นคณะแพทย์ศาสตร์ วชิรพยาบาล จึงได้ติดต่อผู้ประกอบการเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ให้ขึ้นรูปและผลิต Silicone Mask ในกำลังการผลิตประมาณ 200 ชิ้นต่อวันมาประมาณหนึ่งสัปดาห์แล้ว คาดว่าภายในหนึ่งสัปดาห์จากนี้ คณะแพทยศ์ศาสตร์วชิรพยาบาลจะมีหน้ากากป้องกันการติดเชื้อมาตรฐาน N99 ที่เพียงพอที่จะจัดสรรให้โรงพยาบาลที่มีผู้ป่วย Covid-19 โดยเฉพาะโรงพยาบาลขนาดเล็กที่มีความต้องการสูงได้ โดยโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยและมีความขาดแคลน สามารถแจ้งขอความสนับสนุนมายังอธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชได้โดยตรง

นายกสภามหาวิทยาลียนวมินทราธิราช กล่าวด้วยว่านอกจากหน้ากากป้องกันการติดเชื้อ N99 นี้แล้ว คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล โดยความสนับสนุน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมีคอล จำกัด (มหาชน) และกลุ่มองค์กรภาคเอกชนหลายกลุ่มกำลังดำเนินการจัดทำหมวกและชุดคลุม อัดอากาศแรงดันบวก (PAPR) จำนวน 500 ชุดและชุดอุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์มาตรฐานสูง (Protective Suit) ที่ผลิตจากเม็ดพลาสติคที่ใช้ในทางการแพทย์ (Medical Scale) สำหรับใช้ป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ในห้องปฏิบัติผ่าตัดหรือใน ICU จำนวน 5,000 ชุด เพื่อเตรียมจัดส่งให้กับสถานพยาบาลที่มีความขาดแคลนสูงโดยเร็วที่สุด

กับทั้งได้ดำเนินการจัดทำเปลนอนความดันลบ (Negative Pressure) สำหรับการขนย้ายผู้ป่วย Covid-19 ที่มีมูลค่าเปลละ 100,000 บาท แจกจ่ายในสถานพยาบาลต่าง ๆ ไปแล้วมากกว่า 10 โรงพยาบาล และจะได้จัดทำและแจกจ่ายเพิ่มเติมขึ้นอีกโดยความร่วมมือของกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้แก่ทุกสถานพยาบาลที่ร้องขอการสนับสนุนเพื่อช่วยให้กระบวนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในสถานการณ์โรคระบาดของประเทศในครั้งนี้ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บนความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อที่จะช่วยให้ประเทศไทยกลับสู่ความสงบเรียบร้อยโดยเร็วที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook