“ลิงใหญ่” ก็ติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้เช่นเดียวกับคน

“ลิงใหญ่” ก็ติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้เช่นเดียวกับคน

“ลิงใหญ่” ก็ติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้เช่นเดียวกับคน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การแพร่ระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัสโคโรนาอาจล้างบางประชากรของเหล่าลิงชิมแปนซี กอริลล่า และอุรังอุตังได้ ซึ่งสัตว์เหล่านี้มีดีเอ็นเอที่คล้ายกับมนุษย์มากถึง 98 เปอร์เซ็นต์ และเป็นที่ทราบกันดีว่าพวกมันมีแนวโน้มที่จะติดโรคจากมนุษย์ได้อย่างง่ายดาย ในอดีตที่ผ่านมา แม้แต่อาการเจ็บป่วยที่เล็กน้อยสำหรับมนุษย์ก็ส่งผลร้ายแรงต่อลิงใหญ่เหล่านี้ และในปัจจุบัน ที่เชื้อไวรัสโคโรนากำลังแพร่ระบาดและคร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกมากมาย ผู้เชี่ยวชาญหลายคนจึงกังวลว่าเชื้อโรคดังกล่าวจะส่งผลต่อสัตว์ตระกูลลิงเหล่านี้

เนื่องจากยังไม่มีรายงานการติดเชื้อไวรัสโคโรนาในกลุ่มลิงใหญ่ จึงทำให้เราไม่สามารถรับรู้ผลกระทบที่แท้จริงของโรคนี้ได้ แต่เหล่าลิงใหญ่ก็มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์เพราะการตัดไม้ทำลายป่า ดังนั้น การปิดอุทยานแห่งชาติ เขตสงวนแห่งชาติ และสวนสัตว์ต่าง ๆ จึงเป็นวิธีการที่นักวิจัยแนะนำ

อุทยานแห่งชาติในประเทศคองโกและประเทศรวันดาได้ทำการปิดพื้นที่ไม่ให้นักท่องเที่ยวและนักวิจัยเดินทางเข้าไปในพื้นที่แล้ว แต่นโยบายนี้กลับไม่ใช่การตัดสินใจที่ง่ายนัก เพราะเมื่อไม่มีคนอยู่ในพื้นที่ ความเสี่ยงที่จะเกิดการรุกล้ำป่าก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น

“การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เป็นสถานการณ์วิกฤติสำหรับมนุษย์ ทั้งเรื่องของสุขภาพและเศรษฐกิจ และก็เป็นสถานการณ์ที่เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายสำหรับลิงใหญ่เช่นกัน มีความเสี่ยงสูงสำหรับสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์เหล่านี้” โธมัส กิลเลสพิ จากมหาวิทยาลัยเอมโมรี ในสหรัฐอเมริกา กล่าว

“คนหนุ่มสาวที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นพาหะโรค COVID-19 คือกลุ่มที่จะมาปีนเขาในอุทยานแห่งชาติในแอฟริกาและเอเชียเพื่อจะดูลิงใหญ่พวกนี้ จึงเป็นเรื่องยากที่จะคอยติดตามว่าใครติดเชื้อบ้าง เพราะบางคนอาจจะไม่แสดงอาการอะไรเลยก็ได้”

งานวิจัยในปี 2008 แสดงหลักฐานแรกของการแพร่ระบาดของไวรัสจากคนสู่ลิงป่า ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ไวรัสทั่วไปที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ก็ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในหมู่ลิงป่าที่คุ้นเคยกับมนุษย์ ขณะที่ในปี 2016 นักวิทยาศาสตร์ก็ได้รายงานการแพร่เชื้อของไวรัสโคโรนาในคนสู่ลิงชิมแปนซีป่า ในอุทยานแห่งชาติไท (Taï) ประเทศไอวอรี โคสต์

ในปี 2017 กิลเลสพีร่วมเขียนรายงานที่แสดงว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของสัตว์ในตระกูลลิงกว่า 500 สปีชีส์ทั่วโลกกำลังใกล้สูญพันธุ์ ขณะที่กว่า 75 เปอร์เซ็นต์มีประชากรที่ลดลง

อย่างไรก็ตาม จำนวนของกอริลล่าภูเขาที่รอดชีวิตก็ค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้น โดยกว่า 1,000 ตัวอาศัยอยู่ในประเทศคองโอและประเทศยูกันดา สัตว์สปีชีส์นี้จึงถูกเปลี่ยนจาก “ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง” เป็น “ใกล้สูญพันธุ์” เท่านั้น และเป็นลิงใหญ่สปีชีส์เดียวที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

“แต่การเพิ่มขึ้นก็อาจตรงกันข้ามถ้าหากเกิดแพร่ระบาดของโรค ดังนั้น การป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญในช่วงเวลาวิกฤติเช่นนี้” แคธ ลอว์สัน ผู้จัดการศูนย์อนุรักษ์แอฟริกา ของกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ในอังกฤษ กล่าว

แนวทางดังกล่าวก็ถูกนำไปใช้เพื่อปกป้องลิอุรังอุตังในศูนย์อนุรักษ์ลิงอุรังอุตังเซปิลกในมาเลเซียด้วยเช่นกัน ซูซาน ชีวาร์ด จากมูลนิธิ Orangutan Appeal ในอังกฤษชี้ว่า โรค COVID-19 อาจทำให้ลิงอุรังอุตังที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งต้องตาย ซึ่งนั่นเป็นความเสี่ยงที่พวกเขาไม่ต้องการ ขณะที่คำแนะนำจากสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ระบุว่า ระยะห่างระหว่างคนกับลิงใหญ่ก็คือ 7 – 10 เมตร ซึ่งคน ๆ นั้นจะต้องไม่เจ็บป่วยหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยในช่วง 14 วัน จึงจะได้รับอนุญาตให้เข้าใกล้ลิงใหญ่ได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook