นักวิทย์เตือนมลภาวะทางอากาศที่หายไปในช่วง “ไวรัสโคโรนา” อาจไม่ใช่เรื่องดี

นักวิทย์เตือนมลภาวะทางอากาศที่หายไปในช่วง “ไวรัสโคโรนา” อาจไม่ใช่เรื่องดี

นักวิทย์เตือนมลภาวะทางอากาศที่หายไปในช่วง “ไวรัสโคโรนา” อาจไม่ใช่เรื่องดี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผลลัพธ์ที่น่าตกใจของระบบเศรษฐกิจที่หยุดชะงักไปทั่วโลกในภาวะการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ก็คือ ท้องฟ้าสีสวยและแม่น้ำใสในเมืองต่าง ๆ ตั้งแต่เวนิซไปจนถึงปักกิ่ง ลอสแอนเจลิสถึงบังกาลอร์ ทั้งที่ไม่กี่สัปดาห์ก่อน เมืองเหล่านี้ต่างถูกปกคลุมไปด้วยมลพิษหนาแน่น  

COVID-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเกิดการชะลอตัว เมื่อโรงงานและสายพานการผลิตมากมายต้องหยุดชะงัก รถจอดนิ่งอยู่ในที่จอดรถ มลภาวะทางอากาศในพื้นที่เมืองก็ค่อย ๆ เลือนหายไป กรุงปักกิ่งของประเทศจีน ที่มีชื่อเสียงเรื่องมลพิษทางอากาศที่มีผลต่อการหายใจและคร่าชีวิตประชากรในประเทศกว่า 1 ล้านคนต่อปี ก็ได้พบกับสภาพท้องฟ้าที่แจ่มใสอีกครั้งเมื่อโรงงานต้องหยุดการผลิต และการลดลงของมลภาวทางอากาศก็สร้างความโล่งใจให้กับหลายภาคส่วน

แต่นักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมและผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายหลายคนออกมาเตือนว่า อย่ามองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ดี การลดลงของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษต่าง ๆ อย่างยั่งยืนจะต้องเกิดขึ้นในลักษณะที่ไม่ทำให้สังคมแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ ยิ่งไปกว่านั้ น ผู้เชี่ยวชาญยังมองว่ามลพิษจะกลับมาอีกครั้งเมื่อการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาจบลง ซึ่งในบางกรณี อาจกลับมาพร้อมกับระดับความรุนแรงที่ยากจะควบคุมได้

“ผมไม่คิดว่ามันเป็นเรื่องที่ดี แต่ผมคิดว่า ชีวิตของคนยากจนทั้งหลายที่ไม่ย้ายที่อยู่กำลังถูกทำลาย” เวด แมคกิลลิส อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ชี้

ในระยะสั้น การเปลี่ยนแปลงอาจดูราวกับปาฏิหาริย์ ภาพถ่ายดาวเทียมจากองค์การอวกาศยุโรปแสดงให้เห็นระดับก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ที่ลดลง ซึ่งก๊าซดังกล่าวนี้เป็นก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจของผู้คน ในเมืองใหญ่หลายประเทศ เช่น ปารีส มาดริด และโรม ในขณะที่มีประกาศปิดเมืองและห้ามเดินทาง เมืองต่าง ๆ ทั่วสหรัฐอเมริกา เช่น ลอสแอนเจลิส และนิวยอร์ก ก็มีผลลัพธ์ไม่ต่างกัน

ในประเทศจีน ซึ่งถือเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุดของโลก ระดับการปล่อยก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ลดลง 1 ใน 4 เท่าในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์เมื่อเทียบกับไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้า นักวิทยาศาสตร์เก็บบันทึกการลดลงของก๊าซพิษที่คล้ายกันและค่าฝุ่นละอองภายในประเทศ ซึ่งใช้ความพยายามหลายปีในการทำความสะอาดอากาศในเมืองที่มีภาวะฝุ่นควันเช่นนี้

“ในเรื่องของการเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงข้ามคืนนั้น มันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์” ลอรี มิลลีเวอร์ทา ผู้เขียนรายงานเรื่อง Carbon Brief และนักวิเคราะห์ของศูนย์วิจัยพลังงานและอากาศบริสุทธิ์ กล่าว

ในทางทฤษฎีแล้ว การลดลงที่ชัดเจนของภาวะอากาศเป็นพิษและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นการพัฒนาในเชิงบวกสำหรับโลกและมนุษย์ ข้อหนึ่งคือ มลภาวะที่เป็นพิษทำให้มีประชากรทั่วโลกเสียชีวิตด้วยภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคระบบทางเดินหายใจมากกว่าล้านคนในทุก ๆ ปี อากาศที่แจ่มใสอาจช่วยสร้างความโล่งใจให้กับคนที่ติดโรค COVID-19 ได้บ้าง เพราะทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจลำบากสามารถหายใจได้คล่องขึ้น ถึงแม้ผู้เชี่ยวชาญจะชี้ว่าตลอดระยะเวลาหลายปีของภาวะอากาศเป็นพิษ มีแนวโน้มที่จะทำให้คนทั่วไปอ่อนไหวกับโรค COVID-19 ก็ตาม

“มันส่งผลให้เกิดความเสียหายแล้ว ตลอดเวลาหลายปีที่สูดดมเอากาศสกปรกและฝุ่นละอองเข้าไปจะส่งผลให้สุขภาพของคนอ่อนแอลง” ซาซชา มาร์ส์ชาง รักษาการเลขาธิการขององค์การสหภาพยุโรปด้านสาธารณสุข กล่าวในแถลงการณ์

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงเปรียบได้กับชัยชนะของการต่อสู้กับการภาวะโลกร้อน นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศเตือนว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนของโลกจำเป็นต้องมีปริมาณที่ลดลงในช่วงหลายปีต่อจากนี้ เพื่อให้อุณหภูมิของโลกไม่เพิ่มขึ้นมากกว่า 1.5 องศาเซลเซียสในช่วงปลายศตวรรษ ซึ่งเป็นระดับที่จะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวง ตั้งแต่การลี้ภัยจากสภาพภูมิอากาศไปจนถึงการสูญเสียแนวปะการัง ขณะที่ไวรัสโคโรนาเกี่ยวข้องกับความตกต่ำของเศรษฐกิจ การปล่อยก๊าซคาร์บอนจึงอาจลดลงในปี 2020 แต่ถ้าไม่มีความพยายามอย่างจริงจัง ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะเพิ่มสูงขึ้น

สถานการณ์ในประเทศจีนแสดงให้เห็นว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษทางอากาศสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เมื่อถึงช่วงปลายเดือนมีนาคม การใช้พลังงานจากถ่านหินและสารมลพิษไนโตรเจนไดออกไซด์กลับมาอยู่ในระดับปกติแล้ว คำถามต่อมาก็คือ ประเทศจะใช้ช่วงเวลานี้ลงทุนกับมาตรการกระตุ้นสิ่งแวดล้อมเพื่ออุ้มการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจหรือไม่ โครงการนี้จะช่วยกระจายโครงสร้างพื้นฐานพลังงานสะอาดและการพัฒนาพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้การสนับสนุนเรื่องโครงสร้างสิ่งแวดล้อมจะไม่ทำให้เกิดการลดลงอย่างรุนแรงของปัญหามลภาวะทางอากาศหรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระยะสั้นก็ตาม

ในเวลานี้ นักวางแผนนโยบายทั่วโลกต้องตอบคำถามเดียวกันนี้ให้ได้ หากนักวางแผนนโยบายสร้างความพยายามที่ชัดเจนและยั่งยืนในการจัดการกับเรื่องเศรษฐกิจ ท้องฟ้าที่สดใสในวันนี้ก็เป็นตัวอย่างของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แม้จะต้องใช้เวลาหลายปีก็ตาม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook