หลังจากวิกฤติ “ไวรัสโคโรนา” ใครจะเป็นผู้ชนะและผู้แพ้ในสมรภูมินี้
ในภาษาอิตาเลียน มีคำพูดหนึ่งที่ว่า “Andrà tutto bene” มีความหมายว่า “ทุกอย่างจะผ่านไปด้วยดี” แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง หลังจากเหตุการณ์เลวร้ายผ่านไป ทุก ๆ อย่างจะกลับมาดีได้อีกครั้งจริงหรือ มันอาจจะเร็วเกินไปหากจะพูดถึงผลที่ตามมาของการเมืองและเศรษฐกิจ ในเมื่อเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ได้กล่าวถึงสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ว่าเปรียบเสมือน “สงครามกับศัตรูที่มองไม่เห็น”
แต่ผู้นำโลกหลายคน รวมไปถึงนักการทูตและนักภูมิศาสตร์การเมืองต่างก็รับรู้ว่าพวกเขากำลังอยู่ในช่วงเวลาซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก โดยจะต้องคอยจับตาดูสถานการณ์ประจำวันและผลลัพธ์ของวิกฤติไวรัสโคโรนาที่โลกจะได้รับ การแข่งขันทางด้านอุดมการณ์ อำนาจของกลุ่มพรรคการเมือง ผู้นำและระบบการทำงานร่วมกันทางสังคมในภาวะวิกฤติกำลังได้รับการทดสอบ ณ ศาลแห่งความคิดเห็นโลก
ในตอนนี้ หลายประเทศทั่วโลกก็กำลังเริ่มเขียนบทเรียนของตัวเอง ดังเช่นในประเทศฝรั่งเศส มาครงคาดการณ์เอาไว้ว่า “ช่วงเวลานี้จะสอนอะไรเรามากมาย ความมั่นคงและความเชื่อมั่นจะถูกลบหายไป หลายอย่างที่เราเคยคิดว่าจะไม่มีทางเกินขึ้นก็กำลังเกิดขึ้น หลังจากที่เราเอาชนะมันได้แล้ว สิ่งต่าง ๆ จะไม่กลับไปเป็นเหมือนที่เคยเป็น” พร้อมกันนี้ เขายังได้ให้สัญญาว่าจะเริ่มการลงทุนทางด้านสุขภาพขนาดใหญ่ และกลุ่มผู้สนับสนุนมาครงก็ได้ก่อตั้งเว็บไซต์ Jour d’Après ขึ้นมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ขณะที่ประเทศเยอรมนี ซิกมาร์ กาเบรียล อดีตรัฐมนตรีการต่างประเทศแห่งพรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนีได้ออกมากล่าวแสดงความเสียใจว่าทุกคนในประเทศพูดจาดูหมิ่นประเทศมากว่า 30 ปี และคาดการณ์ว่าคนรุ่นต่อไปจะอ่อนต่อเรื่องโลกาภิวัตน์มากกว่าคนรุ่นนี้ ส่วนในประเทศอิตาลี มัตเตโอ เรนซี อดีตนายกรัฐมนตรีได้เรียกร้องถึงการลงทุนกับอนาคต เช่นเดียวกับฮ่องกง ซึ่งปรากฏภาพกราฟิตี้ ใจความว่า “ไม่มีทางกลับไปสู่ภาวะปกติได้ เพราะภาวะปกติเป็นปัญหามาตั้งแต่แรก” เฮนรี่ คิสซิงเกอร์ เลขาธิการของรัฐกล่าวว่า ในเวลานี้ ผู้ปกครองต้องเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงระดับโลกหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา
อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ (UN) กล่าวว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจที่ยิ่งใหญ่ไม่เคยทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ แต่การเกิดขึ้นของ COVID-19 แสดงให้เห็นว่าถ้าเราไม่ร่วมมือกัน เราก็จะพ่ายแพ้”
การโต้ตอบกันของนักคิดทั่วโลกเป็นไปอย่างดุเดือด โดยพุ่งเป้าหมายไปที่ประเด็นว่าระหว่างประเทศจีนและสหรัฐอเมริกานั้น ใครจะสามารถช่วงชิงตำแหน่งผู้นำโลกในภาวะหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา การระบาดใหญ่ของโรค COVID-19 ได้เปลี่ยนไปสู่การแข่งขันภาวะการเป็นผู้นำของโลก และมีแนวโน้มที่หลายประเทศที่สามารถรับมือกับวิกฤติได้อย่างมีประสิทธิภาพจะมีแรงฉุดที่มากกว่า นักการทูตจะวุ่นวายอยู่กับการแก้ต่างให้กับรัฐบาลของตัวเองในการแก้ปัญหาวิกฤตินี้ และมักจะอ่อนไหวกับคำวิพากษ์วิจารณ์ ความภูมิใจในความเป็นชาติและสุขภาพจะมีความเสี่ยง แต่ละประเทศจะดูว่าประเทศเพื่อนบ้านของตัวเองสามารถลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงได้อย่างรวดเร็วแค่ไหน
คณะทำงาน Crisis Group ที่อธิบายถึงอิทธิพลของเชื้อไวรัสจะเปลี่ยนแปลงการเมืองโลกอย่างถาวร แนะนำว่า “ในตอนนี้ เราสามารถมองการแข่งขันได้เป็น 2 แบบ หนึ่งคือทุกประเทศต้องร่วมมือกันเพื่อเอาชนะ COVID-19 และสองคือ แต่ละประเทศอยู่กันแบบต้องตัวใครตัวมันเพื่อป้องกันตัวเองให้ดีที่สุด”
“วิกฤตินี้ยังสะท้อนการทดสอบที่ว่าประเทศเสรีนิยมหรือประเทศที่ไม่เป็นเสรีนิยมจะสามารถจัดการความทุกข์ยากทางสังคมได้ดีกว่ากันเมื่อเกิดการระบาดใหญ่ขึ้น รวมทั้งทดสอบเรื่องความสามารถในการทำงานขององค์กรต่าง ๆ เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสหประชาชาติ (UN) และข้อสันนิษฐานพื้นฐานว่าด้วยเรื่องคุณค่าและการต่อรองทางการเมืองที่สนับสนุนพวกเขาอยู่”
หลายคนชี้ว่าโลกทางฝั่งตะวันออกได้รับชัยชนะจากสงครามไวรัสในครั้งนี้ บยอง ชอลฮาน นักปรัชญาชาวเกาหลีใต้ ได้วิพากษ์ว่า ผู้ชนะคือ “ประเทศในเอเชีย อย่างญี่ปุ่น เกาหลี จีน ฮ่องกง ไต้หวัน หรือสิงคโปร์ ที่มีแนวคิดแบบลัทธิอำนาจนิยม ซึ่งมาจากวัฒนธรรมประเพณีของลัทธิขงจื๊อ ประชาชนไม่หัวรั้นและเชื่อฟังผู้ปกครองมากกว่าประชาชนในยุโรป พวกเขาเชื่อใจรัฐบาลของประเทศมากกว่า ชีวิตประจำวันมีความเป็นระเบียบแบบแผนมากกว่า ยิ่งไปกว่านั้น การเผชิญหน้ากับเชื้อไวรัส ชาวเอเชียก็สยบยอมกับการตรวจตราแบบดิจิตอลอย่างเต็มที่ การแพร่ระบาดในเอเชียจึงไม่เพียงเป็นการต่อสู้ของนักวิทยาไวรัสและนักระบาดวิทยาเท่านั้น แต่ยังเป็นนักวิทยาการคอมพิวเตอร์และนักวิจัยข้อมูลด้วย”
ชอลฮานคาดการณ์ว่า ประเทศจีนจะสามารถขายระบบตรวจตราด้วยเทคโนโลยีของตัวเองได้ในรูปแบบที่ประสบความสำเร็จในการต่อสูกับการระบาดใหญ่ ซึ่งจีนจะแสดงออกถึงความเป็นผู้เหนือกว่าในระบบของตัวเองอย่างภาคภูมิใจมากกว่าเดิม พร้อมกันนี้เขายังเชื่อว่า ชาวตะวันตกอาจจะเต็มใจยอมเสียสละเสรีภาพเพื่อความปลอดภัยและเพื่อสังคม
ทั้งนี้ ประเทศจีนยังเชื่อว่าตัวเองสามารถเปลี่ยนตำแหน่งจากผู้แพร่เชื้อไวรัสไปสู่การเป็นผู้ช่วยเหลือโลก โดยนักการทูตรุ่นใหม่ของจีนได้ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อแสดงออกถึงความเหนือกว่าของประเทศตัวเอง ไมเคิล ดูโคลส อดีตเอกอัครราชทูตของฝรั่งเศส ชี้ว่า ประเทศจีนนั้น “พยายามหาประโยชน์จากชัยชนะเหนือไวรัสของประเทศอย่างหน้าไม่อาย เพื่อโปรโมตระบบการเมืองการปกครองของตัวเอง สงครามเย็นที่ไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการนี้เกิดขึ้นมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว และมันก็แสดงให้เห็นโฉมหน้าที่แท้จริงภายใต้ความน่ากลัวของ COVID-19”
สตีเฟ่น วอลท์ นักทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากฮาร์วาร์ด แสดงความคิดเห็นว่าประเทศจีนอาจประสบความสำเร็จ โดยชี้ว่า “ไวรัสโคโรนาเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอำนาจและอิทธิพลจากโลกตะวันตกมาสู่โลกตะวันออก ประเทศเกาหลีใต้และสิงคโปร์ได้แสดงให้เห็นการรับมือที่ดีเยี่ยม และประเทศจีนก็จัดการความผิดพลาดของตัวเองได้เป็นอย่างดี การรับมือของรัฐบาลในยุโรปและสหรัฐอเมริกานั้นน่าสงสัยเป็นอย่างมาก และมีแนวโน้มว่าจะทำให้อำนาจของตะวันตกลดน้อยลงไปด้วย”
ในทางตรงกันข้าม ชิฟชานการ์ มีนอน อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเสาอโศก ประเทศอินเดีย ชี้ว่า “จากที่ผ่านมา ลัทธิอำนาจนิยมหรือประชานิยมก็ไม่ได้รับมือกับการระบาดใหญ่ได้ดีไปกว่าลัทธิอื่น ๆ และประเทศที่ตอบสนองได้รวดเร็วและประสบความความสำเร็จ เช่น เกาหลีใต้และไต้หวัน ต่างก็ใช้การปกครองแบบประชาธิปไตย ไม่ใช่ประเทศที่มีผู้นำฝ่ายประชานิยมหรืออำนาจนิยม”
สอดคล้องกับ ฟรานซิส ฟูกุยามะ มองว่า “การแบ่งแยกการรับมือกับวิกฤติอย่างมีประสิทธิภาพไม่ได้ขึ้นอยู่กับเผด็จการด้านหนึ่งและประชาธิปไตยด้านหนึ่ง ปัจจัยในการแสดงออกไม่ใช่เรื่องของระบอบการปกครอง แต่เป็นความสามารถของประเทศ และความเชื่อใจในรัฐบาล” ซึ่งเขาแสดงความชื่นชมประเทศเกาหลีใต้และเยอรมนี โดยประเทศเกาหลีใต้นั้นได้แสดงออกว่าเป็นประเทศประชาธิปไตยที่สามารถรับมือกับวิกฤติได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศจีน ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์ระดับประเทศก็แสดงความชื่นชมประเทศเยอรมนีที่ทำการตรวจคัดกรองโรคจำนวนมากเหมือนประเทศเกาหลีใต้
แต่สำหรับประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งมีเศรษฐกิจที่พึ่งพิงการส่งออก ก็อาจจะต้องเผชิญหน้ากับความยากลำบากในระยะยาวหากการระบาดใหญ่เล่นงานประเทศทางฝั่งตะวันตก ศาสตราจารย์โจเซฟ สติกไลทซ์คาดการณ์เรื่องห่วงโซ่อุปทานของโลก โดยชี้ว่า การระบาดใหญ่ในครั้งนี้ได้สะท้อนข้อเสียเปรียบของสินค้าทางการแพทย์ ผลลัพธ์ก็คือ สินค้าที่นำเข้าจะมีจำนวนลดลง และสินค้าที่ผลิตในประเทศจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น เกาหลีใต้อาจได้รับคำชื่นชมแต่ก็จะเสียตลาดไป
อย่างไรก็ตาม โจเซฟ บอร์เรลล์ หัวหน้าการต่างประเทศของ EU ก็ชี้ว่า “หลังจากเฟสแรกของการตัดสินใจที่หลากหลายของแต่ละประเทศ เรากำลังเข้าสู่เฟสใหม่ที่ทุกอย่างกำลังบรรจบเข้าด้วยกันโดยมีอียูเป็นศูนย์กลาง โลกกำลังเข้าสู่วิกฤติในรูปแบบที่ยุ่งเหยิง หลายประเทศก็จะเมินเฉยต่อสัญญาณเตือนและรับมือกับมันด้วยตัวเอง แต่มันชัดเจนแล้วว่าถ้าเราจะเอาชนะมันให้ได้ เราต้องร่วมมือกัน"
แม้จะไม่มีใครรับรู้ได้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่ในตอนนี้ทุกอย่างยังคงสมดุล และโลกของเราก็ยังจะสามารถเอาชนะได้