สื่อนอกชี้ 3 ปัจจัยหายนะ ที่ไทยเผชิญในปี 63 ทำประชาชนเดือดร้อน เขย่าเก้าอี้ "บิ๊กตู่"

สื่อนอกชี้ 3 ปัจจัยหายนะ ที่ไทยเผชิญในปี 63 ทำประชาชนเดือดร้อน เขย่าเก้าอี้ "บิ๊กตู่"

สื่อนอกชี้ 3 ปัจจัยหายนะ ที่ไทยเผชิญในปี 63 ทำประชาชนเดือดร้อน เขย่าเก้าอี้ "บิ๊กตู่"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เว็บไซต์ The Diplomat เผยแพร่บทความ Thailand Confronts its Triple Disaster in 2020 โดยระบุว่า ปีพ.ศ.2563 เป็นปีที่รัฐบาลไทยต้องเผชิญกับหายนะ 3 เรื่องพร้อมๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19, ภัยแล้ง และไฟป่า ที่ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดมลพิษทางอากาศในหลายพื้นที่ทางภาคเหนือ

เดอะดิพลอแมตระบุว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เริ่มจากจีน เป็นประเด็นแรกที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของไทยอย่างมาก เพราะนอกจากจะทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีนหายไปในระดับที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการทุกภาคส่วนแล้ว มาตรการปิดกั้นการเดินทางของจีนและไทยก็ยิ่งส่งผลกระทบต่อการค้าและการส่งออก แต่ความล่าช้าของรัฐบาลไทยที่ไม่สั่งระงับหรือจำกัดการเดินทางจากจีนมายังไทย ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อย

ประการที่ 2 ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นต่อเนื่องทั่วประเทศ มีแนวโน้มจะเผชิญกับสถานการณ์ที่เลวร้ายยิ่งขึ้นในช่วงฤดูร้อน ทั้งยังมีรายงานจาก The New York Times อ้างอิงข้อมูลสำรวจผ่านดาวเทียม บ่งชี้ว่ามีการเก็บกักน้ำปริมาณมหาศาลในแม่น้ำโขงตอนบน ซึ่งอยู่ในอาณาเขตของประเทศจีน แต่ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ซึ่งรวมถึงไทย-กัมพูชา เสี่ยงที่จะเผชิญปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงไม่กี่เดือนต่อจากนี้ เพราะไม่มีการปล่อยน้ำลงมาจากเขื่อนในแม่น้ำโขงตอนบน


ประการที่ 3 สถานการณ์ไฟป่าในภาคเหนือ ทำให้เกิดฝุ่นควันพิษที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง และการช่วยเหลือจากส่วนกลางที่มีเจ้าหน้าที่และหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อดับไฟป่า ถูกมองว่าไม่เพียงพอต่อสิ่งที่เกิดขึ้น แม้รัฐบาลจะยืนยันว่าได้ส่งเจ้าหน้าที่นับพันเข้าช่วยเหลือ แต่คนในท้องถิ่นกลับเห็นต่าง ทั้งยังมีชาวบ้านและเจ้าหน้าที่เสียชีวิตหลายรายที่มีสาเหตุเกี่ยวพันกับไฟป่า

หายนะทั้ง 3 ประการเปรียบได้กับพายุแห่งความไม่พอใจของประชาชนซึ่งกำลังก่อตัวขึ้น และอาจสั่นสะเทือนรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพราะอาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองระลอกใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของประเทศ

ขณะเดียวกัน เว็บไซต์ Benarnews สื่อมาเลเซีย รายงานด้วยว่า ไวรัสโคโรนาไม่เป็นผลดีต่อสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเช่นกัน เพราะตามปกติก็เป็นพื้นที่ไม่สงบอยู่แล้ว แต่การที่ผู้ติดเชื้ออย่างน้อย 11 เปอร์เซ็นต์ของประเทศไทยอยู่ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ก็ยิ่งทำให้การเฝ้าระวังสถานการณ์ดำเนินไปอย่างยากลำบากมากขึ้น

นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาพลเมืองไทยตกค้างในมาเลเซีย ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้เพราะมาตรการปิดพรมแดนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งรัฐบาลจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเยียวยา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook