ความมั่นคงทางอาหารและวิกฤติสถานการณ์ “โควิด-19”

ความมั่นคงทางอาหารและวิกฤติสถานการณ์ “โควิด-19”

ความมั่นคงทางอาหารและวิกฤติสถานการณ์ “โควิด-19”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในช่วงที่ภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) กระจายไปทั่วโลก ผู้คนส่วนใหญ่ต่างตกอยู่ในสภาวะยากลำบาก ทั้งในด้านการใช้ชีวิต การทำงาน ด้านเศรษฐกิจ รวมไปถึงด้านความมั่นคงทางอาหาร และแนวโน้มปัญหาสุขภาพของประชาชนในประเทศ ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ออกมาเตือนถึงเรื่องของความพร้อมทางอาหารที่อาจส่งผลต่อข้อจำกัดการส่งออก และนำไปสู่การขาดแคลนอาหารของตลาดโลก

ข้อจำกัดการส่งออกจะส่งผลให้ปริมาณการจัดส่งอาหารลดลง และการขาดแคลนอาหารจะส่งผลต่อราคาของผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมี 2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหาร คือหนึ่ง ผู้คนมีเงินมากพอที่จะซื้ออาหารหรือไม่ และสอง ผู้คนมีความมั่นคงหรือเข้าถึงอาหารได้หรือไม่ ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยนี้อาจเป็นทั้งเรื่องของเศรษฐกิจและเรื่องทางกายภาพ ในประเทศที่ยากจนอาจขาดแคลนทั้ง 2 ปัจจัยข้างต้น และหากราคาอาหารสูงขึ้น ผู้คนที่ใช้เงินจากการทำงานมาซื้ออาหารก็ไม่สามารถซื้อหาอาหารได้ เพราะรายได้ที่ลดน้อยลงจากภาวะโรคโควิด-19

ในประเทศที่ต้องพึ่งพิงการนำเข้าอาหาร ความมั่นคงทางอาหารจะลดน้อยลง เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ค่อย ๆ ชะลอตัวลง แต่ถึงแม้ราคาอาหารจะเพิ่มสูงขึ้น ผู้บริโภคที่ร่ำรวยในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจก็ยังสามารถซื้ออาหารได้ตามปกติ ขณะที่ประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ ก็มีแนวโน้มที่จะจำกัดการส่งออกอาหาร และกักตุนอาหารไว้สำหรับการบริโภคในประเทศ พร้อมออกมาตรการห้ามการส่งออกที่จะไปจำกัดการนำเข้าอาหารในประเทศที่ต้องนำเข้าอาหารเป็นหลัก และแม้ว่าประเทศร่ำรวยจะส่งอาหารไปช่วยเหลือประเทศที่ยากจน แต่อาหารก็อาจจะไปไม่ถึง เนื่องจากมาตรการจำกัดการเดินทางเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภาวะวิกฤติโรคระบาดเช่นนี้จึงอาจสร้างวิกฤติทางอาหารให้กับประเทศที่ยากจน ที่ไม่มีความสามารถในการเข้าถึงอาหารทั้งในด้านของเศรษฐกิจและด้านกายภาพ

ดังนั้น ประเทศผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่จำเป็นต้องทำตามข้อตกลงที่ให้ไว้ภายใต้กฎเกณฑ์ของ องค์การการค้าโลก (WTO) เพื่อรักษาการส่งผลิตภัณฑ์อาหาร และละเว้นมาตรการห้ามส่งออกที่อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการนำเข้าอาหารของประเทศที่ต้องการ ในขณะที่โรคระบาดกำลังคร่าชีวิตของผู้คนมากมายทั่วโลก ทุกประเทศจำเป็นต้องตื่นตัว และเตรียมพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทางด้านอาหารกับประเทศกำลังพัฒนาที่กำลังตกเป็นเหยื่อของตลาดอาหารนานาชาติ  

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook