สุดยอด!!มหกรรมกีฬาของคนตัวเล็ก

สุดยอด!!มหกรรมกีฬาของคนตัวเล็ก

สุดยอด!!มหกรรมกีฬาของคนตัวเล็ก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลายคนอาจจะไม่ทราบว่า ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคมเป็นต้นมา จนจะไปสิ้นสุดในวันอาทิตย์นี้ ณ กรุงเบลฟาสต์ของประเทศไอร์แลนด์เหนือ "นักกีฬา" กว่า 200 ชีวิตจากทั่วโลกกำลังทำการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับโลกรายการหนึ่งอย่างแข็งขัน

เป็นมหกรรมกีฬาขนาด "ย่อม" ที่พิสูจน์ให้เห็นว่า กีฬานั้นไร้พรมแดนและข้อจำกัดใดๆ แม้ว่าใครบางคนจะเกิดขึ้นมาในสภาพร่างกายที่แตกต่างไปจากคนทั่วๆ ไปก็ตาม

นั่น คือ มหกรรมกีฬาคนแคระชิงแชมป์โลก หรือ เวิลด์ ดวอร์ฟ เกมส์ (World Dwarf Games) ที่เปิดโอกาสให้นักกีฬาร่างเล็กจากทั่วโลกมาประชันฝีมือกันนั่นเอง

"เวิลด์ ดวอร์ฟ เกมส์" อาศัยหลักการเดียวกับโอลิมปิคเกมส์หรือพาราลิมปิคเกมส์ที่เปิดโอกาสให้นัก กีฬาชาติต่างๆ มาดวลกันในหลากชนิดกีฬา ทำการแข่งขันกันทุกๆ 4 ปี ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 5 แล้ว

ชนิดกีฬาที่แข่งขันกันนั้นใกล้ เคียงกับโอลิมปิคเกมส์และพาราลิมปิคเกมส์แต่อาจแตกต่างกันในรายละเอียดบาง ประเภทกีฬา โดยในปีนี้กำหนดแข่งขันกรีฑาประเภทลู่และลาน ว่ายน้ำ ฟุตบอล บาสเกตบอล ฮอคกี้ แบดมินตัน เทเบิลเทนนิส บ็อกเชีย และเคิร์ลลิ่งสมัยใหม่

 

สำหรับ กีฬา "เคิร์ลลิ่งสมัยใหม่" แจกแจงรายละเอียดกันนิดว่า เป็นกีฬาที่ประยุกต์มาจากกีฬาฤดูหนาว "เคิร์ลลิ่ง" อีกต่อหนึ่ง โดยเคิร์ลลิ่งสมัยใหม่จะให้ผู้เล่นใช้ไม้ดันจานพลาสติคแบบมีด้ามจับเข้าไป ใกล้พื้นที่เป้าหมายให้มากที่สุด โดยผู้เล่นสามารถดุนจานของฝ่ายตัวเองชนฝ่ายตรงข้ามเพื่อให้กระดอนห่างจาก เป้าหมายไปได้

กีฬา นี้ได้รับการพัฒนาขึ้นราวปี 2000 และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหลายประเทศในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นกีฬาที่สามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัยหรือแม้กระทั่งคนพิการ กีฬานี้จึงกลายเป็นกิจกรรมที่แพทย์และผู้เชี่ยวชาญนิยมให้คนไข้ทำประกอบกับ การทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายด้วย

เนื่องด้วยความผิด ปกติของการเจริญเติบโตซึ่งทำให้คนแคระมีร่างกายเล็กกว่าคนทั่วๆ ไป รายละเอียดปลีกย่อยรวมถึงกติกาของกีฬาต่างๆ จึงต้องแตกต่างไปด้วยเช่นกัน

ในส่วนของกรีฑานั้น ประเภทลู่จะแข่งขันกันที่ระยะ 10, 20, 40, 60 และ 100 เมตร แถมพ่วงด้วยวิ่งผลัด 4 คูณ 100 เมตร และวิ่งผลัดข้ามรั้ว 4 คูณ 60 เมตร (เวลาแข่งขันจะตั้งรั้วบริเวณทางตรงของลู่ เมื่อไม้หนึ่งวิ่งไปจนครบระยะทาง ไม้สองที่อยู่อีกฝั่งจะวิ่งสวนทางกลับไป ทำเช่นนี้ไปจนครบ 4 คน)

ส่วนกรีฑาประเภทลาน นอกเหนือจากการพุ่งแหลน ขว้างจักร และทุ่มน้ำหนักตามปกติแล้ว ยังเพิ่มเติมวัตถุอื่นขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นขว้างลูกเทนนิส ขว้างลูกคริคเกต หรือขว้างจานร่อน

ขณะ ที่กีฬาว่ายน้ำจะแบ่งเป็น 3 ระยะหลักๆ คือ 25-50-100 เมตร (ยกเว้นเดี่ยวผสม 200 เมตร) โดยมีการชิงเหรียญทองพิเศษสำหรับเด็กๆ อายุไม่เกิน 10 ปี นั่นคือการว่ายตามด้านกว้างของสระแบบใช้โฟมและไม่ใช้โฟมช่วย

ในจำนวนกีฬาที่แข่งขันกันหลากหลาย บาสเกตบอลน่าจะเป็นกีฬาที่ "ท้าทาย" ผู้เข้าร่วมมากที่สุด เพราะทั้งขนาดของสนามและความสูงของแป้นจะยึดตามกฎของการแข่งขันโอลิ มปิคเกมส์ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

 

อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับกีฬาพาราลิมปิคเกมส์ซึ่งแบ่งประเภทและระดับของความพิการเพื่อ ให้การแข่งขันบริสุทธิ์ยุติธรรมที่สุด มหกรรมกีฬาคนแคระโลกก็จำเป็นต้องแบ่งกลุ่มผู้เข้าแข่งขันด้วยเช่นกัน เริ่มจากแบ่งรุ่นอายุเป็น 6, 8, 11, 13, 15, 17 ปี รุ่นโอเพ่น (ไม่จำกัดอายุ) และมาสเตอร์ส แต่ละรุ่นอายุก็จะจำกัดว่าสามารถแข่งกีฬาอะไรได้บ้าง เช่น อายุไม่เกิน 6 ปีแข่งได้เฉพาะวิ่ง 10 เมตร, ขว้างลูกเทนนิส, ขว้างจานร่อน และเคิร์ลลิ่งสมัยใหม่ (หลายประเทศจะจัดการแข่งขันภายในเพื่อคัดเลือกนักกีฬาลงแข่งขันระดับนานา ชาติก่อนด้วย)

นักกีฬาที่อายุ 18 ปีขึ้นไป ก็จะถูกแบ่งย่อยด้วย "ส่วนสูง" แทน แบ่งเป็น คลาสเอฟ 40 ชายต้องสูงไม่เกิน 130 เซนติเมตร ช่วงแขนยาวไม่เกิน 59 เซนติเมตร และส่วนสูงเมื่อยืดแขนสุดไม่เกิน 180 เซนติเมตร ส่วนหญิงต้องสูงไม่เกิน 125 เซนติเมตร ช่วงแขนยาวไม่เกิน 57 เซนติเมตร และส่วนสูงเมื่อยืดแขนสุดไม่เกิน 173 เซนติเมตร

และ คลาสเอฟ 41 ชายต้องสูงไม่เกิน 145 เซนติเมตร ช่วงแขนยาวไม่เกิน 66 เซนติเมตร หรือส่วนสูงเมื่อยืดแขนสุดไม่เกิน 200 เซนติเมตร อย่างใดอย่างหนึ่ง ขณะที่หญิงต้องสูงไม่เกิน 137 เซนติเมตร ช่วงแขนยาวไม่เกิน 63 เซนติเมตร หรือส่วนสูงเมื่อยืดแขนสุดไม่เกิน 190 เซนติเมตร อย่างใดอย่างหนึ่ง

เนื่องด้วยความผิดปกติทางร่าง กายของคนแคระเข้าข่ายความพิการในบางประเภท ทำให้นักกีฬาที่ร่วมแข่งขันเวิลด์ ดวอร์ฟ เกมส์ หลายคนเคยผ่านเวทีกีฬาคนพิการระดับโลกมาแล้ว เช่น เอเลนอร์ ซิมมอนด์ส เงือกสาววัย 14 ของทีมสหราชอาณาจักร เจ้าของ 2 เหรียญทองจากพาราลิมปิคเกมส์ ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อปีกลาย ซึ่งครั้งนี้ไม่ได้ลงแข่งขันว่ายน้ำ แต่จะร่วมทีมแข่งบาสเกตบอลแทน

แน่ นอนว่าสำหรับนักกีฬาแต่ละคน มหกรรมกีฬาคนแคระที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ย่อมมีความหมายแตกต่างกันออกไป ในหมู่นักกีฬาอายุน้อยๆ นั้นจะคิดถึงการมีส่วนร่วมและ "โอกาส" ของการเล่นกีฬากับคนแบบเดียวกันมากกว่า ขณะที่พวกโตๆ หรือ "มืออาชีพ" จะจริงจังกับการแข่งขันมากๆ

...เพราะมองว่านี่คือเวทีแสดงศักยภาพเชิงกีฬาของพวกเขาท่ามกลางสภาพแวดล้อมอันเท่าเทียมนั่นเอง!

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook