อาสาฯเพื่อน้อง ที่ บ้านครูน้อย
บ้านครูน้อย บ้านหลังเล็กๆ ที่ดูแลเด็กยากไร้และไร้โอกาสกว่า 120 ชีวิต ในวันนี้เต็มไปด้วยสีสันและรอยยิ้มสดใสของเยาวชนสองวัย
เมื่อพี่ๆ นิสิตใจดีจากฝ่ายพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์ องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลง กรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมกันปรับปรุงสนามเด็กเล่น พร้อมจัดเลี้ยงอาหารว่างมื้ออร่อย แลกกับรอยยิ้มอันแสนบริสุทธิ์ของน้องๆ
ทีมงานซิตร้ายังนำเสื้อผ้าและอุปกรณ์กันแดดส่วนหนึ่งที่ได้รับบริจาคจากโครงการ "ซิตร้ามั่นใจ 2 เด้ง ทำดีท้าแดด" มามอบให้เด็กๆ ด้วย
พี่ๆ ต่างกระจายกำลังจับจองเครื่องเล่นสีมอมแมม ลงมือจับแปรงจุ่มสี ระบายชิงช้า อุโมงค์ ม้าหมุน ไม้กระดานหก ให้ใหม่เอี่ยมอ่อง สีสันสดใส เอาไว้ให้น้องๆ ได้เล่นสนุกกันทุกวันหลังเลิกเรียน
นางผกาฉัตร เตชาบูรพานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาตลาดกลุ่มผลิตภัณฑ์บํารุงผิว บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า กิจกรรมที่บ้านครูน้อยในครั้งนี้ถือเป็นการประเดิมภารกิจการมอบความสุขด้วย การช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลนโอกาส ในครั้งนี้มีผู้บริจาคเสื้อผ้าและอุปกรณ์กันแดดมากกว่า 10,000 ชิ้น สิ่งของทั้งหมดจะมอบให้นิสิตนักศึกษาชมรมค่ายอาสาพัฒนาชนบททั้ง 5 มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อนำไปมอบให้ผู้ที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ของแต่ละมหาวิทยาลัยต่อไป
น้องอีฟ เจษฎา อารีการ เด็กในความดูแลของครูน้อยบอกว่า ขอบคุณพี่ๆ มากครับ ที่มาช่วยทำเครื่องเล่นให้ใหม่ ผมชอบการแบ่งปันแบบพี่น้อง ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ได้เห็นเพื่อนๆ น้องๆ เล่นเครื่องเล่นก็มีความสุข เราจะช่วยกันดูแลครับ
เช่นเดียวกับ น้องบุ้งกี๋ ประภาสิริ ดำสนิท กล่าวเสริมว่าเวลาเลิกเรียนหรือทำกิจกรรมเสร็จแล้วเราก็จะมานั่งเล่นในสวน กัน หนูชอบเครื่องเล่นค่ะ ตอนแรกมันเก่าแล้วสีมันก็ลอก แต่พอพี่ๆ มาช่วยทาสีและปรับปรุงพื้นที่ใหม่ก็ดูน่าเล่นขึ้น ขอบคุณน้ำใจจากทุกคนที่ฝากเสื้อผ้ามาให้หนูและน้องๆ ได้มีเสื้อผ้าใหม่ใช้กันด้วยค่ะ
ครูน้อย นวลน้อย ทิมกุล ผู้ก่อตั้งบ้านครูน้อย กล่าวถึงกิจกรรมในวันนี้ว่า ได้เห็นนิสิตจุฬาฯ และทางซิตร้าเข้ามาร่วมทำกิจกรรมในวันนี้ก็รู้สึกอบอุ่นว่าสังคมยังไม่ทอด ทิ้งเราและเด็กๆ ในขณะที่เขามีทางเลือกที่จะใช้ชีวิตกับของสวยๆ งามๆ แต่ก็ยังเลือกมาทำสิ่งดีๆ รวมทั้งแบ่งปันเสื้อผ้าให้เด็กในบ้าน รู้สึก มีความสุข
"ขอฝากถึงทุกคนให้ช่วยกันดูแลผู้ด้อยโอกาสในที่ต่างๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมาที่บ้านครูน้อยก็ได้ หากมีความตั้งใจอยากช่วยเหลือก็ไม่ต้องกลัวว่าสิ่งที่ทำจะเป็นของชิ้นเล็ก หรือชิ้นใหญ่ เพียงแต่ทำจากใจคนรับก็มีความสุขแล้ว"
นายศต พรรษ ปูชนียสกุล หรือ เก่ง นายก องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯ นิสิตชั้นปี 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่าฝ่ายพัฒนาสังคมและบำเพ็ญประโยชน์ มีทั้งหมด 7-8 ชมรม แต่ละชมรมจะออกค่ายที่แตกต่างกันไป อาจไปช่วยเหลือชาวเขาหรือช่วยทำห้องสมุดดินให้น้องๆ ปกติจะเน้นพื้นที่กันดาร เวลาที่ค่ายไหนต้องการความช่วยเหลือเรื่องเสื้อผ้า สิ่งของเครื่องใช้ เขาก็จะประสานงานมาทางเรา เราก็จะจัดเตรียมไว้ให้ บางทีเราสามารถนำเสื้อผ้าในส่วนนี้ไปช่วยเสริมให้ค่ายกลางได้เวลาเกิดภัย พิบัติในภาคต่างๆ เราพยายามแบ่งสันปันส่วน เพื่อช่วยเหลือทุกคนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ปุ๋ย น.ส.พิมพ์พจี มีแก้ว นิสิตชั้นปี 3 คณะสหเวชศาสตร์ ประธานฝ่ายวัสดุ กล่าวเสริมว่า การมาที่บ้านครูน้อยในวันนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมของฝ่ายพัฒนาสังคม และบำเพ็ญประโยชน์ ที่เพิ่งเริ่มทำให้กับชุมชนใกล้ตัวหรือบริเวณรอบๆ จุฬาฯ ในปีนี้ ซึ่งทำได้ถี่และสะดวกกว่าการออกค่ายต่างจังหวัดที่ทำกันมานานแล้วแต่จะทำได้ เฉพาะช่วงปิดเทอม
ต้าร์ นายธงชัยพัฒน์ สุเมธีวรคุณ นิสิตคณะวิทยาศาสตร์ ปี 4 ประธานฝ่ายพัฒนาสังคมและบำเพ็ญประโยชน์ กล่าวว่า วันนี้ถึงจะเหนื่อยและมือเปื้อนจากการทาสี แต่พอได้เห็นสีหน้าดีใจของน้องๆ หลังได้เล่นเครื่องเล่นที่ทาสีใหม่พวกเราก็รู้สึกพอใจ หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง
"ถ้าเราแบ่งปันกันตามกำลัง มีมากให้มาก มีน้อยให้น้อย แต่สิ่งที่เราให้นั้นพอมารวมๆ กันแล้วบางทีมันก็มากพอที่จะทำให้น้องๆ เติมเต็มได้ครับ
"เราโชคดีที่มีโอกาสที่ดีกว่าคนอื่น ผมอยากให้เราลดความเห็นแก่ตัวลง แล้วแบ่งปันให้คนอื่นบ้างครับ"