กักตัวช่วงโควิด-19 ขยะพลาสติกทะลักวันละ 6,300 ตัน จากบริการส่งอาหารออนไลน์

กักตัวช่วงโควิด-19 ขยะพลาสติกทะลักวันละ 6,300 ตัน จากบริการส่งอาหารออนไลน์

กักตัวช่วงโควิด-19 ขยะพลาสติกทะลักวันละ 6,300 ตัน จากบริการส่งอาหารออนไลน์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สั่งอาหารออนไลน์ หลังอยู่บ้านช่วงโควิด-19 ทำขยะพลาสติกเพิ่ม 6,300 ตันต่อวัน แต่มีเรื่องดีมลพิษทางอากาศลดลง

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เกิดปัญหาขยะหลายประเภทเพิ่มขึ้น โดยมีที่มาจาก 2 กลุ่มหลัก คือ

1. กลุ่มขยะจากการส่งอาหารออนไลน์ ผลจากมาตรการควบคุมโรค ทำให้ประชาชนอยู่บ้าน เลี่ยงการเดินทางจับจ่ายซื้อของ โดยประชาชนใช้วิธีสั่งอาหารให้พนักงานมาส่งที่บ้าน

ทำให้ปริมาณขยะจากฟู้ดเดลิเวอรี่ ประกอบด้วยถุงพลาสติก กล่องพลาสติก และพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง ไม่ว่าจะเป็นช้อน ส้อม ไม้จิ้ม เพิ่มขึ้น 15% หรือเพิ่มขึ้นเป็น 6,300 ตันต่อวัน จากปกติประเทศไทยผลิตขยะพลาสติก 2 ล้านตันต่อปี หรือประมาณ 1,500 ตันต่อวัน โดยเฉพาะในพื้นที่ กทม. เพิ่มขึ้นถึง 1,500 ตันต่อวัน และยังพบว่าปริมาณขยะเศษอาหารหรือขยะเปียก ถูกทิ้งปะปนมากับขยะทั่วไปมีปริมาณเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ดังนั้น จึงขอความร่วมมือประชาชนและผู้ประกอบการลดการใช้พลาสติกเท่าที่จำเป็น หรือปฏิเสธการใช้พลาสติกบางชนิด หรือนำกลับมาใช้ซ้ำ เพื่อลดการเพิ่มหรือสะสมของปริมาณขยะพลาสติกที่จะส่งผลต่อการกำจัดในอนาคต

2. ปริมาณขยะที่เกิดจากหน้ากากอนามัยใช้แล้ว ซึ่งถูกทิ้งอย่างถูกวิธีผ่านการทิ้งแบบคัดแยกขยะ มีจำนวนทั่วประเทศประมาณ 1.5 – 2 ล้านชิ้นต่อวัน โดยเฉพาะในพื้นที่ กทม. เพิ่มขึ้นถึง 150 ตันต่อวัน

ในส่วนที่ถูกทิ้งไม่ถูกวิธีปะปนอยู่กับประเภทอื่น จะสามารถก่อให้เกิดอันตรายจากการติดเชื้อได้ เนื่องจากหน้ากากอนามัยที่ถูกทิ้งนั้น เป็นขยะติดเชื้อหรือขยะมีพิษ จึงอยากขอให้ประชาชนคัดแยกการทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วออกจากขยะทั่วไป แล้วนำไปทิ้งในถังขยะสีแดง หรือถังขยะอันตราย เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปกำจัดด้วยการเผาผ่านเตาเผาชีวมวลที่มีระบบบำบัดมลพิษ มีอุณหภูมิความร้อนสูงถึง 1,000 องศาเซลเซียส

อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้ปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะปริมาณรถยนต์บนท้องถนนลดลง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook