อนุทิน ขวางแผนเข้า CPTPP ผวาคนไทยเข้าถึงยาลำบาก ลั่นได้ไม่คุ้มเสีย

อนุทิน ขวางแผนเข้า CPTPP ผวาคนไทยเข้าถึงยาลำบาก ลั่นได้ไม่คุ้มเสีย

อนุทิน ขวางแผนเข้า CPTPP ผวาคนไทยเข้าถึงยาลำบาก ลั่นได้ไม่คุ้มเสีย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ไม่สนับสนุนให้ไทยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงความเข้าใจและความก้าวหน้าหุ้นส่วนข้ามแปซิฟิก (CPTPP/ซีพีทีพีพี) ตามแผนการของรัฐบาล เพราะเกรงว่าอาจทำให้ไทยได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่ากับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะการเข้าถึงยาของคนไทยและการแพทย์

การเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นหลังจากนายอนุทินประชุมร่วมกับผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุข และผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เพื่อพิจารณาผลกระทบจาก CPTPP เมื่อช่วงเช้าวันนี้ (27 เม.ย.) 

รัฐมนตรีรายนี้ ยังสั่งให้ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขทำหนังสือชี้แจงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากประเทศไทยตัดสินใจเป็นสมาชิกของ CPTPP ให้คณะรัฐมนตรีทราบ โดยให้ระบุลงไปด้วยว่า กระทรวงสาธารณสุขไม่สนับสนุน

หวั่นยา-เวชภัณฑ์-เครื่องมือแพทย์ ราคาพุ่ง

นายอนุทิน ระบุอีกว่าตนกังวลต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบการผลิตยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ ซึ่งจะต้องนำมาใช้ดูแลรักษาชีวิต และสุขภาพของคนไทย ทั้งเรื่องผลกระทบต่อการผลิตยา ซึ่งเป็นความมั่นคงด้านสาธารณสุขไทย และตนจะแจ้งเรื่องนี้ให้กับที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 28 เม.ย. ทราบ แต่คาดการณ์ไม่ได้ว่าคณะรัฐมนตรีจะตัดสินใจอย่างไร

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า นายอนุทิน กล่าวในที่ประชุมด้วยว่าการจะแลกมาซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และการขยายตัวทางการค้า การส่งออก กับ ความมั่นคงของระบบสาธารณสุขไทย เป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่า และไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้ว่า การเข้าร่วมในข้อตกลง CPTPP ประเทศไทย จะได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์

สมาชิก CPTPP ส่วนใหญ่ไม่ใช่คู่ค้าสำคัญ

นายอนุทิน กล่าวในที่ประชุมอีกว่า ขณะนี้มีเพียง 11 ประเทศ เท่านั้นที่เป็นสมาชิก และส่วนใหญ่ไม่ใช่เป็นประเทศที่เป็นตลาดส่งออก ที่สำคัญของเรา ประกอบกับ มิติการค้าระหว่างประเทศ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมากพอสมควร ในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และหลังการระบาดจบลง ยังไม่มีข้อมูลว่าเหตุใดจึงต้องรีบเร่งพิจารณาในช่วงนี้

ด้านองค์การเภสัชกรรม กล่าวระหว่างการประชุมกับนายอนุทินอีกว่า หน่วยงานรู้สึกกังวลในหลายประเด็นหากไทยจะเข้าร่วม CPTPP โดยเฉพาะผลกระทบต่อการเข้าถึงยาของประชาชน และไทยอาจเสียประโยชน์ 3 ด้านได้แก่

  1. ด้านสิทธิบัตรและยา
  2. ด้านการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ เกิดการผูกขาดสายพันธุ์พืชเป็น 20-25 ปี
  3. และด้านจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ไทยไม่สามารถกำหนดมูลค่าและจะผ่อนผันได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook