ทำความรู้จักกับค่ายออนไลน์ พื้นที่ของนักต้านภัยไซเบอร์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา

ทำความรู้จักกับค่ายออนไลน์ พื้นที่ของนักต้านภัยไซเบอร์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา

ทำความรู้จักกับค่ายออนไลน์ พื้นที่ของนักต้านภัยไซเบอร์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชวนมาออกค่ายรูปแบบใหม่กับค่ายออนไลน์ที่ทันสมัยที่สุดแห่งยุค! “Young Safe Internet Leaders Cyber Camp ค่ายออนไลน์แกนนำเยาวชนพลเมืองอินเทอร์เนต” ที่รวมเด็กระดับมัธยมศึกษามาไว้มากกว่า 400 ชีวิต พร้อมกับระดมทีมผู้เชี่ยวชาญจากทุกแขนงบนโลกออนไลน์มานั่งแท่นเป็นที่ปรึกษาเพื่อเปลี่ยนให้ทุกคนกลายเป็นนักต้านภัยไซเบอร์ที่พร้อมจะวาดโลกออนไลน์ให้สร้างสรรค์กว่าที่เคยเป็นมา ควบคู่ไปกับการปูพื้นฐานให้พวกเขากล้าจะช่วยเหลือคนใกล้ตัวที่ตกเป็นเหยื่อบนโลกออนไลน์ให้รอดพ้นจากการถูกทำร้ายอย่างถูกวิธี

Young Safe Internet Leaders Cyber Camp จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ภายใต้การทำงานร่วมกันระหว่างดีแทค มูลนิธิอินเทอร์เนตร่วมพัฒนาไทย และ FabCafe Bangkok โดยมีสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และสำนักงานกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เป็นผู้สนับสนุนหลัก

เหตุผลโดนๆ ของการปักหมุดไปออกค่ายออนไลน์

ค่ายออนไลน์ Young Safe Internet Leaders Cyber Camp จะช่วยส่งเสริมทักษะความเป็นผู้นำ ให้ความรู้ด้านภัยร้ายในโลกออนไลน์ ช่วยเพิ่มทักษะให้สามารถใช้งานอินเทอร์เนตได้อย่างหลากหลายและสร้างสรรค์กว่าเดิมจนอาจจะต่อยอดไปสู่การสร้างรายได้บนโลกออนไลน์ได้อีกด้วย

เปิดค่าย Young Safe Internet Cyber Camp

ภายในค่ายออนไลน์  Young Safe Internet Cyber Camp เต็มไปด้วยกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย โดยที่ทุกกิจกรรมจะอัดแน่นทั้งความสนุก ครบทั้งสาระ มีทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติให้ได้ทดลองทำจริง อาทิ

  • Interactive online learning การเรียนผ่านรูปแบบออนไลน์กับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวิชา โดยนักเรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์ตอบโต้กับวิทยากรได้ ได้รับ feedback ทันที พร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเพื่อนร่วมค่ายได้ในช่วงเวลาเดียวกัน  เช่น  เรียนรู้วิธีการและเทคนิคการสร้าง AI Chatbot ด้วยโปรแกรม DialogFlow กับ คุณชิตพงษ์ กิตตินราดร จาก ChangeFusion หรือเรียนรู้พื้นฐานการสร้าง online content ตั้งแต่การกำหนดเรื่อง การเลือกประเด็น การกำหนดวัตถุประสงค์ จนถึงการเลือกวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมแก่ผู้รับสารกับคุณนภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์  บรรณาธิการข่าวออนไลน์ Workpoint News
  • Best Practices แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการรับมือกับภัยร้ายในโลกออนไลน์หลากหลายรูปแบบที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับโรงเรียนหรือชุมชนของตนเอง
  • Idea to action! การทำกิจกรรมโค้ชชิ่งและการติดตามผลทางระบบ Online Co-Working Space ที่ช่วยให้โค้ชและทีมนักเรียนสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อต่อยอดไอเดียพัฒนาโครงการให้เป็นจริง โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล และเห็นความก้าวหน้าโครงการได้จากแพลตฟอร์มเดียวกัน

เจาะลึก 3 ประเด็นหลักที่จะเปลี่ยน “เหยื่อ” ให้กลายเป็น “นักต้านภัยไซเบอร์”

นอกเหนือจากการพัฒนาทักษะความสามารถในการใช้เครื่องมือบนโลกออนไลน์แล้ว Young Safe Internet Cyber Camp ยังมาพร้อมกับ 3 ประเด็นหลักที่คัดมาแล้วว่าเป็นสิ่งที่เยาวชนควรรู้เท่าทันบนโลกออนไลน์เพื่อจะได้ใช้อินเตอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์ที่สุด รวมทั้งสามารถช่วยเหลือบุคคลรอบข้างที่ตกเป็นเหยื่อบนโลกออนไลน์ได้อย่างทันท่วงที

  1. ประเด็นแรกคือเรื่อง Diversity and Cyberbullying โดย แพทย์หญิงเบญจพร ตันตสูติ เจ้าของเพจ เข็นเด็กขึ้นภูเขา

จากการทำงานร่วมกัน ระหว่างดีแทคและคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการศึกษาวิจัยเรื่องการกลั่นแกล้งของนักเรียนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  พบว่าร้อยละ 30 ของนักเรียนถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์  ซึ่งกลุ่มนักเรียนที่ถูกรังแกมากที่สุด เป็นนักเรียนกลุ่ม LGBT หรือนักเรียนที่มีความหลากหลายทางเพศ  โดยสาเหตุหลักของการแกล้งหรือรังแกนั้น เกิดจาก "ความแตกต่าง" การเป็นคนกลุ่มน้อย ที่แตกต่างกับคนส่วนใหญ่ และเกิดการไม่ยอมรับ

Diversity and Cyberbullying  จึงเป็นวิชาที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหา ที่นอกเหนือจากเรื่องราวของการทำความเข้าใจเรื่อง Cyberbullying ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการถูกกลั่นแกล้ง  วิชานี้ได้หยิบเอาเรื่องราวของความแตกต่าง (Diversity) ซึ่งเป็นสาเหตหลักที่สำคัญ มีบทเรียนให้นักเรียนได้รู้จักตัวเอง พร้อมทั้งเรียนรู้คุณค่าของความแตกต่างที่เกิดขึ้น และยอมรับในความแตกต่างของกันและกัน ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งกันของนักเรียน ทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์ได้อย่างตรงจุดมากขึ้นด้วย

  1. ประเด็นที่สองคือเรื่อง Anatomy of Fake News  โดย คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์  พิธีกร รายการชัวร์ก่อนแชร์ อสมท.

Fake news เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ ความน่ากลัวของข่าวปลอมที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อบุคคลต่างๆมากมาย ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และสุขภาพ   ซึ่งนำไปสู่การก่อตั้ง "ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย" ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

Anatomy of Fake News  จะนำเสนอหลักการง่ายๆเบื้องต้นในการแยกแยะข่าวสารที่ได้รับบนโลกออนไลน์ โดยนักเรียนจะได้เรียนรู้ตั้งแต่วิธีการตรวจสอบข่าวปลอมเบื้องต้น  ตั้งแต่แหล่งที่มา ภาพถ่าย หรือแม้กระทั่งเจตนาของผู้สร้างข่าวปลอม  ซึ่งจะทำให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องข่าวปลอมมากขึ้น พร้อมทั้งรู้วิธีที่สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการยังยั้งข่าวปลอมที่เกิดขึ้นในสังคม ด้วยการเป็นผู้ที่รู้จักตรวจสอบข้อมูลข่าวสารก่อนเผยแพร่ และหากพบว่าเป็นข้อมูลที่ผิดก็จะไม่เผยแพร่ ไม่ส่งต่อข่าวปลอมนั้น

  1. ประเด็นที่สามคือเรื่อง Online Privacy and Sexual abuse โดย ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช และทีมงานจากคณะทำงานปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ในปัจจุบัน เด็กและเยาวชนมักจะเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้ง่าย  มีกลุ่มผู้ไม่หวังดีเปลี่ยนพฤติกรรมนำสื่อออนไลน์มาเป็นช่องทางในการล่อลวงผู้เสียหายมากขึ้น และเป็นปัญหาที่รุนแรงต่อเนื่องทั้งในไทยและต่างประเทศ  สำหรับประเทศไทย นายกรัฐมนตรีได้ตั้งคณะทำงานปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต หรือ ไทแคคขึ้น โดยร่วมมือกับสำนักงานสอบสวนกลาง สหรัฐอเมริกา หรือเอฟบีไอ เพื่อดำเนินการปราบปรามและส่งเสริมแนวทางให้สังคมได้ตระหนักถึงภัยของการล่วงละเมิดทางอินเตอร์เน็ต

Online Privacy and Sexual abuse เป็นวิชาที่จะช่วยให้เด็กและเยาวชนได้รู้จักการปกป้องและระวังรักษาข้อมูลส่วนบุคคลและความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์  ไม่ให้หลุดไปยังผู้ไม่หวังดี   พร้อมทั้งรู้เท่าทันการแสวงหาประโยชน์ทางเพศเด็กโดยใช้สื่อออนไลน์ และเรียนรู้กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงในระยะเวลาที่ผ่านมา รวมถึงวิธีการเก็บหลักฐานเพื่อแจ้งสำนักงานตำรวจ สามารถแนะนำให้การช่วยเหลือเพื่อนได้

หลังจากค่ายจบ แต่การฝึกยังไม่จบ เพราะจะมีการโค้ชออนไลน์ต่อเนื่องให้กับทีมนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกจากไอเดียโครงการที่น่าสนใจ ทำได้จริง และเป็นประโยชน์แก่ชุมชน วัตถุประสงค์หลักคือเพื่อเสริมสร้างศักยภาพแก่ทีมนักเรียนในการทำไอเดียนั้นๆ ให้เกิดขึ้นได้จริงภายในระยะเวลา 3 เดือน โดยทีมนักเรียนจะได้รับคำปรึกษาและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด พร้อมกับยังมี Safe Internet Talk เวทีทอล์คโชว์ของเด็กและเยาวชน  พื้นที่ที่เปิดโอกาสให้แสดงออกถึงไอเดียและความคิดเห็นของตัวเอง บอกเล่าประสบการณ์ พร้อมทั้งติดอาวุธทางความคิดสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์ และมีการเผยแพร่ผลงานบนช่องทางในสื่อชั้นนำ รวมถึงช่องทางของดีแทค และ http://awrd.com/en/ ซึ่งเป็นแพลทฟอร์มของกลุ่มคนรุ่นใหม่ทั่วโลกสำหรับเสนอไอเดียการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างสร้างสรรค์โดย FabCafe

นอกจากจะได้ความรู้แล้ว เมื่อนักเรียนเข้าเรียนในค่าย  Young Safe Internet Cyber Camp พร้อมผ่านการประเมินตามเงื่อนไขแต่ละวิชา ระบบจะมีการออกใบรับรอง (Certificate) หรือประกาศนียบัตรให้ด้วย ซึ่งสามารถใช้ประกอบในการทำแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)สำหรับเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้   อีกทั้งมี Online Community ผ่านทาง Social media  สร้างเครือข่ายผู้นำเยาวชนในภูมิภาคต่างๆและเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกในค่ายร่วมกันอีกด้วย

สำหรับเยาวชนที่พลาดการสมัครรอบที่ผ่านมาก็ไม่ต้องเสียใจไป เพราะในวันที่ 1 มิ .ย. 63 ที่จะถึงนี้ ดีแทค จะเปิดห้องเรียนออนไลน์อย่างเป็นทางการ เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจภัยร้ายบนโลกออนไลน์ รวมไปถึงร่วมติดสกิลดิจิทัล อย่าง Storytelling & Content Creator, Data Visualization, A.I Screen Fake Content, Board Game Development และ Chatbot ให้เยาวชนได้ร่วมพัฒนาความสามารถ และนำไปสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

รายละเอียดเพิ่มเติม http://www.SafeInternet.camp
#dtacSafeInternet #กักตัวเพลินๆเทิร์นโปรไม่รู้ตัว

(Advertorial)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook