UN เรียกร้อง รัฐบาลต้องซื่อสัตย์กับประชาชนในช่วงวิกฤติโควิด-19

UN เรียกร้อง รัฐบาลต้องซื่อสัตย์กับประชาชนในช่วงวิกฤติโควิด-19

UN เรียกร้อง รัฐบาลต้องซื่อสัตย์กับประชาชนในช่วงวิกฤติโควิด-19
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประชาชนต่างได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้าไม่ว่าจะเป็นผลกระทบเรื่องสุขภาพ ที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิต หรือผลกระทบต่อวิถีชีวิต ทั้งในด้านชีวิตครอบครัว การศึกษา วัฒนธรรม สิทธิพลเมือง และเศรษฐกิจ โรคโควิด-19 ไม่เพียงแต่ท้าทายระบบสาธารณสุขของประเทศเท่านั้น แต่รัฐบาลในหลายประเทศก็ใช้วิกฤติโรคโควิด-19 ท้าทายสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ด้วยเหตุนี้ คณะผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติ ด้านสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก (The United Nations Special Rapporteur on the Promotion and Protection of the Right to Freedom of Opinion and Expression หรือ UN Special Rapporteur) จึงได้เผยแพร่รายงานที่ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในช่วงการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 โดยมีเป้าหมายเพื่อปกป้องสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกของประชาชนทั้งในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการแพร่ระบาดของโรคในอนาคต ข้อเรียกร้องจาก  UN Special Rapporteur มีทั้งหมด 5 ข้อ ดังนี้

ประชาชนเข้าถึงข้อมูลที่รัฐบาลเป็นผู้จัดเก็บได้

รัฐบาลต้องซื่อสัตย์กับประชาชน โดยการให้ข้อมูลที่ตรงไปตรงมา ถูกต้อง และชัดเจน พร้อมทั้งให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่พวกเขาควรได้รับรู้ โดยไม่เลือกปฏิบัติกับประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ประชาชนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

รัฐบาลให้สิทธิ์ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการติดต่อสื่อสารเพื่อรับข่าวสารหรือเรียนรู้เรื่องวิกฤติสาธารณสุข และขั้นตอนที่จำเป็นในการป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัส รวมถึงป้องกันและดูแลผู้อื่นหากประชาชนเหล่านั้นเป็นเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์หรือผู้ดูแลผู้ป่วย

ปกป้องและส่งเสริมความเป็นอิสระของสื่อมวลชน

รัฐบาลต้องให้การส่งเสริมและปกป้องสื่อมวลชน ขณะเดียวกันต้องไม่เข้าไปแทรกแซงการทำงานและหน้าที่รับผิดชอบของสื่อมวลชนในการรายงานข่าว สื่อต้องมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก และผู้สื่อข่าวต้องไม่ได้รับการข่มขู่จากเจ้าหน้าที่ของรัฐจากการนำเสนอข่าว

ไม่บิดเบือนข้อมูลสาธารณสุข

รัฐบาลต้องสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการสร้างเครื่องมือเพื่อจัดการข้อมูลที่บิดเบือนหรือเฟคนิวส์ พร้อมกับใช้มาตรการยับยั้งการแบ่งปันหรือส่งต่อข้อมูลที่สร้างความเข้าใจผิด หรือสร้างความตื่นตระหนกในภาวะวิกฤติของโรคโควิด-19

การตรวจตราสาธารณสุข

รัฐบาลต้องทำการสอบสวนโรคในกรณีที่มีความจำเป็น ถึงแม้กฎหมายจะยืดหยุ่นมากพอที่จะให้อำนาจในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชนในช่วงภาวะวิกฤติ แต่กฎหมายไม่ได้ยืดหยุ่นมากพอที่จะละเลยดุลยพินิจของการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจตราเพื่อควบคุมโดยประชาชนไม่ยินยอม

ทั้งนี้ รัฐบาลต้องสร้างความเชื่อมั่นว่าจะไม่ใช้วิกฤติการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อลิดรอนสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกของประชาชน ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลต้องเคารพในศักดิ์ศรีของประชาชนทุกคนอย่างแท้จริง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook