ดูชัดๆ! มาตรฐานกลางการผ่อนปรนล็อกดาวน์เฟสแรก อนุญาตให้ขายเหล้าแบบซื้อกลับ
วันนี้ (1 พ.ค.) เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 6) ซึ่งใจความสำคัญคือการอธิบายมาตรการผ่อนปรนในบางสถานที่ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) มีมติให้เริ่มได้ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชนคือ การอนุญาตให้สามารถซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบนำกลับ แต่ห้ามดื่มที่ร้าน ซึ่งได้รับการยืนยันจากนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ที่ระบุในทำนองเดียวกันว่า เครื่องดื่มสุรา เบียร์ ไวน์ แม้จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ไม่ใช่สินค้าผิดกฎหมาย ไม่ใช่สินค้าต้องห้าม แปลว่าซื้อกันได้ขายกันได้ เพียงแต่เป็นห่วงว่าเมื่อดื่มแล้วเกิดการมั่วสุม ไม่เว้นระยะห่าง ดังนั้นถ้าเป็นการซื้อจากร้านแล้วกลับไปดื่มที่บ้านก็ไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่หากซื้อและดื่มในร้านถือเป็นความผิด
โดยเนื้อหาของข้อกำหนดดังกล่าวมีดังนี้
ด้วยเป็นการสมควรผ่อนคลายการบังคับใช้บางมาตรการในการป้องกันและการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามลำดับขั้นตอนการควบคุมโอกาสเสี่ยงของบุคคล สถานที่ และประเภทกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงตามหลักเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกและตามผลการประเมินสถานการณ์ของฝ่ายสาธารณสุข โดยรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายเศรษฐกิจ ฝ่ายผู้ประกอบการ และฝ่ายผู้บริโภค
แต่ยังคงให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคและคำแนะนำของทางราชการ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นติน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดเป็นการทั่วไปและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลาย ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 การผ่อนคลายให้ดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างได้
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการทำกิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต ตลอดจนด้านการออกกำลังกายหรือการดูแลรักษาสุขภาพอันเป็นการช่วยป้องกันโรคได้ทางหนึ่ง ภายใต้บังคับข้อกำหนดว่าด้วยการห้ามออกนอกเคหสถาน และภายใต้มาตรการป้องกันโรคและคำแนะนำของทางราชการให้สถานที่ สถานประกอบการหรือกิจกรรมซึ่งรัฐอนุญาตให้เปิดบริการหรือมีนโยบายสนับสนุนให้เปิดดำเนินการได้อยู่ก่อนแล้วตามข้อ 12 แห่งข้อกำหนด (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 เช่น ธนาคาร โรงงาน สถานีบริการเชื้อเพลิง บริการส่งสินค้าและอาหารตามสั่ง ยังคงเปิดดำเนินการต่อไปได้เช่นเดิม ส่วนสถานที่ สถานประกอบการหรือกิจกรรมใดซึ่งเคยมีข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งให้ปิดหรือจำกัดการดำเนินการชั่วคราวหรือเคยผ่อนผันโดยมีเงื่อนไขไว้ ในระยะแรกนี้ให้เปิดดำเนินการได้ทั่วราชอาณาจักรตามความสมัครใจและความพร้อม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นตันไป ดังต่อไปนี้
(1) กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต
ก. การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มในโรงแรม ท่าอากาศยาน สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง โรงพยาบาล ร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ รถเข็น หาบเร่ แผงลอย ซึ่งไม่รวมถึงสถานบริการ ผับ บาร์ ให้เปิดได้โดยอาจให้นำกลับไปบริโภคที่อื่น แต่หากเปิดให้ใช้บริการในสถานที่นั้นก็สามารถทำได้โดยต้องจัดระเบียบการเข้าใช้บริการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคและคำแนะนำของทางราชการ
สำหรับร้านอาหารหรือเครื่องดื่มซึ่งจำหน่ายสุรา ให้เปิดได้แต่ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน
ข. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้เฉพาะซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา สินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต และร้านขายปลีกธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ธนาคาร ที่ทำการหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจเท่านั้น ส่วนแผนกร้านอาหารให้เปิดได้เฉพาะการนำกลับไปบริโภคที่อื่น
ค. ร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดย่อม ร้านค้าปลีก/ค้าส่งชุมชน ตลาด ตลาดน้ำ และตลาดนัด ให้เปิดได้โดยต้องควบคุมทางเข้าออก จัดให้มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายผู้ให้ และผู้ใช้บริการ การเว้นระยะห่างในการเลือกสินค้าและการชำระราคา
ง. ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผมสำหรับบุรุษหรือสตรี ให้เปิดได้เฉพาะกิจกรรมสระ ตัด ชอยผม แต่งผม และต้องไม่มีผู้นั่งรอในร้าน
(2) กิจกรรมด้านการออกกำลังกายหรือการดูแลสุขภาพ
ก. โรงพยาบาล คลินิก สถานทันตกรรมหรือสถานพยาบาลทุกประเภท ที่จัดตั้งโดยชอบด้วยกฎหมาย
ข. สนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ ให้เปิดได้แต่ต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการแข่งขัน ในกรณีของสโมสร คลับเฮาส์ หรือร้านอาหารในบริเวณดังกล่าวให้ปฏิบัติตาม (1) ก.
ค. สนามกีฬาเฉพาะกีฬาประเภทกลางแจ้งและตามกติกาสากล ผู้เล่นต้องมีระยะห่างทางสังคมและไม่คลุกคลีกันอยู่แล้ว เช่น เทนนิส ขี่ม้า ยิงปืน ยิงธนู และต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการแข่งขัน ในกรณีของสโมสร คลับเฮาส์ หรือร้านอาหารในบริเวณดังกล่าวให้ปฏิบัติตาม (1) ก.
ง. สวนสาธารณะ ลาน-พื้นที่กิจกรรมสาธารณะ สถานที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา ลานกีฬา ให้เปิดได้เฉพาะพื้นที่โล่งแจ้งเพื่อการเดิน วิ่ง ขี่หรือปั่นจักรยาน หรือการออกกำลังกายด้วยวิธีอื่นเป็นส่วนบุคคล โดยไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการแข่งขัน การละเล่น การแสดง
จ. สถานที่ให้บริการดูแลรักษาสัตว์ สปา อาบน้ำ ตัดขน รับเสี้ยงหรือรับฝากสัตว์
ข้อ 2 ให้เจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ตามข้อ 1 (1) หรือ (2) ทุกประเภทมีหน้าที่รับผิดชอบการดูแลรักษาความสะอาดของสถานที่ ภาชนะและอุปกรณ์ที่ใช้ และจัดให้มีมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคม การสวมหน้ากากอนามัย การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดระบบอื่นๆ ให้เป็นไปตามคำแนะนำ เงื่อนไข และเงื่อนเวลาที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือทางราชการกำหนด เช่น การให้เข้าใช้บริการโดยนัดหรือแจ้งล่วงหน้า การไม่ให้ผู้ใช้บริการหลายคนรออยู่ในสถานที่เดียวกัน การจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการในแต่ละคราว และเวลาการเข้าใช้บริการ ทั้งนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเข้าตรวจและให้คำแนะนำ หรือตักเตือนห้ามปรามได้ตลอดเวลา หากพบว่ามีการฝ้าฝืนหรือเป็นอันตรายต่อการป้องกันการแพร่ของโรค ให้เสนอผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อสั่งปิดสถานที่นั้นเฉพาะราย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นตันไป
นอกจากนี้ ราชกิจจานุเบกษายังมีการเผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 2/2563 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ซึ่งมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แนบท้ายคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 2/2563 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต
ก. การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ในโรงแรม ท่าอากาศยาน สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง โรงพยาบาล ร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ รถเข็น หาบเร่ แผงลอย ซึ่งไม่รวมถึงสถานบริการ ผับ บาร์
มาตรการควบคุมหลัก
1) ทำความสะอาดพื้น พื้นผิวสัมผัสบ่อยๆ ทั้งก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
2) ให้ผู้ประกอบการ พนักงานบริการ ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า
3) ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
4) ให้เว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะ และระหว่างที่นั่ง รวมถึงระยะห่างระหว่างการเดิน อย่างน้อย 1 เมตร
5) ให้ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการ มิให้แออัด
มาตรการเสริม
1) มีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ พนักงานบริการ และผู้ใช้บริการ ตามขีดความสามารถ
2) ลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
3) งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในสถานที่จำหน่ายอาหาร
4) จัดให้มีพื้นที่รอคิวที่มีที่นั่งหรือยื่น ห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
5) อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความเหมาะสม หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ได้
หน่วยงานรับผิดชอบ
1) ศปก.จังหวัด, ศปก.อำเภอ, ศปก.ตำบล และอปท. มีหน้าที่กำกับดูแล
2) สธ. ออกคู่มือการปฏิบัติตามความเหมาะสม
3) ศปม. จัดกำลังสายตรวจร่วม ตำรวจ ทหาร สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจการประกอบการหรือการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด
ข. ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ให้เปิดได้เฉพาะซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา สินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต และร้านขายปลีกธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ธนาคาร ที่ทำการหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจเท่านั้น ส่วนแผนกร้านอาหารให้เปิดเฉพาะการนำกลับไปบริโภคที่อื่น
มาตรการควบคุมหลัก
1) ทำความสะอาดพื้น พื้นผิวสัมผัสบ่อยๆ ทั้งก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
2) ให้พนักงานและผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเสมอ
3) ให้มีการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
4) ให้เว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
5) ให้ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการมิให้แออัด หรือพิจารณากำหนดมาตรการลดเวลาในการใช้บริการให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
มาตรการเสริม
1) มีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ พนักงานบริการ และผู้ใช้บริการ ตามขีดความสามารถ
2) จัดให้มีพื้นที่รอคิวที่มีที่นั่งหรือยื่น ห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
3) อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ก็ได้
หน่วยงานรับผิดชอบ
1) ศปก.จังหวัด, ศปก.อำเภอ, ศปก.ตำบล และอปท. มีหน้าที่กำกับดูแลและออกคู่มือการปฏิบัติตามความเหมาะสมกับพื้นที่
2) ศปม. จัดกำลังสายตรวจร่วม ตำรวจ ทหาร สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจการประกอบการหรือการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด
ค. ร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดย่อม ร้านค้าปลีก/ค้าส่งชุมชน ตลาด ตลาดน้ำ และตลาดนัด
มาตรการควบคุมหลัก
1) ทำความสะอาดพื้น พื้นผิวสัมผัสบ่อยๆ ทั้งก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
2) ให้ผู้ประกอบการ ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเสมอ
3) ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
4) ให้เว้นระยะห่างของแผง หรือระยะนั่งหรือยืน หรือระยะห่างในการเลือกสินค้าและการชำระราคาห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
5) ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด หรือลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
มาตรการเสริม
1) ให้มีการควบคุมทางเข้าออก และมีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ และผู้ใช้บริการ ตามขีดความสามารถ
2) ไม่อนุญาตการให้บริการเครื่องเล่นสำหรับเด็ก
3) อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ก็ได้
หน่วยงานรับผิดชอบ
1) ศปก.จังหวัด, ศปก.อำเภอ, ศปก.ตำบล และอปท. มีหน้าที่กำกับดูแลและออกคู่มือการปฏิบัติตามความเหมาะสมกับพื้นที่
2) ศปม. จัดกำลังสายตรวจร่วม ตำรวจ ทหาร สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจการประกอบการหรือการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด
ง. ร้านเสริมสวย แต่งผม หรือตัดผม สำหรับบุรุษหรือสตรี (เฉพาะสระ ตัด ชอยผม แต่งผม)
มาตรการควบคุมหลัก
1) ให้ทำความสะอาดโดยการเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของร้าน อุปกรณ์ก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
2) ให้ช่างตัดผมและผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเสมอ
3) ให้มีการลงมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
4) ให้เว้นระยะห่างระหว่างเก้าอี้ตัดผม อย่างน้อย 1.5 เมตร
5) ให้พิจารณาควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการมิให้แออัด ด้วยการลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น และงดรอรับบริการภายในร้าน โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
มาตรการเสริม
1) มีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด ทั้งช่างตัดผม ผู้ช่วย และผู้ใช้บริการ ตามขีดความสามารถ
2) ให้ช่างตัดผมและผู้ช่วย (ถ้ามี) สวม Face Shield และเสื้อคลุมแขนยาวทุกครั้งที่ให้บริการ
3) ให้มีการเปลี่ยนผ้าคลุมตัดผมทุกครั้งที่ให้บริการ
4) จัดการให้มีการระบายอากาศภายในร้านที่ดี
5) อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ก็ได้
หน่วยงานรับผิดชอบ
1) ศปก.จังหวัด, ศปก.อำเภอ, ศปก.ตำบล และอปท. มีหน้าที่กำกับดูแลและออกคู่มือการปฏิบัติตามความเหมาะสมกับพื้นที่
2) ศปม. จัดกำลังสายตรวจร่วม ตำรวจ ทหาร สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจการประกอบการหรือการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด
2. กิจกรรมด้านการออกกำลังกายหรือการดูแลสุขภาพ
ก. สนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
มาตรการควบคุมหลัก
1) ให้ทำความสะอาดโดยการเช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์ พื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนและหลังการจัดกิจกรรม และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
2) ให้เจ้าหน้าที่ ผู้ร่วมกิจกรรม ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า
3) ให้ล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคอยู่เสมอ
4) ให้เว้นระยะการทำกิจกรรมอย่างน้อย ๑ เมตร
5) ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด หรือลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
มาตรการเสริม
1) มีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับพนักงาน และผู้ใช้บริการ ก่อนเข้าสถานที่
2) ต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการแข่งขัน
3) ร้านอาหารในสโมสร คลับเฮาส์ สนามฝึกซ้อมกอล์ฟ ให้ปฏิบัติตามมาตรการเสริมในข้อ 1. ก
4) อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ก็ได้
หน่วยงานรับผิดชอบ
1) ศปก.จังหวัด, ศปก.อำเภอ, ศปก.ตำบล และอปท. มีหน้าที่กำกับดูแลและออกคู่มือการปฏิบัติตามความเหมาะสมกับพื้นที่
2) ศปม. จัดกำลังสายตรวจร่วม ตำรวจ ทหาร สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจการประกอบการหรือการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด
ข. สนามกีฬาเฉพาะกีฬาประเภทกลางแจ้ง และตามกติกาสากล ได้แก่ เทนนิส ขี่ม้า ยิงปืน ยิงธนู
มาตรการควบคุมหลัก
1) ให้ทำความสะอาดโดยการเช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องเล่นออกกำลังกาย พื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนและหลังการจัดกิจกรรม และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
2) ให้เจ้าหน้าที่ ผู้ร่วมกิจกรรม ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า
3) ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
4) ให้เว้นระยะการทำกิจกรรมอย่างน้อย 1 เมตร
5) ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด หรือลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
มาตรการเสริม
1) มีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับพนักงาน และผู้ใช้บริการ ก่อนเข้าสถานที่
2) ต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการแข่งขัน
3) ร้านอาหารในสโมสร คลับเฮาส์ ให้ปฏิบัติตามมาตรการเสริมในข้อ 1. ก
4) อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ก็ได้
หน่วยงานรับผิดชอบ
1) ศปก.จังหวัด, ศปก.อำเภอ, ศปก.ตำบล และอปท. มีหน้าที่กำกับดูแลและออกคู่มือการปฏิบัติตามความเหมาะสมกับพื้นที่
2) ศปม. จัดกำลังสายตรวจร่วม ตำรวจ ทหาร สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจการประกอบการหรือการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด
ค. สวนสาธารณะ ลาน-พื้นที่กิจกรรมสาธารณะ สถานที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา ลานกีฬา (เฉพาะพื้นที่โล่งแจ้ง เพื่อการเดิน วิ่ง ขี่หรือปั่นจักรยาน หรือการออกกำลังกายด้วยวิธีอื่นเป็นส่วนบุคคล)
มาตรการควบคุมหลัก
1) ให้ทำความสะอาดโดยการเช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องเล่นออกกำลังกาย พื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนและหลังการจัดกิจกรรม และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
2) ให้เจ้าหน้าที่ ผู้ร่วมกิจกรรม ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า
3) ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
4) ให้เว้นระยะการทำกิจกรรมอย่างน้อย 2 เมตร
5) ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมมิให้แออัด หรือลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
มาตรการเสริม
1) มีมาตรการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ใช้บริการ ก่อนเข้าสถานที่ ตามขีดความสามารถ
2) งดจำหน่ายสินค้า งดรับประทานอาหารในสวนสาธารณะและสนามกีฬา
3) ต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการแข่งขัน การละเล่น การแสดง
4) อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ก็ได้
หน่วยงานรับผิดชอบ
1) ศปก.จังหวัด, ศปก.อำเภอ, ศปก.ตำบล และอปท. มีหน้าที่กำกับดูแลและออกคู่มือการปฏิบัติตามความเหมาะสมกับพื้นที่
2) ศปม. จัดกำลังสายตรวจร่วม ตำรวจ ทหาร สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจการประกอบการหรือการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด
3. อื่นๆ
ก. สถานที่ให้บริการดูแลรักษาสัตว์ สปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์
มาตรการควบคุมหลัก
1) ให้ทำความสะอาดโดยการเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของร้าน อุปกรณ์ก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
2) ให้ช่างตัดขนและผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเสมอ
3) ให้มีการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
4) ให้พิจารณาควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการมิให้แออัด ด้วยการลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น และงดรอรับบริการภายในร้าน โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
มาตรการเสริม
1) คัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด และงดให้บริการเจ้าของสัตว์หรือสัตว์ที่มีอาการป่วยทางเดินหายใจ
2) ให้ช่างตัดขนสัตว์และผู้ช่วย (ถ้ามี) สวม Face Shield ถุงมือ และเสื้อคลุมแขนยาวทุกครั้งที่ให้บริการ
3) อาจเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามตัวทางโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานในบางพื้นที่ก็ได้
หน่วยงานรับผิดชอบ
1) ศปก.จังหวัด, ศปก.อำเภอ, ศปก.ตำบล และอปท. มีหน้าที่กำกับดูแลและออกคู่มือการปฏิบัติตามความเหมาะสมกับพื้นที่
2) ศปม. จัดกำลังสายตรวจร่วม ตำรวจ ทหาร สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจการประกอบการหรือการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด
หมายเหตุ :
มาตรการควบคุมหลัก หมายถึง มาตรการที่รองรับตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ข้อ 11
มาตรการเสริม เป็นมาตรการเพิ่มเติมจากมาตรการควบคุมหลัก ที่ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบกิจการและผู้จัดกิจกรรม รวมถึงผู้ใช้บริการและผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อทำให้มาตรการการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
คู่มือการปฏิบัติ เป็นแนวทางการดำเนินการและเงื่อนไขในการประกอบกิจการและการจัดกิจกรรมของแต่ละพื้นที่ เพื่อดำรงมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรคโควิต-19 โดยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
อัลบั้มภาพ 7 ภาพ