ปลูกจิตสำนึก เด็กรักบ้านเกิด

ปลูกจิตสำนึก เด็กรักบ้านเกิด

ปลูกจิตสำนึก เด็กรักบ้านเกิด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สดจากเยาวชน

มูลนิธิ พัฒนาชีวิตชนบท ปลูกฝังจิตสำนึก "รักษ์สหกรณ์" แก่ลูกหลานหมู่บ้านสหกรณ์การเกษตร ในพื้นที่โครงการตามพระราชดำริ จ.เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

"หมู่บ้านสหกรณ์" เป็นโครงการจัดสรรที่ดินทำกินให้ราษฎรที่ยากจนตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชประสงค์เพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีสิทธิในที่ดินทำกินเป็นมรดกตกทอดไปชั่วลูกชั่วหลาน

เมื่อไม่นานนี้ ลูกหลานชาวหมู่บ้านสหกรณ์ 5 แห่งในจ.เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ หมู่บ้านสหกรณ์การเกษตรห้วยสัตว์ใหญ่ หมู่บ้านสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง หมู่บ้านสหกรณ์การเกษตรดอนขุนห้วย หมู่บ้านสหกรณ์ การเกษตรหนองพลับ และหมู่บ้านสหกรณ์การเกษตรกลัดหลวง จำนวน 178 คน เข้าร่วมอบรมในค่าย "รักษ์สหกรณ์" ซึ่งมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบทโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์จัดขึ้น

ค่ายรักษ์สหกรณ์เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ดำเนินการภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนา อาชีพหมู่บ้านสหกรณ์ตามดำริองคมนตรี พล.อ.อ. กำธน สินธวานนท์ ประธานกรรมการมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท เพื่อปลูกจิตสำนึกรักและหวงแหนสหกรณ์แก่สมาชิกสหกรณ์

ทั้งนี้ เพราะปัจจุบันพบว่ามีราษฎรส่วนหนึ่งไม่เห็นคุณค่าที่ดินทำกิน จึงจำเป็นต้องเร่งสร้างจิตสำนึกรักสหกรณ์ โดยเน้นไปที่กลุ่มเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของสหกรณ์ ที่ต้องเสริมสร้างให้เด็กๆ และเยาวชนลูกหลานสหกรณ์เหล่านี้ภาคภูมิใจในความเป็นชาวสหกรณ์ ด้วยการจัดกิจกรรมค่าย "รักษ์สหกรณ์" ณ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ขึ้นมา โดยชู "4 ร" เป็นกุญแจสำคัญในการปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์สหกรณ์ ได้แก่ รักถิ่น ฐานบ้านเกิด รักการอ่าน รักษ์สหกรณ์ และรักษ์สิ่งแวดล้อม-ภูมิปัญญา

"รักถิ่นฐานบ้านเกิด" เพราะเกิดและเติบโตอาศัยอยู่ในแผ่นดินพระราชดำริ จึงต้องรักษา หวงแหนแผ่นดินผืนนี้ไว้ให้เป็นมรดกตกทอดแก่รุ่นหลัง และต้องตอบแทนบุญคุณบ้านเกิด

"รักการอ่าน" ด้วยเพราะการอ่าน การจดบันทึก เป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมกระบวน การเรียนรู้ การใฝ่รู้ ใฝ่เรียน จะทำให้มีความรู้ติดตัวไปตลอดชีวิต

"รักษ์สหกรณ์" ลูกหลานสหกรณ์จะต้องสานฝัน สร้างอนาคตร่วมกันในการพัฒนาสหกรณ์ให้เข้มแข็ง น่าอยู่ อบอุ่น มีความรัก สามัคคี ผูกพัน เอื้อเฟื้อต่อกัน

"รักษ์สิ่งแวดล้อม-ภูมิปัญญา" เพื่ออนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืนรวมทั้งสืบสานภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ

พล.อ.อ.กำธน สินธวานนท์ กล่าวว่าการสร้างความมั่นคงในการอยู่ร่วมกันของคนในท้องถิ่นเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการรวมตัวกันเป็นสหกรณ์ เพราะจะทำ ให้เกิดอำนาจการต่อรองในการซื้อ-ขาย ซึ่งจะทำให้สหกรณ์มีความแข็งแกร่ง พึ่งตนเองได้ คนในท้องถิ่นจำเป็นต้องมีความสามัคคีร่วมมือกันอย่างจริงจัง ตั้งแต่ระดับเยาวชน ผู้ปกครอง ไปจนถึงผู้นำท้องถิ่น

วิธีที่เห็นผลและดีที่สุดคือการกระตุ้นให้เยาวชนรักถิ่นที่อยู่ของตนเอง ด้วยการจัดประกวดเรียงความและภาพวาด เพื่อให้เยาวชนดึงจุดเด่นและสิ่งที่ประทับใจในท้องถิ่นถ่ายทอดออกมาเป็นตัว หนังสือและภาพวาด เป็นการสร้างจิตสำนึกให้เด็กๆ รักบ้านเกิด

น้องปลา ด.ญ.สุมินดา ม่วงงาม ชั้นป.6 โรงเรียนบ้านป่าเด้ง หมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เล่าว่า ครอบครัวหนูมีกันอยู่ 6 คน คือพ่อแม่และลูกๆ อีก 4 คน ที่บ้านประกอบอาชีพเลี้ยงโคนมซึ่งมีอยู่ 10 ตัว นมที่ได้จะส่งให้ฟาร์มโคนมหนองโพ ราชบุรี และโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

"รู้สึกประทับใจมากที่ได้ร่วมกิจกรรมค่ายรักษ์สหกรณ์ เป็นครั้งแรกที่รู้ว่าบ้านที่ครอบ ครัวของหนูและเพื่อนๆ ที่เข้าค่ายเป็นที่ดินที่ในหลวงพระราชทานให้ชาวบ้านเป็นที่อยู่ที่ทำกิน และยังได้รู้ด้วยว่าเมื่อก่อนชาวบ้านที่นี่ยากจนแค่ไหน แต่ทุกวันนี้ทุกคนอยู่ดีกินดี มีอาชีพ เพราะพระมหากรุณาธิคุณของ ในหลวงนั่นเอง"

น้องปลายังได้เรียนรู้ว่าสหกรณ์ซึ่งเป็นโครงการตามพระราชประสงค์มีการพัฒนา ที่ดิน พัฒนาระบบชลประทาน พัฒนาอาชีพ มีการส่งเสริมสหกรณ์ การเข้าค่ายครั้งนี้จึงทำให้รักบ้านเกิด ไม่คิดจะทิ้งบ้านเกิดไปอยู่ที่ไหน

เช่นเดียวกับ น้องนุ่น ด.ญ.ณัฐพร เพชร นิล ชั้นป.6 โรงเรียนบ้านหุบกะพง กล่าวว่า กิจกรรมค่ายเยาวชนนี้ทำให้รู้ว่าในหลวงต้อง การให้ชาวบ้านอยู่ด้วยกันอย่างเป็นปึกแผ่นมี ความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน นอกจากนี้ยังได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ได้ทำกิจกรรม มากมาย ได้รู้วิธีการทำงานของสหกรณ์ว่าสิ่งสำคัญคือความสามัคคีของสมาชิกจึงจะทำให้ สหกรณ์อยู่ได้อย่างยั่งยืน

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook