สมโภชน์ อาหุนัย มหาเศรษฐีด้านพลังงาน ทุ่มงบ 250 ล้าน ตอบรับร่วมสู้วิกฤตโควิด-19

สมโภชน์ อาหุนัย มหาเศรษฐีด้านพลังงาน ทุ่มงบ 250 ล้าน ตอบรับร่วมสู้วิกฤตโควิด-19

สมโภชน์ อาหุนัย มหาเศรษฐีด้านพลังงาน ทุ่มงบ 250 ล้าน ตอบรับร่วมสู้วิกฤตโควิด-19
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้ (7 พ.ค.) นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จํากัด (มหาชน) หรือ EA เปิดเผยถึงรายละเอียดของจดหมายที่ตอบกลับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งส่งมาเพื่อขอความร่วมมือระดับชาติเพื่อเอาชนะโควิด-19 ไปด้วยกันทั้งประเทศ

ทั้งนี้ ซีอีโอของ EA ได้แนบเอกสารประกอบแบ่งเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย

(1) แผนภาพการคาดการณ์และประเมินสถานการณ์ในแต่ละกรณี 

(2) รายละเอียดโครงการกลุ่มช่วยกัน 

(3) รายละเอียดอุปกรณ์เครื่องกําจัดเชื้อโรคในระบบอากาศ 

(4) ความคืบหน้าโครงการที่ดําเนินการแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างดําเนินการ และแผนงานในอนาคต 

(5) รายละเอียดแอปพลิเคชัน “หมอชนะ”

พร้อมกันนี้ยังได้อธิบายถึงสิ่งที่ได้ดําเนินการไปแล้ว สิ่งที่อยู่ระหว่างดําเนินการ และความคืบหน้าของแผนงานในอนาคตดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1: เพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานให้บุคลากรทางการแพทย์

สิ่งที่ได้ดําเนินการไปแล้ว และสิ่งที่อยู่ระหว่างดําเนินการ

  • ร่วมจัดหาประกันที่มีวงเงินประกัน 25,000 ล้านบาท ให้กับบุคลากรทางการแพทย์จํานวน 50,000 คน
  • ติดตั้งอุปกรณ์ฆ่าเชื้อไวรัสในระบบปรับอากาศส่วนกลางให้กับโรงพยาบาลจํานวน 5 แห่ง และกําลังจะเข้าไปดําเนินการอีก 8 แห่ง โดยมีเป้าหมายให้ครบ 100 แห่งภายใน 2 เดือน
  • ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อปรับปรุงห้อง ICU ปกติให้เป็นห้องแรงดันลบ จํานวน 50 เตียง โดยมีเป้าหมาย 1,000 เตียงภายใน 2 เดือน
  • ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อปรับปรุงห้อง Cohort ให้เป็นห้องแรงดันลบจํานวน 1,000 เตียงภายใน 2 เดือน
  • ปรับปรุงรถพยาบาลเพื่อให้สามารถขนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อได้ จํานวน 200 คันภายใน 2 เดือน
  • สนับสนุนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการ วิจัยและผลิต แจกจ่ายชุดตรวจโควิดแบบรวดเร็วที่มีความแม่นยําสูง จํานวน 6,000 ชุด
  • ร่วมวิจัยและพัฒนาวัคซีนในการป้องกันโรคโควิด-19

แผนงานในอนาคต

  • ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อปรับปรุงห้องพักปกติ เช่นโรงแรม หรือ คอนโดมิเนียม ให้สามารถรองรับ กลุ่มผู้สงสัยติดเชื้อได้อย่างปลอดภัยจํานวน 1,000 ห้อง
  • ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อให้เตียงเคลื่อนย้ายในโรงพยาบาลสามารถขนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อจํานวน 500 เตียง
  • ผลิตหน้ากากแรงดันบวกเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้ในการป้องกันการติดเชื้อเวลาตรวจผู้ป่วยจํานวน 3,000 ชุด
  • ผลิตตู้ฆ่าเชื้อ UVC เพื่อใช้ในการฆ่าเชื้ออุปกรณ์ ของใช้ขนาดเล็ก รวมถึงช่วยฆ่าเชื้อหน้ากาก N95 และหน้ากากอนามัยให้กลับมาใช้ได้ใหม่จํานวน 1,000 ตู้
  • จัดหาเครื่อง RT-PCR พร้อมน้ํายาตรวจราคาถูก เพื่อให้สามารถตรวจได้อย่างทั่วถึงให้ได้มากถึง 10,000 ตัวอย่างต่อวัน
  • ผลิตเครื่องผลิตโอโซน จํานวน 500 เครื่อง 
  • ร่วมกับ สวทช. ทําวิจัยและพัฒนาสารเคลือบผิวสําหรับฆ่าเชื้อ แบคทีเรียและไวรัสเพื่อลดการติดเชื้อ

ส่วนที่ 2: เพิ่มศักยภาพในการป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้กับประชาชน

สิ่งที่ได้ดําเนินการไปแล้วและสิ่งที่อยู่ระหว่างดําเนินการ

  • แจกจ่ายหน้ากากผ้าและหน้ากากอนามัยจํานวน 100,000 ชิ้น
  • แจกจ่ายเจลแอลกอฮอล์จํานวน 50,000 ขวด
  • แจกจ่ายเครื่องกรองอากาศที่ฆ่าเชื้อไวรัสได้จํานวน 2,500 เครื่อง

มูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 150,000,000 บาท

แผนงานในอนาคต

  • ผลิตหน้ากากแรงดันบวกเพื่อให้ประชาชนใช้ในการเดินทาง หรือเมื่อต้องเข้าไปอยู่ในที่มีคนหนาแน่นจํานวน 7,000 ชุด
  • ผลิตกล่องฆ่าเชื้อ UVC จํานวน 3,000 กล่อง
  • ผลิตตู้ฆ่าเชื้อ UVC จํานวน 2,000 ตู้
  • ผลิตเครื่องผลิตโอโซน จํานวน 500 เครื่อ

มูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 100,000,000 บาท

มูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 250,000,000 บาท

ea-infographic-reply-letter

นอกจากนั้น ยังกล่าวถึงการระดมสมองร่วมกับหน่วยงานหลายฝ่ายรวมถึง กลุ่มช่วยกัน กลุ่ม Code for Public, Blockfint และกลุ่มผู้พัฒนาซอฟท์แวร์อิสระที่มีความเชี่ยวชาญ จึงได้ร่วมกันพัฒนาแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า “หมอชนะ” โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิตอล (สพร.) กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) และบริษัทเอกชนอีกหลายแห่ง

แอปพลิเคชัน “หมอชนะ” เป็นแอปพลิเคชันเพียงแอปพลิเคชันเดียว (จากแอปพลิเคชันที่ออกมามากกว่า 30 แอปพลิเคชันในขณะนี้) ที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยในการเปิดเมือง ทําให้ผู้ใช้ได้ทราบความเสี่ยงของตนเองจาก กิจกรรมและบุคคลที่ตนเองได้ใกล้ชิดในช่วงเวลา 14 วันที่ผ่านมา ซึ่งมีความแม่นยํามากกว่าการวัดอุณหภูมิร่างกายเพียงอย่างเดียว ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อจะต้องติดเชื้อมาช่วงระยะหนึ่งก่อนที่อาการไข้จะแสดงออกมา แอปพลิเคชัน “หมอชนะ” มีจุดเด่นจากการนํา Bluetooth มาทํางานร่วมกับ GPS ทําให้สามารถติดตามได้ว่าผู้ใช้ได้เคยใกล้ชิดผู้ป่วยหรือได้เดินทางไปยังสถานที่ที่มีความเสี่ยง และใกล้ชิดกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในระยะรัศมี 5 เมตร จึงทําให้สามารถคัดแยกผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อในวงที่แคบลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการรายงานผลเป็นค่าสีต่างๆ ในรูปของ Dynamic QR Code ผู้ใช้จะรู้ระดับความเสี่ยงของตัวเองและสามารถใช้แสดงตนก่อนเข้าไปยังสถานที่ต่างๆ และก่อนเข้ารับบริการทางการแพทย์ ทําให้บุคลากรการแพทย์มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นและสามารถสอบสวนการติดโรคได้รวดเร็วขึ้น

นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถรู้ระดับความเสี่ยงของสถานที่ก่อนที่จะเข้าสถานที่นั้นๆ (จากความหนาแน่นของผู้ที่เสี่ยงที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ ในขณะนั้น มากกว่านําข้อมูลการติดเชื้อในอดีตของพื้นที่นั้นมาแสดง ซึ่งไม่ได้บ่งบอกถึงความเสี่ยงของพื้นที่นั้นๆ อย่างแท้จริง) ทําให้ผู้ใช้แอปพลิเคชันระวังตัวและอาจจะตัดสินใจไม่เข้าไปในพื้นที่เสี่ยงนั้น อีกทั้งหากความเสี่ยงของผู้ใช้แอปพลิเคชันเปลี่ยนไปจากการที่ผู้ที่เคยใกล้ชิดมีความเสี่ยงมากขึ้นหรือเกิดการติดเชื้อ แอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ก็จะเตือนไปยังผู้ใช้โดยตรงทันที

แอปพลิเคชันมีการเก็บข้อมูลเท่าที่มีความจําเป็นเท่านั้นและเป็นแบบไม่ระบุตัวตนเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัว และมีความปลอดภัยภายใต้การดูแลข้อมูลของสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) ซึ่งข้อมูลถูกเก็บไว้เพียง 30 วัน และจะถูกทําลายทิ้งเมื่อวิกฤตผ่านพ้นไป

สำหรับนายสมโภชน์ อาหุนัย นั้น อยู่ในอันดับที่ 18 ในทำเนียบ 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2563 จากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์ ประเทศไทย ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 1,750 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 57,200 ล้านบาท

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook