ผลวิจัยเผย “ยาละลายลิ่มเลือด” ช่วยรักษาผู้ป่วยหนัก COVID-19 ได้

ผลวิจัยเผย “ยาละลายลิ่มเลือด” ช่วยรักษาผู้ป่วยหนัก COVID-19 ได้

ผลวิจัยเผย “ยาละลายลิ่มเลือด” ช่วยรักษาผู้ป่วยหนัก COVID-19 ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในการรักษาโรค COVID-19 ทั่วโลก อาการที่ดูจะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ได้แก่ อาการเลือดอุดตันในร่างกาย ซึ่งถือว่าเป็นอาการที่ซับซ้อนและรักษายาก แต่ล่าสุด ทีมวิจัยของโรงพยาบาลเมานต์ไซนาย สหรัฐอเมริกา ได้ทำการทดสอบ “ยาต้านการแข็งตัวของเลือด” หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ยาละลายลิ่มเลือด” ว่ายาตัวใดมีประสิทธิภาพมากที่สุด และจะต้องใช้ในปริมาณเท่าใด

ดร.วาเลนติน ฟัสเตอร์ ผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจและแพทย์หัวหน้าโรงพยาบาลเมานต์ไซนาย กล่าวกับสำนักข่าว CNN ว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดจะมีอาการดีขึ้นมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยานี้ และแนะนำว่าควรรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านเกล็ดเลือด

แม้ว่าผลการวิจัยจะยังไม่มีความชัดเจนมากพอที่จะเป็นคำแนะนำอย่างเป็นรูปธรรม แต่ทีมวิจัยก็ระบุว่า ผู้ป่วยที่มีอาการหนักจะมีแนวโน้มที่จะได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด

ฟัสเตอร์เล่าว่า ก่อนหน้านี้เขาและทีมแพทย์ต้องดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลเมานต์ไซนาย ตั้งอยู่ในนิวยอร์กซิตี้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาอย่างรุนแรง โดยในเดือนมีนาคม ผู้ป่วยบางคนได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดตามคำวินิจฉัยของแพทย์ ทว่าต่อมา ทีมแพทย์เริ่มคิดว่ายาหลายตัวจะสามารถให้ผลการรักษาที่แตกต่างกันหรือไม่ จากนั้นจึงเริ่มทดลองกับผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ และพบว่ามีเพียง 29% ของผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจและได้รับยาละลายลิ่มเลือดเสียชีวิต เมื่อเทียบกับผู้ป่วยอีก 63% ที่สวมเครื่องช่วยหายใจแต่ไม่ได้รับยา

ทีมวิจัยระบุในรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the American College of Cardiology ว่า ผลการวิจัยชี้ว่าการให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดอย่างเป็นระบบ อาจจะเกี่ยวข้องกับอาการที่ดีขึ้นของผู้ป่วยในโรงพยาบาล นอกจากนี้ ยังไม่พบว่ามีผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดมีปัญหาเรื่องอาการเลือดไหลไม่หยุด ซึ่งเป็นความเสี่ยงหนึ่งของยาชนิดนี้

อย่างไรก็ตาม ฟัสเตอร์กล่าวว่า ผู้ป่วยแต่จะคนมีความต้องการยาละลายลิ่มเลือดต่างชนิด ในปริมาณที่ต่างกัน ดังนั้น การศึกษาทั้งปริมาณและชนิดของยาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยเหตุนี้ ทีมวิจัยของเขาจึงศึกษายาชนิดต่างๆ ทั้งยาละลายลิ่มเลือดแบบดั้งเดิมอย่างเฮพาริน หรือยากลุ่มใหม่อย่างยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดกิน เช่น ดาบิกาทราน

แม้ว่าการศึกษาตัวยาต่างๆ จะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ และยังไม่มีความชัดเจนว่าเชื้อไวรัสส่งผลให้เลือดอุดตันได้อย่างไร แต่การอุดตันของเลือดที่เพิ่มขึ้นก็เป็นผลข้างเคียงของอาการอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส และฟัสเตอร์ก็ยืนยันว่า อาการเลือดอุดตันเป็นหนึ่งในปัจจัยที่นำไปสู่การเสียชีวิตของผู้ป่วยโรค COVID-19

ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ COVID-19 ได้ที่นี่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook