เหนือยังเผชิญพายุฤดูร้อน ขณะที่ กทม. รับมืออากาศร้อนสุด 39 องศา

เหนือยังเผชิญพายุฤดูร้อน ขณะที่ กทม. รับมืออากาศร้อนสุด 39 องศา

เหนือยังเผชิญพายุฤดูร้อน ขณะที่ กทม. รับมืออากาศร้อนสุด 39 องศา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมอุตุฯ เตือน ภาคเหนือยังคงเผชิญพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ลมแรง และมีลูกเห็บบางพื้นที่ ขณะที่กรุงเทพมหานคร รับมืออากาศร้อนจัด 39 องศา

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา “พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2563)” ฉบับที่ 16 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2563

ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอากาศร้อนโดยทั่วไปและมีอากาศร้อนในบางพื้นที่ และภาคเหนือยังคงมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบางพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้
ในช่วงวันที่ 13 พฤษภาคม 2563
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ และน่าน

ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ขณะที่พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอากาศร้อนโดยทั่วไปและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ของภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สำหรับภาคเหนือยังคงมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบางพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนภาคอื่นๆ มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงไว้ด้วย

สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่างใกล้กับหัวเกาะสุมาตรา

สำหรับกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีอากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook