สมช.แจง มาตรการผ่อนปรนเฟส 2 "โบท็อกซ์" ยังเปิดไม่ได้-รับพิจารณาจบเคอร์ฟิวตี 3

สมช.แจง มาตรการผ่อนปรนเฟส 2 "โบท็อกซ์" ยังเปิดไม่ได้-รับพิจารณาจบเคอร์ฟิวตี 3

สมช.แจง มาตรการผ่อนปรนเฟส 2 "โบท็อกซ์" ยังเปิดไม่ได้-รับพิจารณาจบเคอร์ฟิวตี 3
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) แถลงถึงการผ่อนคลายกิจกรรมกิจการ ระยะที่ 2 และข้อกังวลเกี่ยวกับการผ่อนคลายมาตรการในระยะที่สอง กรณีเมื่อปลดล็อกแล้วหากมีผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นภาครัฐได้มีมาตรการและการวางแผนล่วงหน้าไว้แล้ว โดยกล่าวว่าที่ประชุม ศบค.วานนี้ (15 พ.ค.) ได้มีการอนุมัติให้มีการผ่อนคลายในระยะที่ 2 เพิ่มมากขึ้น ซึ่งก่อนที่จะมีการเสนอผ่อนคลายก็ได้ดีการประเมินผลจากระยะที่หนึ่ง ซึ่งยอมรับว่าได้ทำไว้ค่อนข้างดี

ขณะที่ ตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงตามลำดับ รวมทั้งความร่วมมือจากประชาชนอยู่ในเกณฑ์สูงมากซึ่งเป็นผลดี ทำให้มีการผ่อนคลายในระยะที่ 2 เกิดขึ้น โดยออกเป็นข้อกำหนดฉบับที่ 7 เป็นที่เรียบร้อย

เลขาฯ สมช.กล่าวด้วยว่า การผ่อนคลายข้อกำหนดและมาตรการในระยะที่ 2 แม้จะเป็นกิจกรรมหรือกิจการที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง แต่เนื่องจากมีผลต่อเรื่องของเศรษฐกิจและสังคมค่อนข้างสูงมาก ซึ่งหมายความว่าเรากำลังเสี่ยง ที่จะให้มีความเสี่ยงมากขึ้นต่อความมั่นคงด้านสุขภาพ แต่เราก็พยายามจะให้ผ่อนปรนเพื่อให้การดำรงชีวิตมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เศรษฐกิจสามารถเดินหน้าได้ต่อไป 

ดังนั้นในทุกๆ ระยะที่มีการผ่อนปรน ไม่ว่าจะเป็นระยะที่ 2-3-4 ที่จะมีการดำเนินต่อไปก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามลำดับ แต่เป็นความเสี่ยงที่มีการใคร่ครวญแล้ว ว่าต่อให้มีความเสี่ยงก็ยังอยู่ในความสามารถที่เราจะควบคุมได้ มีประสิทธิภาพด้านสาธารณสุขยังคงมีขีดความสามารถที่จะรองรับความเสี่ยงได้ แต่ถ้าหากเราพบว่ากิจการใดหรือกิจกรรมใดก่อให้เกิดการแพร่เชื้อ สิ่งที่จะต้องทำคือ สำรวจว่ากิจกรรมเหล่านั้นแพร่เชื้อแล้วอาจจะต้องปิดเป็นจุดหรือปิดเป็นรายกิจกรรม ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของตัวเลขการแพร่เชื้อ

ดังนั้น กิจกรรมที่เปิดไปแล้วนั้นไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม 1 หรือ 2 ถ้าเกิดพบว่าเป็นต้นเหตุของการแพร่เชื้อก็สามารถเปลี่ยนได้หรือเพิ่มมาตรการเข้มข้นได้

เดินทางออกนอกพื้นที่ ต้องปฏิบัติตามมาตรการแต่ละจังหวัด

ส่วนการปลดล็อกระยะ 2 หลังวันที่ 17 พ.ค. นี้ ประชาชนยังสามารถเดินทางไปต่างจังหวัดเป็นปกติหรือไม่ หรือยังคงเข้าเงื่อนไขการกักตัวอยู่เช่นเดิม พล.อ.สมศักดิ์ กล่าวว่า มาตรการบังคับที่ออกมาควบคู่กับการผ่อนคลายในระยะที่ 2 นี้ ก็ยังคงใน 3 มาตรการหลักคือเรื่องการเดินทางเข้าราชอาณาจักรทั้งทางบก น้ำ อากาศ ยังคงมีความเข้มข้นเช่นเดิม การเดินทางเข้าประเทศก็ยังคงเข้มข้นในระดับเดิม หมายความว่าเรายังคงป้องกันไม่ให้การแพร่เชื้อเกิดจากการนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นการอนุญาตให้อากาศยานบินเข้าประเทศก็ยังคงเป็นไปด้วยความยากลำบาก ยังไม่อนุญาตให้เครื่องบินพาณิชย์เข้ามา

ประการที่สองคือการปรับระยะเวลาเคอร์ฟิว หรือการออกนอกเคหสถานได้ขยับเวลาออกอีก 1 ชั่วโมงคือระหว่างช่วงเวลา 23.00 น. ถึง 04.00 น. และที่สำคัญยังคงเชิญชวนให้ชะลอการเคลื่อนย้ายข้ามจังหวัดอยู่ แต่เข้าใจดีถึงความจำเป็นของประชาชนที่อาจต้องเคลื่อนย้ายและเดินทางข้ามจังหวัดก็ไม่ได้ถึงกับห้ามเด็ดขาดเพียงแต่เชิญชวนให้อยู่บ้านเพราะบ้านยังคงเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุด

ดังนั้นการเดินทางข้ามจังหวัดยังสามารถทำได้แต่ขอให้มีความจำเป็นอย่างแท้จริงและเมื่อไปถึงปลายทางก็ต้องดูอีกทีว่าปลายทางบางจังหวัดมีมาตรการที่เข้มข้นทุกคนก็ต้องปฏิบัติตามมาตรการของจังหวัดนั้นๆ กำหนด

รับข้อเสนอปรับเวลาเคอร์ฟิวถึงตี 3 ไว้พิจารณาในระยะต่อไป

ส่วนที่มีข้อเสนอแนะจากประชาชนว่าอยากให้ปรับเวลาเคอร์ฟิว เป็นช่วงเวลา 23.00-03.00 น. เพื่อความสะดวกในการประกอบอาชีพ เลขา สมช.กล่าวว่า เรื่องนี้ขอรับไว้เป็นข้อพิจารณาในระยะต่อไปก็คงจะพิจารณาลดระยะเวลาเคอร์ฟิวลง ก็ขอรับตัวเลขข้อเสนอนี้ไว้ รวมทั้งตัวเลขอื่นด้วย แต่ขออนุญาตดูสถานการณ์อีกครั้ง

เสริมความงามใบหน้ายังห้าม เหตุเสี่ยงติดเชื้อผ่านดวงตา

สำหรับข้อกำหนดที่อนุญาตให้คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม สถานเสริมความงาม ร้านทำเล็บสามารถเปิดได้แต่ทำได้เฉพาะเรือนร่างและผิวพรรณไม่รวมการเสริมความงามบริเวณใบหน้า ซึ่งแตกต่างจากการอนุญาตให้สามารถทำฟัน และทันตกรรมต่างๆ ได้ เลขา สมช.กล่าวว่า หลักการสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนปรนระยะที่ 1 หรือ 2 นั้นเรายอมเสี่ยงในบางเรื่องเพื่อชดเชยกับความสะดวกสบายของประชาชนและเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ดังนั้นกรณีที่อนุญาตให้สามารถทำฟันหรือทันตกรรมต่างๆ ได้เพราะถือว่าเป็นกิจกรรมที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ซึ่งก็ยอมแต่ก็ต้องมีมาตรการที่เข้มงวด แต่ในเรื่องการเสริมความงามเรายอมให้ทำเฉพาะที่ไม่ใช่ใบหน้า เหตุผลเพราะการเสริมความงามบริเวณใบหน้านั้นมีความเสี่ยงเพราะการติดเชื้อจากดวงตา และบริเวณอื่นๆ ที่อยู่บนใบหน้าก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ด้วยเหตุผลนี้เราจึงยังต้องคงมาจากการล้างมือไว้เป็นประจำและได้รับการบอกอยู่เสมอว่าอย่าเอามือมาจับใบหน้า และที่สำคัญในทุกๆ กิจกรรมจะสังเกตว่าจะมีมาตรการควบคุมคือการจำกัดใช้เวลาในกิจกรรมนั้นๆ ให้น้อยที่สุดเพราะถ้ามีเวลามากขึ้นโอกาสในการติดเชื้อก็จะมากขึ้นเช่นกัน

ส่วนจะมีการพิจารณาในเร็วนี้หรือในระยะที่ 3 หรือไม่ พล.อ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ก็ขอรับไว้พิจารณาในระยะที่ 3 และ 4 ต่อไป ซึ่งทั้งหมดขึ้นอยู่กับคณะแพทย์ว่าจะพิจารณาซึ่งถ้าคุณหมออนุญาตทางตนก็ไม่มีปัญหาอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม มีประชาชนแจ้งเข้ามา ว่าขณะนี้มีร้านค้าและร้านอาหารในซอยที่มีการขายของจำนวนมากแห่งหนึ่งที่มีชื่อเสียงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ไม่มีมาตรการป้องกันไม่มีการตั้งจุดตรวจอุณหภูมิและเว้นระยะห่าง ทาง ศบค.รัฐบาล และ กทม.จะเข้าไปตักเตือนและดำเนินการตรวจสอบอย่างไร เลขา สมช.กล่าวว่า อาจจะต้องขอชื่อร้านและพื้นที่บริเวณดังกล่าว เพราะขณะนี้มีเจ้าหน้าที่พร้อมเข้าไปตรวจสอบในทุกๆ มาตรการที่ออกไป ทั้งหน่วยงานด้านความมั่นคง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเจ้าหน้าที่จากกรุงเทพมหานครและเจ้าหน้าที่ของจังหวัดที่แต่งตั้งขึ้นมา

ในทุกมาตรการจะต้องมีคนเข้าไปตรวจแต่อาจจะไม่ทั่วถึงบ้างเพราะเจ้าหน้าที่มีจำนวนจำกัด ต้องขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนว่ามาตรการที่ออกไป ซึ่งวันเดียวกันนี้ นายกรัฐมนตรีจะลงนามออกมาตรการกำกับกิจกรรมหรือกิจการที่เราผ่อนคลายในเฟสที่ 2 ก็ขอให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจหากพบเรื่องความบกพร่องครั้งแรกอาจใช้วิธีการตักเตือนแต่หากยังไม่ปรับปรุงอีกก็เป็นไปได้ที่จะปิดเป็นจุดๆไป และถ้ากิจกรรมเหล่านั้นเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าทำให้การแพร่ระบาดของโรคเป็นวงกว้างก็จำเป็นจะต้องปิดกิจกรรม กิจการเหล่านั้นต่อไปจึงต้องขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

พล.อ.สมศักดิ์ กล่าวย้ำว่า ก่อนที่จะมีการพิจารณาว่าจะผ่อนปรนกิจการหรือกิจกรรมใดในแต่ละระยะ อย่างน้อยที่สุดเราก็หนึ่งใน 2 ปัจจัย คือสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศของเราเองซึ่งเราเทียบเคียงกับต่างประเทศด้วยเพราะมีหลายประเทศที่ผ่อนคลายเร็วแต่ก็ทำให้เกิดปัญหาตามมาเราจึงไม่ต้องการให้ประเทศไทยเกิดปัญหาเช่นเดียวกัน ดังนั้นการผ่อนปรนแต่ละระยะจะต้องทำด้วยความระวัง ที่สำคัญที่สุดทุกภาคส่วน จากประชาชนทุกคน และผู้ประกอบการผู้ประกอบกิจกรรม จะต้องให้ความร่วมมือถ้าความร่วมมือดีแม้กิจกรรมที่มีความเสี่ยงก็ยังจะสามารถนำมาพิจารณาให้เกิดความสมดุลได้ ดังนั้นประการสำคัญคือความร่วมมือจากประชาชนทุกคน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook