บวรศักดิ์ ยกวิทยานิพนธ์ ระบุพระราชดำรัส ถวายฎีกาต้องมีสำนึกผิดจริง ยัน พ.ร.ฎ.2457 ยังมีผลบังคับใช้

บวรศักดิ์ ยกวิทยานิพนธ์ ระบุพระราชดำรัส ถวายฎีกาต้องมีสำนึกผิดจริง ยัน พ.ร.ฎ.2457 ยังมีผลบังคับใช้

บวรศักดิ์ ยกวิทยานิพนธ์ ระบุพระราชดำรัส ถวายฎีกาต้องมีสำนึกผิดจริง ยัน พ.ร.ฎ.2457 ยังมีผลบังคับใช้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"บวรศักดิ์" ยืนยัน พ.ร.ฎ.2457 วิธีการทูลเกล้าฯถวายฎีกายังมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน ยกวิทยานิพนธ์ กรณีนิสิตจุฬาฯถวายฎีกา ระบุพระราชดำรัส "ที่จะถวายฎีกานั้น" จะต้องมีสำนึกผิดจริงๆทางใจด้วย

"บวรศักดิ์"ยันพ.ร.ฎ.2457ยังใช้อยู่

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ราชบัณฑิต เขียนบทความอีกครั้งโดยยืนยันว่าพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) วางระเบียบวิธีการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา พ.ศ.2457 ยังคงมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน หลังจากที่เขียนบทความ การใช้สิทธิทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาตามกฎหมายและประเพณีŽ ปรากฏว่านายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พรรค พท. ออกทักท้วงว่า พ.ร.ฎ.ดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้ว

ศ.ดร.บวรศักดิ์ระบุว่า ต้องเขียนบทความเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตามความเป็นจริง เพื่อไม่ให้การเมืองมาบิดเบือนความถูกต้อง โดยวิทยานิพนธ์ของคุณเพ็ญจันทร์ โชติบาล เรื่อง พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษของพระมหากษัตริย์ไทย ระบุไว้ชัดเจนว่า หลักเกณฑ์และวิธีการใดๆ ในการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ตาม พ.ร.ฎ.วางระเบียบวิธีการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา พ.ศ.2457 เท่านั้นที่ถูกยกเลิกไป เพราะมีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดไว้แล้ว คุณเพ็ญจันทร์ไม่ได้ระบุไว้ในที่ใดว่า พ.ร.ฎ.ดังกล่าวถูกยกเลิกไปทั้งฉบับ

ยกกรณีนิสิตจุฬาฯถวายฎีกา

ศ.ดร.บวรศักดิ์ระบุว่า มีวิทยานิพนธ์อีกเล่มของคุณวรรธนวรรณ ประพัฒน์ทอง เรื่อง พระราชอำนาจในการพิจารณาฎีการ้องทุกข์ ยืนยันไว้ในหลายที่ว่า พ.ร.ฎ.วางระเบียบวิธีการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา พ.ศ.2457 ยังคงใช้บังคับอยู่ นอกจากนี้ยังระบุถึงกรณีฎีกานิสิต จุฬาฯ ไว้ ความดังนี้

"กรณีของฎีกานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ.2506 นั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีคำสั่งลงโทษนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ก่อเรื่องวิวาทร้ายแรงระหว่างนิสิตต่างคณะ โดยการไล่ออกและพักการศึกษาครั้งนั้น เป็นเรื่องที่เป็นกรณีที่รุนแรงระหว่างนิสิตกับทางมหาวิทยาลัย ซึ่งในขณะนั้นนายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งอธิการบดี ความรู้สึกที่ไม่ดีเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะก่อตัวเป็นความแตกร้าวระหว่างประชาชนกับรัฐบาล เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงดนตรีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวันที่ 20 กันยายน ขณะที่เสด็จออกจากประตูพระตำหนักจิตรลดารโหฐานนั้น นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์จำนวน 9 คน ได้เข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษแทบพระบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"

มีพระราชดำรัส"ต้องสำนึกผิดด้วย"

ในวิทยานิพนธ์ระบุว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระมหากรุณาธิคุณรับฎีกา และมีพระราชดำรัสว่า ในการที่จะถวายฎีกานั้น จะต้องมีความสำนึกผิดจริงๆ ทางใจด้วย ต้องยอมรับว่าที่ได้กระทำไปแล้วเป็นความผิดจริง จึงจะอภัยกันได้ มิใช่เป็นการถวายฎีกาแต่เพียงลายลักษณะอักษร

"เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามหมายกำหนดการแล้ว มีพระราชดำรัสเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ที่ประชุมฟังเกี่ยวกับที่นิสิตทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา และมีพระราชดำรัสว่า ฎีกานี้นิสิตทั้งหลายที่ถูกทำโทษเขียนมารับว่าทำผิดจริง การรับว่าทำผิดนี้แสดงว่าเขารู้ตัวว่าผิด คนเราทำผิดครั้งเดียวนับว่าเก่ง นิสิตพวกนี้ไม่เคยบอกว่าทำผิดมาก่อน การที่เขาทำผิดและฎีกามาบอกในวันนี้ จึงอยากจะให้อธิการบดีและคณาจารย์อภัยเขาเสีย เนื่องในงานวันนี้"

"ด้วยพระราชดำรัสดังกล่าวนี้เอง ทำให้อธิการบดีรับสนองพระราชประสงค์ และประกอบพิธีลดโทษนิสิตเหล่านั้น โดยให้ทุกคนปฏิญาณต่อหน้าอาจารย์ แล้วคืนสภาพแห่งความเป็นนิสิตอีกครั้ง"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook