ลัทธิบูชาตัวบุคคล อย่าอินเกิน! ย้อนดูการโค่นอนุสาวรีย์ผู้นำ เมื่อชาตินิยมไม่ช่วยปากท้อง

ลัทธิบูชาตัวบุคคล อย่าอินเกิน! ย้อนดูการโค่นอนุสาวรีย์ผู้นำ เมื่อชาตินิยมไม่ช่วยปากท้อง

ลัทธิบูชาตัวบุคคล อย่าอินเกิน! ย้อนดูการโค่นอนุสาวรีย์ผู้นำ เมื่อชาตินิยมไม่ช่วยปากท้อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ลัทธิบูชาบุคคล (cult of personality) เกิดขึ้นเมื่อใช้การโฆษณาชวนเชื่อเพื่อสร้างภาพลักษณ์อุดมคติ วีรกรรม และ น่าเคารพบูชา มักผ่านการประจบสอพลอโดยปราศจากข้อสงสัยซึ่งปกติรัฐเป็นผู้ดำเนินการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ ที่มักจะมีการสร้างอนุสาวรีย์ระหว่างที่ผู้เผด็จการยังมีชีวิตอยู่ซึ่งต่างกับอนุสาวรีย์ของบุคคลสำคัญของชาติที่จะสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นภายหลังที่บุคคลสำคัญนั้นๆ ได้สิ้นชีวิตไปแล้ว

ตัวอย่างของอนุสาวรีย์ของจอมเผด็จการที่สร้างขึ้นระหว่างที่ตนเองยังอยู่ในอำนาจแต่ถูกรื้อถอนหรือทำลายนั้นมีมากมายเหลือเกิน อาทิ อนุสาวรีย์ของเลนิน, สตาลิน แห่งรัสเซีย โมฮัมมาร์ กัดดาฟี แห่งลิเบีย ซัดดัม ฮุสเซน แห่งอิรัก รวมทั้งเหมา เจ๋อตง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย

อนุสาวรีย์ของเหมา เจ๋อตง ซึ่งมีมากกว่า 2,000 แห่งทั่วประเทศจีนนั้น เป็นตัวอย่างของลัทธิบูชาบุคคลอันดับหนึ่งของโลก ครั้นเหมา เจ๋อตงเสียชีวิตลงเมื่อ พ.ศ. 2519 อนุสาวรีย์ของเขาก็ค่อยๆ ถูกรื้อถอนออกไปส่วนใหญ่มักจะทำกันเวลากลางคืน ผู้เขียนเคยถามถึงอนุสาวรีย์ของเหมา เจ๋อตง ที่ตั้งตระหง่านอยู่หน้ามหาวิทยาลัยปักกิ่งที่ผู้เขียนเคยพบและถ่ายรูปด้วยเมื่อคราวไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2522 ก็ได้คำตอบจากอาจารย์ชาวจีนแบบอ้อมแอ้มว่าเอาไปซ่อม

เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว อนุสาวรีย์ขนาดยักษ์สูง 37 เมตร ทาสีทองของประธานเหมา เจ๋อตง มีมูลค่าการก่อสร้างสูงถึงเกือบ 3 ล้านหยวน หรือประมาณ 17 ล้านบาท ที่สร้างขึ้นโดยใช้เงินจากบรรดานักธุรกิจท้องถิ่นและชาวบ้าน ซึ่งตั้งอยู่กลางทุ่งนาในเขตตงซือ มณฑลเหอหนาน ขณะที่เพิ่งสร้างเสร็จเมื่อไม่กี่วันก่อนเพราะถูกรื้อถอนจากพื้นที่ชนบทของจีน โดยเจ้าหน้าที่ของหมู่บ้านที่ตั้งอนุสาวรีย์อ้างว่า การสร้างอนุสาวรีย์ดังกล่าวไม่ได้รับความเห็นชอบจากทางการ และไม่ได้ขึ้นทะเบียน แต่โดยความจริงแล้วมณฑลเหอหนานเป็นศูนย์กลางการเกิดทุพภิกขภัยในช่วง พ.ศ. 2501-2505 ซึ่งเป็นผลจากนโยบาย “การก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่” ที่จะให้ชาวนาจีนผลิตเหล็กกล้ากันเองโดยมีเป้าหมายที่จะผลิตให้ได้มากกว่าประเทศอังกฤษขณะนั้น แต่ก็ล้มเหลว ทรัพยากรถูกทุ่มเทไปสูญเปล่าและผู้คนต้องล้มตายไปด้วยความอดอยากหลายล้านคนเลยทีเดียว อันเป็นความผิดพลาดครั้งมโหฬารของเหมา เจ๋อตง

AFPอนุสาวรีย์เหมา เจ๋อตง ทาสีทอง ที่ถูกรื้อ

ที่ประเทศนอร์ทมาซิโดเนีย เดิมเรียกชื่อว่า มาซิโดเนีย เป็นรัฐอิสระบนคาบสมุทรบอลข่านในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนหน้านี้เป็นดินแดนส่วนทางใต้สุดของประเทศยูโกสลาเวีย ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 ดินแดนส่วนนี้ได้แยกตัวออกมาตั้งประเทศใหม่ชื่อ “สาธารณรัฐสังคมนิยมมาซิโดเนีย” และมีการยกเอาพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ผู้เป็นอดีตจักรพรรดิผู้เกรียงไกรของกรีซเป็นสัญลักษณ์ โดยการสร้างอนุสาวรีย์ขนาดมหึมาของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชขี่ม้าถือดาบสั้น สูง 11 เมตร หนัก 40 ตัน ไว้กลางเมืองหลวงสโกเปียของประเทศ

AFPอนุสาวรีย์พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชที่นอร์ทมาซิโดเนีย ซึ่งก็ต้องถูกรื้อ

แต่ถูกประเทศกรีซคัดค้านชื่อประเทศใหม่นี้ เนื่องจากในประเทศกรีซก็มีดินแดนชื่อมาซิโดเนียอยู่ทางด้านเหนือของประเทศติดกับประเทศมาซิโดเนีย และพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชก็เป็นชาวกรีก ส่วนดินแดนมาซิโดเนียที่อยู่ทางตอนเหนือของแคว้นมาซิโดเนียนั้นเป็นที่อยู่ของชาวสลาฟซึ่งอพยพมาทีหลัง

ดังนั้น ประเทศกรีซจึงคัดค้านทั้ง 2 ประเด็น คือ ชื่อประเทศมาซิโดเนีย และสัญลักษณ์คือพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ไม่ยอมรับรองประเทศมาซิโดเนียอยู่ร่วม 30 ปี มิหนำซ้ำยังคัดค้านการขอเข้าเป็นสมาชิกองค์การนาโต และสหภาพยุโรปของมาซิโดเนียอีกด้วย ซึ่งมาซิโดเนียปรารถนาจะเข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศทั้งสองแห่งนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การนาโตจะนำมาซึ่งความมั่นคงปลอดภัย และการเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปเป็นโอกาสที่จะนำมาซึ่งความมั่งคั่งของประเทศ แต่การที่ถูกกรีซคัดค้านทำให้มาซิโดเนียต้องคอยค้างเติ่งถึงเกือบ 30 ปีทีเดียว

จนกระทั่งในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561 รัฐบาลมาซิโดเนียและรัฐบาลกรีซได้บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นเพื่อยุติข้อพิพาทดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศมาซิโดเนียได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น สาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนีย

ครับ! อนุสาวรีย์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชของมาซิโดเนียก็ต้องรื้อสิครับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook