นักวิจัยสหรัฐเฮ! ลิงไม่ติดโควิด-19 หลังฉีดวัคซีนต้นแบบ ลุยพัฒนาสร้างภูมิคุ้มกันมนุษย์

นักวิจัยสหรัฐเฮ! ลิงไม่ติดโควิด-19 หลังฉีดวัคซีนต้นแบบ ลุยพัฒนาสร้างภูมิคุ้มกันมนุษย์

นักวิจัยสหรัฐเฮ! ลิงไม่ติดโควิด-19 หลังฉีดวัคซีนต้นแบบ ลุยพัฒนาสร้างภูมิคุ้มกันมนุษย์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิจัยสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ผลการทดลองเกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในลิง ซึ่งเผยแพร่ในวารสาร Science วานนี้ (20 พ.ค.) แสดงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันเป็นครั้งแรกว่า ลิงที่หายป่วยจากโรคโควิด-19 อาจมีภูมิคุ้มกันการติดเชื้อซ้ำสอง ซึ่งนับเป็นสัญญาณที่ดีว่า วัคซีนที่กำลังมีการพัฒนากันอยู่นั้นอาจประสบความสำเร็จในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้

ที่ผ่านมา แม้บรรดานักวิทยาศาสตร์จะตั้งสมมติฐานว่า แอนติบอดีที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองต่อไวรัสโควิด-19 จะเป็นภูมิคุ้มกันการติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำได้ แต่ก็แทบไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนที่จะสนับสนุนสมมติฐานดังกล่าว

ดร.แดน บารอช นักวิจัยของศูนย์วิจัยไวรัสวิทยาและวัคซีน ที่ศูนย์การแพทย์เบธ อิสราเอล ดีคอนเนส แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่า การค้นพบดังกล่าวถือเป็นข่าวดีมากที่บ่งชี้ว่า ลิงสามารถพัฒนาภูมิคุ้มกันตามธรรรมชาติ ซึ่งจะป้องกันการติดเชื้อซ้ำ

ทั้งนี้ นักวิจัยหลายคณะได้เปิดเผยรายงานที่ระบุว่า วัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 จะมีประสิทธิภาพในการปกป้องสัตว์จากการติดเชื้อดังกล่าว

ในการวิจัยครั้งแรกนั้น คณะนักวิจัยได้ทำให้ลิงจำนวน 9 ตัวติดเชื้อโควิด-19 และหลังจากที่ลิงเหล่านั้นหายป่วยจากการติดเชื้อ นักวิจัยก็ทำให้ลิงเหล่านั้นติดเชื้ออีกเป็นครั้งที่ 2 แต่ลิงเหล่านั้นกลับไม่ได้ล้มป่วยแต่อย่างใด

ส่วนในการทดลองครั้งที่ 2 นั้น ดร.บารอชและคณะได้ทำการทดลองใช้วัคซีนต้นแบบ 6 ชนิดกับลิงจำนวน 25 ตัว เพื่อดูว่าแอนติบอดีที่สร้างขึ้นนั้นสามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้หรือไม่ หลังจากนั้นก็จัดการทำให้ลิงเหล่านั้นติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งผลปรากฏว่า ลิงที่ถูกควบคุมทั้งหมดมีปริมาณไวรัสอยู่ในระดับสูงทั้งในจมูกและปอด แต่ในลิงที่ได้รับวัคซีนนั้น คณะนักวิจัยพบว่ามีระดับการสร้างภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นอย่างมาก และลิงจำนวน 8 ตัวที่ได้รับวัคซีน สามารถป้องกันการติดเชื้อได้อย่างสมบูรณ์

ดร.บารอช กล่าวว่า ข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นความคืบหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่น่ายินดี แม้ไม่ได้พิสูจน์ว่ามนุษย์จะสามารถพัฒนาภูมิคุ้มกันได้หรือไม่ หรือภูมิคุ้มกันนั้นจะอยู่ได้นานเพียงใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook