สนามแม่เหล็กโลกเหนืออเมริกาใต้-แอฟริกา "อ่อนแรง" จับตาสัญญาณขั้วโลกพลิกกลับ

สนามแม่เหล็กโลกเหนืออเมริกาใต้-แอฟริกา "อ่อนแรง" จับตาสัญญาณขั้วโลกพลิกกลับ

สนามแม่เหล็กโลกเหนืออเมริกาใต้-แอฟริกา "อ่อนแรง" จับตาสัญญาณขั้วโลกพลิกกลับ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

องค์การอวกาศยุโรป (อีซา) โพสต์ลงเว็บไซต์ว่า สนามแม่เหล็กโลกเหนือพื้นที่ตั้งแต่ทวีปอเมริกาใต้จนถึงแอฟริกากำลังอ่อนแรงลงเรื่อยๆ หรือเรียกว่า ความผิดปกติในแอตแลนติกใต้ 

สนามแม่เหล็กโลกมีความสำคัญกับชีวิตทุกชนิดบนโลก เพราะทำหน้าที่ป้องกันรังสีอันตรายจากอวกาศและมวลพลังงานที่ดวงอาทิตย์ปล่อยออกมา

แต่สนามแม่เหล็กที่อ่อนแรงในพื้นที่ดังกล่าวอ่อนแรงลงอย่างหนักโดยเฉพาะใน 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนักวิจัยหลายคนกำลังจับตาว่านี่จะเป็นสัญญาณของการพลิกกลับของขั้วโลก (Pole Reversal) ที่ขั้วเหนือและขั้วใต้สลับที่กันหรือไม่ ซึ่งปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นครั้งล่าสุดเมื่อ 780,000 ปีก่อน

ความผิดปกติดังกล่าว ยังสร้างการรบกวนต่อดาวเทียมและยานอวกาศอื่นๆ ที่โคจรผ่านพื้นที่ดังกล่าว จนทำให้อุปกรณ์หลายชิ้นเกิดปัญหาหรือขัดข้อง

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ถ้าหากขั้วโลกจะสลับจริง อาจเกิดขึ้นในอีกหลายพันปีข้างหน้า และการที่สนามแม่เหล็กอ่อนแรงลง ไม่ได้แปลว่าสนามแม่เหล็กจะหายไป คือยังมีอยู่ แต่ไม่ได้แข็งแรงเท่าเดิมเท่านั้นเอง

ส่วนสัตว์ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการขั้วโลกที่สลับที่กัน ก็คือนก เต่า และสัตว์อื่นๆ ที่ใช้สนามแม่เหล็กโลกนำทาง  ส่วนเข็มทิศก็จะชี้ไปทางทวีปแอนตาร์กติกา หรือขั้วโลกใต้ แทนที่ประเทศแคนาดาในปัจจุบัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook