อนามัยโลกชี้ ไวรัสกะล่อน รุนแรงกว่าเดิมคาดเดาไม่ได้!! ยอดตายหวัด09 เพิ่ม14รวม111ราย

อนามัยโลกชี้ ไวรัสกะล่อน รุนแรงกว่าเดิมคาดเดาไม่ได้!! ยอดตายหวัด09 เพิ่ม14รวม111ราย

อนามัยโลกชี้ ไวรัสกะล่อน รุนแรงกว่าเดิมคาดเดาไม่ได้!! ยอดตายหวัด09 เพิ่ม14รวม111ราย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

องค์การอนามัยโลกหวั่น"ไวรัสกะล่อน" หวัดฤดูกาลผสมหวัดใหญ่09 รุนแรงกว่าเดิมคาดเดาไม่ได้ แนะนำทั่วโลกยุติรายงานผู้ติดเชื้อ ชี้ไร้ประโยชน์ สิ้นเปลือง ยอดตายไทยเพิ่มอีก 14 ราย รวมสะสม 111 ราย กทม.-ปริมณฑลชะลอตัว อีก 25 จว.ระบาดเพิ่มขึ้น

ยอดผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 หรือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในประเทศไทยยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 19 สิงหาคม นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 9-15 สิงหาคม ได้รับรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่ม 14 ราย เป็นชาย 7 ราย หญิง 7 ราย จำนวนนี้ร้อยละ 85 มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคปอดหรือสูบบุหรี่จัด ภาวะอ้วน โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคไต โรคระบบเลือดและโรคเบาหวาน สรุปภาพรวมตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน ถึงปัจจุบันไทยมีผู้เสียชีวิตรวม 111 ราย ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) สรุปตัวเลขผู้เสียชีวิตทั่วโลกถึงวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา 1,735 ราย

นพ.ไพจิตร์กล่าวว่า ขณะนี้ทั่วโลกใช้วิธีประเมินอัตราการเสียชีวิต 1 รายต่อผู้ป่วย 10,000 ราย คาดว่าการระบาดทั่วโลกยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อไป สำหรับแนวโน้มการระบาดของไทย พบว่ามีการชะลอตัวในกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่ยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในต่างจังหวัด มีจังหวัดที่มีผู้ป่วยเกิน 100 ราย 25 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร ราชบุรี นครสวรรค์ เชียงใหม่ ลำพูน พิษณุโลก กำแพงเพชร ชลบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง อุบลราชธานี อุดรธานี นครราชสีมา มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และนครศรีธรรมราช

"ล่าสุดการระบาดเริ่มชะลอตัวในกลุ่มอายุ 11-24 ปี โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ส่วนกลุ่มอายุอื่นๆ เริ่มทรงตัว สำนักระบาดวิทยาคาดการณ์ว่าในอีก 2 เดือนข้างหน้า อาจมีการระบาดระลอก 2 ประชาชนอย่าละเลยการป้องกันตัว" นพ.ไพจิตร์กล่าว
ด้าน พญ.มัวรีน เบอร์มิงแฮม ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า ล่าสุดองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประเทศต่างๆ ยุติการรายงานผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ต่อองค์การอนามัยโลก เพราะไม่มีความจำเป็นและสิ้นเปลือง แต่ให้ใช้ดัชนีชี้วัดการป่วยด้านอื่นๆ แทน เช่น ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ ผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น

"ส่วนการวิจัยผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งพบว่ามีปัญหาการเก็บเกี่ยววัคซีนจากการเพาะเชื้อไวรัสในไข่ไก่ปลอดเชื้อไม่เป็นไปตามเป้าหมายนั้น เห็นว่าไม่ใช่ปัญหาสำคัญ ในวันที่ 20 สิงหาคม ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกสำนักงานใหญ่จะประชุมทางไกลด้วยระบบเทเลคอนเฟอเรนซ์กับผู้เชี่ยวชาญฝ่ายไทย อาทิ องค์การเภสัชกรรม (อภ.) สธ. ฯลฯ เพื่อปรับแผนการวิจัยดังกล่าว" พญ.มัวรีนกล่าวว่า

นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 10 กรมควบคุมโรค กล่าวว่า สัปดาห์หน้าจะเสนอสูตรประมาณการผู้ป่วยเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อพิจารณาว่า สามารถนำโครงสร้างดังกล่าวไปใช้ประเมินสถานการณ์ผู้ป่วยเพื่อให้มีความเป็นจริงมากที่สุดได้หรือไม่ ซึ่งมีสูตรการคำนวณ 2 แบบ คือ
1.พิจารณาจากจำนวนผู้ป่วยที่เข้าข่ายไข้หวัดใหญ่และเข้ารักษาในสถานพยาบาลว่ามีเท่าใด แล้วนำร้อยละของเชื้อที่ตรวจพบมาคำนวณปริมาณผู้ป่วย วิธีนี้ทำได้ง่าย สามารถประเมินได้ทุกเดือน
2.เจาะเลือดเพื่อตรวจปริมาณภูมิคุ้มกันในชุมชนต่างๆ ซึ่งใช้เวลานานกว่าจะรู้ผลประเมิน

"ที่น่าห่วงคือ หากเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลผสมกับเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ตามทฤษฎีโรคจะรุนแรงขึ้นกว่าเดิมและไม่สามารถคาดเดาได้ องค์การอนามัยโลกเรียกว่าเชื้อไวรัสมีความกะล่อน (Nasty Flu)" นพ.คำนวณ กล่าว
ด้าน นพ.พิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า การทดสอบการดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ และยาซานามิเวียร์ ของไทยยังไม่พบปัญหาเชื้อดื้อยาหรือเชื้อกลายพันธุ์แต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook