ประธานวุฒิสภาแจง "ผบ.เหล่าทัพ" ขาดโหวต ส.ว. เพราะเห็นบางเรื่องไม่สำคัญ ต้องขออภัย

ประธานวุฒิสภาแจง "ผบ.เหล่าทัพ" ขาดโหวต ส.ว. เพราะเห็นบางเรื่องไม่สำคัญ ต้องขออภัย

ประธานวุฒิสภาแจง "ผบ.เหล่าทัพ"  ขาดโหวต ส.ว. เพราะเห็นบางเรื่องไม่สำคัญ ต้องขออภัย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“พรเพชร” แจง ผบ.เหล่าทัพ ขาดโหวต “ส.ว.” เพียบ เพราะมองบางเรื่องไม่สำคัญ ต้องขออภัย หลังจากนี้จะเข้มงวดมากขึ้น

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา เว็บไซต์ไอลอว์ (iLaw) ได้เผยแพร่ผลการตรวจสอบการทำงานของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จำนวน 250 คน ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาพบว่า ผู้นำเหล่าทัพหลายคนติด 10 อันดับแรกของ ส.ว. ที่ขาดการลงมติมากที่สุด โดยบางคนขาดการลงมติ 144 ครั้ง จากทั้งหมด 145 ครั้ง

จาการตรวจสอบของ iLaw พบว่า ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา มีเรื่องที่เข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาจำนวน 145 เรื่อง โดย ส.ว. มีมติให้ความเห็นชอบทั้ง 145 มติ และ ส.ว.ทั้ง 250 คน โหวตไปในทิศทางเดียวกัน ค่าเฉลี่ยการลงมติเห็นชอบ 96.1%

สำหรับผู้ที่ลงคะแนนไม่เห็นชอบมากที่สุดในการลงมติทั้ง 145 มติ ได้แก่ พลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป โดยไม่เห็นชอบไป 21 มติ รองลงมาได้แก่ เสรี สุวรรณภานนท์ ไม่เห็นชอบไปทั้งหมด 16 มติ

นอกจากนี้ iLaw พบว่า ส.ว. ที่เป็นผู้นำทหารและตำรวจ 5 ใน 6 คน ติดโผ 10 อันดับคนที่ขาดลงมติมากที่สุด ได้แก่

1. พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ขาด 144 มติ
2. พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ) ขาด 143 มติ
3. พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) ต่อมาเปลี่ยนเป็น พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์ ผบ.ทอ. เข้าเป็น ส.ว. แทนตามตำแหน่งโดยใช้รหัส ส.ว. เดิม เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 ทั้งสองคนรวมกัน ขาด 143 มติ
4. พลตรี กลชัย สุวรรณบูรณ์ ขาด 143 มติ
5. ศาสตราจารย์ ร้อยเอก ทินพันธุ์ นาคะตะ ขาด 137 มติ
6. พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) ขาด 136 มติ
7. พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม ขาด 135 มติ
8. พลตำรวจโท จิตติ รอดบางยาง ขาด 125 มติ
9. กูรดิสถ์ จันทร์ศรีชวาลา ขาด 117 มติ
10. พลเอก ปัฐมพงศ์ ประถมภัฏ ขาด 112 มติ

ส่วนพลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. มีสถิติไม่ได้เข้าลงมติ 99 มติ และเข้าลงมติ 46 มติ ถือว่าขาดน้อยที่สุดในบรรดา ส.ว.เหล่าทัพ สำหรับ ส.ว. ที่ขยันที่สุด เข้าประชุมโดยไม่เคยขาดการลงมติสักครั้ง มีอยู่ 2 คน ได้แก่ พลเอกจีระศักดิ์ ชมประสพ และพลเอกอู้ด เบื้องบน โดยค่าเฉลี่ยของการไม่ได้มาลงมติของ ส.ว. 250 คนนั้น พบว่า แต่ละมติจะมีคนขาดอยู่ 63 คน

ทั้งนี้ แม้การเข้าประชุมและการลงมติในที่ประชุมถือเป็นหน้าที่หลักของ ส.ว. โดยรัฐธรรมนูญกำหนดเงื่อนไขการพ้นตำแหน่งของ ส.ว. ที่ไม่เข้าร่วมประชุมสภาไว้ในมาตรา 111 (5) ว่าให้สมาชิกภาพของ ส.ว สิ้นสุดลง เมื่อขาดประชุมเกิน 1 ใน 4 ของจํานวนวันประชุมในสมัยประชุมที่มีกําหนดเวลาไม่น้อยกว่า 120 วัน แต่ก็มีข้อยกเว้นว่าหากประธานวุฒิสภาอนุญาตให้ขาดประชุมก็จะไม่นับว่าขาดประชุม และในข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ.2562 ก็ไม่ได้มีการกำหนดเรื่องการขาดประชุมเป็นบทลงโทษ ส.ว. ไว้ด้วย

รายงานข่าวจาก iLaw เปิดเผยต่อว่า ส.ว. แต่งตั้งทั้ง 250 คน เข้าสู่ตำแหน่งผ่านกระบวนการคัดเลือกจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีวาระการทำงาน 5 ปีตามที่รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาล ขณะที่รัฐบาลมีวาระการทำงาน 4 ปี

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า ในสมัยประชุมวุฒิสภาที่ผ่านมา มีการลงมติเรื่องกฎหมายสำคัญ 7 ครั้ง ส่วนที่เหลือเป็นเรื่องร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเล็กน้อยในรายมาตรา สมาชิกอาจมองว่าไม่ค่อยสำคัญจึงไม่มาลงมติ เพราะถึงอย่างไรก็ต้องทำตามมติที่กรรมาธิการเสนอมา

ก็ต้องขออภัย หากสมัยประชุมที่ผ่านมา ส.ว. ไม่ได้อยู่ลงมติในเรื่องข้อบังคับการประชุม แต่หลังจากนี้จะเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้นในการให้ ส.ว. อยู่ลงมติ หากเป็นการลงมติในร่างกฎหมายสำคัญจะต้องมา โดยเฉพาะการลงมติในที่ประชุมร่วมรัฐสภา ถือเป็นบทเรียนที่ ส.ว.จะต้องเรียนรู้

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook