“โควิด-19” ส่งผลให้ “ความไม่เสมอภาคทางเชื้อชาติ” มีเพิ่มมากขึ้น

“โควิด-19” ส่งผลให้ “ความไม่เสมอภาคทางเชื้อชาติ” มีเพิ่มมากขึ้น

“โควิด-19” ส่งผลให้ “ความไม่เสมอภาคทางเชื้อชาติ” มีเพิ่มมากขึ้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 มากกว่าชาวอเมริกันผิวขาวมากกว่า 3 เท่า วิกฤตสุขภาพในสหรัฐอเมริกาจึงเป็นมากกว่าวิกฤตสุขภาพที่คนทั้งประเทศต้องเผชิญ แต่ยังเป็นวิกฤตเศรษฐกิจและวิกฤตทางสังคมที่สะท้อนให้เห็นความไม่เสมอภาคทางเชื้อชาติของชาวอเมริกัน ที่ประกอบด้วยคนหลากหลายเชื้อชาติ

Erik Hurst นักเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยชิคาโก ชี้ว่า การตกงานถือเป็นปัญหาใหญ่ของผู้มีรายได้น้อยในระบบการกระจายรายได้ Hurst ทำการวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีเงินเดือนของคนทำงานชาวอเมริกันหลายล้านคน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนเมษายน และพบว่า 5 อันดับกลุ่มคนทำงานที่มีรายได้มากที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ ต้องตกงานมากกว่า 9 เปอร์เซ็นต์ในช่วงโควิด-19 แต่ถ้าไปดู 5 อันดับกลุ่มคนทำงานที่มีรายได้น้อยที่สุด กลับมีอัตราคนตกงานมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Momentary Fund หรือ IMF) เตือนว่า วิกฤตโรคโควิด-19 จะทำให้ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ขณะที่งานวิจัยชิ้นใหม่ของ IMF ซึ่งศึกษาผลกระทบของการเกิดโรคระบาด ทั้งโรคซาร์ส โรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 (H1N1) และโรคอีโบลา ที่เกิดขึ้นในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา พบว่า หลังจากเกิดโรคระบาด ปัญหาเรื่องความไม่เสมอภาคมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นในทุกภาคส่วน

ในสหรัฐอเมริกา ปัญหาความไม่เสมอภาคมักเชื่อมโยงกับเชื้อชาติ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้หากมองที่อัตราการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 อย่างไรก็ตาม หากมองตัวเลขการว่างงาน อัตราการว่างงานของคนผิวสีและคนผิวขาว กลับไม่ได้มีความแตกต่างกันมาก โดยอัตราการว่างงานของคนผิวสีอยู่ที่ 16.7 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่คนผิวขาวอยู่ที่ 14.2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งตัวเลขผู้ว่างงานทั้งคนผิวสีและผิวขาวที่ใกล้เคียงกัน สะท้อนให้เห็นผลกระทบของการล็อกดาวน์ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ในวงกว้าง แต่ในขณะเดียวกัน มันก็สะท้อนให้เห็นบทบาทการทำงานไร้ทักษะของชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน เช่น แคชเชียร์ คนส่งจดหมาย พนักงานรักษาความปลอดภัย คนดูแลผู้ป่วย พนักงานปั๊มน้ำมัน และพนักงานร้านฟาสต์ฟู้ด เป็นต้น ซึ่งการทำงานไร้ทักษะเป็นเสมือน “ดาบสองคม” ที่ในแง่หนึ่ง คนกลุ่มนี้จะมีงานทำ แม้ในวิกฤตโรคระบาด แต่ในอีกแง่หนึ่ง คนทำงานกลุ่มนี้ก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโคโรนามากที่สุด ขณะที่พวกเขาจำเป็นต้องเลือกระหว่างความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสุขภาพของตัวเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook