ผวาค้างคาวอินเดียตายยกฝูงปริศนา คาดเป็นลมแดดเพราะร้อนจัด ไม่เกี่ยวโควิด-19
(29 พ.ค.63) สำนักข่าวซินหัวรายงาน ถึงเหตุการณ์ ค้างคาวในย่านเพลฆาฏ (Belghat) เมืองโครขปร (Gorakhpur) ในรัฐอุตตร รัฐทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย ตายยกฝูงจนน่าประหลาดใจ เมื่อวันที่ 27 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งการตายที่ผิดปกติของค้างคาวนี้ เกิดขึ้นในช่วงที่อินเดียกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ชาวบ้านเกิดความวิตกกังวลว่าสาเหตุอาจมาจากโควิด-19
ซึ่งล่าสุด สถาบันวิจัยทางสัตวแพทย์อินเดีย (VR) ในเมืองพเรลี (Bareilly) เผยสาเหตุการตายของค้างคาวจำนวนมากแล้วว่า หลังการตรวจสอบตัวอย่างของเหลวจากซากค้างคาว ทำให้ทราบว่าค้างคาวไม่ได้ตายด้วยเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) แต่อาจตายจากโรคลมแดด เนื่องจากช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐอุตตร ต้องเผชิญกับคลื่นความร้อน โดยอุณหภูมิในเมืองโครขปรเพิ่มขึ้นสูงกว่า 44 องศาเซลเซียส
อาร์ เค สิงห์ (R K Singh) ผู้อำนวยการสถาบันฯ กล่าวว่า การตรวจสอบเบื้องต้นเผยว่าสาเหตุที่ฝูงค้างคาวตายเป็นจำนวนมากเกิดจากเลือดคั่งในสมอง เพราะความร้อนสูงเกินไป ตัวอย่างที่นำมาตรวจมีผลตรวจโรคติดเชื้อโควิด-19 เป็นลบ และกำลังทำการตรวจสอบต่อไป นอกจากนี้ยังไม่พบร่องรอยของไวรัสโควิด-19 หรือเชื้อพิษสุนัขบ้าในค้างคาวที่ตายอีกด้วย
สิงห์ กล่าวเสริมว่า "ค้างคาวมีระดับภูมิคุ้มกันสูงและเชื้อก่อโรค ไม่ว่าจะเป็นไวรัสหรือแบคทีเรีย ล้วนไม่กระทบต่อค้างคาว แม้มันอาจจะเป็นพาหะของไวรัส จากตัวอย่างที่ตรวจก็ไม่พบไวรัสหรือแบคทีเรียที่อาจเป็นสาเหตุการตายของพวกมัน"
ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐอุตตรประเทศต้องเผชิญกับคลื่นความร้อน โดยอุณหภูมิในเมืองโครขปุรเพิ่มขึ้นสูงกว่า 44 องศาเซลเซียส ขณะเดียวกัน รัฐพิหารที่อยู่ข้างเคียงก็พบค้างคาวตายมากกว่า 200 ตัวเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ การตายอย่างผิดปกติของค้างคาวเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่อินเดียกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
- นักวิจัยจีนเผย ไวรัสโควิด-19 อาจมีต้นกำเนิดมาจาก "ตัวนิ่ม" และ "ค้างคาว"
- นักวิจัยสุ่มตรวจ "ค้างคาวเมียนมา" พบไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เพิ่มอีก 6 ชนิด