จาก ‘ยางพารา’ สู่ ‘หน้ากากผ้า’ กรองไวรัส เพื่อกลุ่มรัฐวิสาหกิจชุมชน

จาก ‘ยางพารา’ สู่ ‘หน้ากากผ้า’ กรองไวรัส เพื่อกลุ่มรัฐวิสาหกิจชุมชน

จาก ‘ยางพารา’ สู่ ‘หน้ากากผ้า’ กรองไวรัส เพื่อกลุ่มรัฐวิสาหกิจชุมชน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไม่ว่าจะหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ต่างเป็นไอเทมยุคโควิด-19 ที่ใครๆ ก็ต้องมี เพื่อเป็นเกราะป้องกันเชื้อโรคร้ายในด่านแรก แต่เนื่องด้วยหน้ากากอนามัยหาได้ยากในยามวิกฤตเช่นนี้ เพราะบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยที่ติดเชื้อมีความจำเป็นต้องใช้มากกว่าคนทั่วไป

‘หน้ากากผ้า’ จึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้คนต่างสรรหามาใช้ในชีวิตวิถีใหม่ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการผลิตออกมาอย่างหลากหลาย แต่ที่ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ทั้งในแง่คุณภาพความปลอดภัยและการกระจายรายได้สู่ชุมชน ต้องยกให้ ‘หน้ากากผ้าปลอดเชื้อ Filter ยางพารา’ โดย ‘ไอแอมเวิร์ค’

จากปลายน้ำในสายป่านอุตสาหกรรมยางพารา ‘ไอแอมเวิร์ด’ บริษัทที่คร่ำหวอดในวงการมานาน ครอบคลุมการทำอีเว้นท์เกี่ยวกับยางพาราครบวงจร ในวิกฤตโควิด-19 ปฏิเสธไม่ได้ว่าคือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ส่งผลต่อเนื่องถึงบรรดาวิสาหกิจชุมชนซึ่งอยู่ต้นน้ำจนถึงกลางน้ำของการผลิตและแปรรูปที่ต้องขาดรายได้

ปณิชตา ดีเหลือ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอ แอม เวิร์ค จำกัด จึงพลิกวิกฤตสร้างโอกาสใหม่ๆ ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับวิสาหกิจชุมชุนบ้านเนินสว่าง จ.ระยอง แหล่งผลิตยางพาราคุณภาพดี แปรรูปยางพาราให้เป็นหน้ากากผ้าปลอดเชื้อที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน สามารถกรองไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดีไซน์สวย สวมใส่สบายไม่ระคายเคืองผิว เหมาะสมกับทุกการใช้งาน

โดยมีคุณณฐนนท์ เจริญรมย์ (ปุ๋ม) ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเนินสว่าง จ.ระยอง เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนและควบคุมการผลิตให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่ผ่านการรับรองจาก Nelson Labs. ประเทศสหรัฐอเมริกา

หน้ากากผ้า สินค้ายุคโควิด-19

ปณิชตา ดีเหลือ เล่าถึงจุดเริ่มต้นก่อนจะมาเป็น ‘หน้ากากผ้าปลอดเชื้อ Filter ยางพารา’ ว่าก่อนหน้านี้ได้มีโอกาสคลุกคลีเกี่ยวกับยางพารา ทำให้มีคอนเนคชั่นในวงการยางพาราอยู่ไม่น้อย จนวันที่โควิด-19 เข้ามา ส่งผลให้อีเว้นท์ต่างๆ รวมถึงการส่งออกที่นอน หมอน ของวิสาหกิจชุมชนต่างๆ เป็นไปได้ยาก

ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไป ย่อมไม่ดีต่อชุมชนแน่นอน จึงมองว่าการผลิตหน้ากากผ้าร่วมกับชุมชนเป็นหนึ่งในทางออกที่จะทำให้ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ สามารถก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

เธอบอกว่า ความคิดตั้งต้นที่วนอยู่ในหัวตอนนั้นคือ “ทำไมเราไม่ทำหน้ากากผ้าแล้วมีฟิลเตอร์ยางพาราแทนที่จะเป็นแผ่นกรองคาร์บอนที่ขายตามท้องตลาด” เนื่องจากโดยส่วนตัวนอกจากจะยังไม่ค่อยเชื่อมั่นในความปลอดภัยของตัวกรองทั่วๆ ไป ยังรู้ดีว่า ‘ยางพารา’ มีคุณสมบัติอย่างไรหากนำมาเป็นส่วนประกอบหลักของหน้ากากผ้า

“ทำไมเราต้องใช้หมอนยางพารา ทำไมหมอถึงแนะนำให้คนไข้ใช้ที่นอนยางพารา เพราะว่ามันไม่มีเชื้อรา ไม่มีแบคทีเรีย ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี ช่วยให้นอนหลับสบาย ความพิเศษของตัวยางพารามันสามารถเปลี่ยนเซลล์ตัวมันเองได้ และสร้างเซลล์ขึ้นมาใหม่ได้ตลอด เพียงแค่เรานำไปตากแดด

ซึ่งการสร้างเซลล์ของมันก็เพื่อไปยับยั้งแบคทีเรียและต่อต้านเชื้อโรค นั่นเป็นเหตุที่ว่าทำไมเมื่อนำยางพารามาแปรรูปแล้วถึงมีราคาแพง” นี่คือคุณสมบัติของยางพาราที่เหมาะสมในการนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ

ส่วนกรรมวิธีก่อนจะได้มาเป็น Filter หรือตัวกรองยางพารานั้น ไม่ต่างจากกระบวนการหยอดยางและหล่อยางเป็นแผ่นเท่าไรนัก แต่สำหรับการทำตัวกรองนี้จะใช้ความบางไม่เกิน 3 มิลลิเมตรเท่านั้น และเติมวัตถุดิบที่ช่วยเสริมให้การกรองมีประสิทธิภาพดีที่สุด

นั่นก็คือ นาโน ซิงค์ (Nano-Zinc) สารยับยั้งแบคทีเรีย และคาร์บอนธรรมชาติ (Activited Carbon) จากกะลามะพร้าวเผา ที่ช่วยดูดซับกลิ่นได้ดี ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย เนื่องจากไม่มีสารตกค้าง โดยผ่านการทดสอบและรองรับมาตรฐานจาก ‘เนลสัน แล็ป’ สถาบันวิจัยเกี่ยวกับเครื่องสำอาง อาหารสุขภาพ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกใช้กับร่างกาย ซึ่งสามารถกรองไวรัสได้ถึง 95.4 เปอร์เซ็นต์

“เรื่องเนื้อผ้าก็สำคัญ กว่าที่เราจะได้มาก็ผ่านกระบวนการทดสอบกันมาพอสมควร จนจบที่ผ้าไนลอน (Nylon Taslan) ที่เราได้ใบรับประกันคุณภาพว่าป้องกันน้ำได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ และเป็น 1 ใน 5 ชิ้น ที่ส่งไปให้ทางเนลสันแล็ปทดสอบว่าสามารถกรองไวรัสได้ ซึ่งเราเป็นเจ้าแรกที่ผ่านการทดสอบนี้”

แม้จะมีการันตีนวัตกรรมกรองไวรัส แต่กว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ ‘หน้ากากผ้าปลอดเชื้อ Filter ยางพารา’ ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องผ่านการ

ทดสอบจนแน่ใจว่ามีประสิทธิภาพสูงสุด

“ตัวโปรดักซ์เดิมเป็นฟิลเตอร์ยางพาราที่สามารถถอดเข้าถอดออกได้ แต่มองว่าด้วยสรีระโครงหน้าของคนเราที่เมื่อใส่หน้ากากแล้วตัวกรองก็ควรจะขึ้นมาอยู่ที่จมูกด้วย ซึ่งพอเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเราก็มองว่ามันไม่สามารถกรองไวรัสได้อย่างที่ตั้งใจ ฟิลเตอร์ของเราจึงออกแบบเป็นมุมโค้งตามรูปหน้าและเย็บเข้าในผ้าเลย ให้มันเป็นชิ้นเดียวกับผ้าและไม่มีช่องโหว่”

อย่างไรก็ดีหลังจากเปิดตัวไปแล้ว เสียงตอบรับที่มาพร้อมกับสารพัดคำถาม ไม่ว่าจะเป็น “หายใจสบายไหม” “มีกลิ่นยางหรือเปล่า” “มีตัวล็อคเชือกเพื่อปรับสายรัดหรือไม่” คือแนวทางในการพัฒนาต่อยอดให้เหมาะสมกับการใช้งานมากยิ่งขึ้น

“เรื่องกลิ่นเราจะบอกเสมอว่าไม่ใช่ไม่มีกลิ่นเลย แต่แนะนำว่าถ้านำไปซักแล้วตากแดดสัก 2 รอบจะดีขึ้น ซึ่งมันไม่เป็นอันตรายแน่นอน เพราะไม่มีสารตกค้าง เพียงแต่คนเราเซนซีทีฟไม่เท่ากัน และไม่ใช่ว่าเมื่อใส่หน้ากากของเราแล้วจะหายใจสะดวกแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะตราบใดที่เราใส่หน้ากากมันก็เหมือนมีอะไรมากั้นการหายใจอยู่แล้ว แต่ด้วยประสิทธิภาพของยางพาราและส่วนผสมที่เราใช้จะช่วยให้ไม่เกิดการหมักหมมของแบคทีเรีย”

อีกหนึ่งปัญหาที่ดูเหมือนจะสร้างความกังวลใจให้สาวๆ ไม่น้อย นั่นก็คือ ‘สิว’ เมื่อต้องใส่หน้ากากผ้าเป็นเวลานานๆ เกิดความชื้นเนื่องจากอากาศไม่ถ่ายเทและกลายเป็นแหล่งหมักหมมของแบคทีเรียนำไปสู่การเกิดสิว ซึ่งข้อได้เปรียบของผลิตภัณฑ์นี้คือ องค์ประกอบของตัวกรองยางพาราและตัวผ้าไนลอนที่ช่วยเสริมให้การยับยั้งแบคทีเรียและกรองเชื้อไวรัสทำงานได้ดีกว่าเดิม

เสียงตอบรับจากผู้ใช้จริงคือคำยืนยันถึงประสิทธิภาพของ ‘หน้ากากผ้าปลอดเชื้อ Filter ยางพารา’ อรรณพ กิตติกุล พิธีกร นายแบบ และพรีเซ็นต์เซอร์หน้ากากผ้าฯ คือคนหนึ่งที่มีโอกาสได้ทดลองใช้สินค้าก่อนนำเสนอในตลาดออนไลน์ เขาเล่าว่า เวอร์ชั่นแรกที่ทดลองมีความพิเศษคือสามารถถอดฟิลเตอร์หรือแผ่นกรองออกมาได้ แต่เมื่อต้องถอดซักบางทีเราก็มักจะลืมใส่กลับไปคืนบ้าง จึงมีการพัฒนาเวอร์ชั่นใหม่และเป็นเวอร์ชั่นปัจจุบันที่ตอบโจทย์การใช้งานมากขึ้น เพราะทุกอย่างถูกเย็บเข้าด้วยกันภายใต้ผ้ากันน้ำกันไรฝุ่น และไม่จำเป็นต้องถอดออกมาซักให้ยุ่งยากอีกแล้ว

“จุดเด่นคือเขาดีไซน์ให้เข้ากับรูปหน้าของผู้ชาย ผู้หญิง และกระชับไม่หลุดเวลาพูด มีแกนกระชับแล้วตัวสายใส่แล้วไม่เจ็บหู เพราะใช้ยางยืดพิเศษหนาและทนด้วย อีกอย่างนึงก็คือว่าเวลาใส่เราจะสามารถหายใจได้สะดวก หน้ากากผ้าบางอันทรงประสิทธิภาพจริง แต่อาจจะหายใจไม่สะดวก และที่ชอบอีกอย่างก็คือ หน้ากากผ้าส่วนมากที่ใส่มักจะทำให้เกิดสิว ซึ่งแผ่นกรองยางพารานี้จะดูดซับความชื้นได้ดีในระดับหนึ่งอยู่แล้ว ประกอบกับมีส่วนผสมของนาโน ซิงค์ ที่ช่วยยับยั้งแบคทีเรียตัวการเกิดสิว”

กระจายรายได้สู่ชุมชน

‘หน้ากากผ้าปลอดเชื้อ Filter ยางพารา’ ของ ‘ไอแอมเวิร์ค’ ไม่เพียงได้รับการออกแบบมาอย่างดี ยังมีส่วนในการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับ วิสาหกิจชุมชนบ้านเนินสว่าง อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบ‘ตัวกรองยางพารา’ และแหล่งผลิตหน้ากากผ้าชนิดนี้

ในครั้งแรก ปณิชตาได้คัดเลือกคนเย็บหน้ากากจากชาวบ้านในชุมชนที่ตกงาน โดยนำแพทเทริ์นมาตรฐานพร้อมคลิปขั้นตอนการเย็บหน้ากากผ้ามาให้ทดลองทำ ถ้าครั้งที่สองใครทำได้แบบไม่ต้องแก้เลย ถือว่า ‘ผ่าน’ ปัจจุบันที่วิสาหกิจชุมชนบ้านเนินสว่าง มีคนเย็บหน้ากากผ้าอยู่ราวๆ 300 คน กำลังการผลิตอยู่ที่วันละ 3,000 ชิ้น หรือเดือนละ 1 แสนชิ้น ในจำนวนนี้อาจจะมี 2-5 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่ผ่าน QC

“บางคนก็ไม่ได้เย็บเก่งแต่ถ้าตั้งใจก็สามารถทำได้ จากงาน 1,000 ชิ้น ที่ไม่ผ่านราว 200 ชิ้น ก็จะค่อยๆ ลดลง ซึ่งชิ้นที่ไม่ผ่าน QC เราจะนำไปบริจาค เพราะในแง่ของประสิทธิภาพยังคงใช้ได้เช่นเดิม เพียงความเรียบร้อยในการเย็บหรือรูปแบบอาจไม่สวยเท่าไร”

ด้วยการผลิตหน้ากากผ้ายังคงเป็นเรื่องใหม่และท้าทายไอแอมเวิร์คเช่นกัน จึงต้องลองผิดลองถูกเพื่อให้ออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด ซึ่งปณิชตาในฐานะผู้บริหารเข้าใจดีว่า เธอกำลังผลิตหน้ากากผ้าด้วยกระบวนการที่เรียกว่า ‘เฮนเมด’ ดังนั้นย่อมต่างจากระบบโรงงานที่ต้นทุนต่ำกว่า กำลังผลิตมากกว่า และมีข้อผิดพลาดน้อยกว่า

“เราอาจต้องจ่ายต้นทุนเพิ่ม แต่แบรนด์ได้สร้างงาน กระจายรายได้ให้กับคนในชุมชนวิสาหกิจเนินสว่างและวิสาหกิจชุมชนอื่นทั่วประเทศ พวกเขาสามารถทำงานอยู่บ้านได้ โดยที่ไม่ต้องออกมาเสี่ยงโควิด-19 และไม่ต้องเหนื่อยเดินทาง ซึ่งตอนนี้ระยองเป็นฐานใหญ่ที่สุดของเราประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ และอีก 20 เป็นจังหวัดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นลำปาง ยะลา”

ในส่วนของความปลอดภัยนั้น ปณิชตาบอกว่าแม้จะไม่ใช่หน้ากากทางการแพทย์ แต่อยากให้คนใช้มั่นใจได้ว่าคุณภาพและความปลอดภัยมีไม่แพ้กัน เพราะขั้นตอนสุดท้ายในสายพานการผลิตคือ การฆ่าเชื้อโดยวิธีนึ่งด้วยไอน้ำ Steam Sterillzation และใส่ถุงซีลพร้อมบรรจุใส่กล่องให้เรียบร้อย มั่นใจได้เลยว่า เป็น ‘หน้ากากปลอดเชื้อ’ จริงๆ

ปัจจุบัน ‘หน้ากากผ้าปลอดเชื้อ Filter ยางพารา’ ของ ‘ไอแอมเวิร์ค’ มีสองแบบให้เลือกซื้อ คือ แบบสีพื้นธรรมดา (สีน้ำตาล น้ำเงิน สีดำ) กับหน้ากากผ้าคอตตอนลูกไม้ ซึ่งเป็นความชอบส่วนตัวของปณิชตาที่อยากจะเติมดีเทลความสวยงามเล็กๆ น้อยๆ เพื่อความสวยงาม

ส่วนการดูแลรักษาสามารถทำได้ง่ายๆ เพียง 4 ขั้นตอน โดยขั้นตอนแรกให้ซักด้วยน้ำสบู่ จากนั้นแช่ในน้ำร้อนอุณหภูมิ 70 องศา แล้วก็ล้างน้ำอุณหภูมิปกติ และนำไปผึ่งแดดจนแห้งสนิท โดยหน้ากากผ้าชนิดนี้สามารถซักได้มากกว่า 50 ครั้งโดยไม่เสื่อมคุณภาพ
“สำหรับหน้ากากผ้าล่าสุดเราจะเปลี่ยนจากไหมญี่ปุ่นเป็นผ้าสาลูสีดำที่อยู่ด้านใน เพราะมันระบายอากาศได้ดีกว่า เพิ่มสต็อปเปอร์หรือตัวล็อคสายคล้องหูสำหรับคนหน้าเล็ก และทำของเด็กด้วยเพื่อต้อนรับการเปิดเทอมนี้

สามารถสั่งซื้อได้ทางออนไลน์ได้ที่ Facebook.com/letobrandcafe,IG @LetoBrandCafe,Line @letobrandcafe หรือโทร 061-251-3113

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ ของ จาก ‘ยางพารา’ สู่ ‘หน้ากากผ้า’ กรองไวรัส เพื่อกลุ่มรัฐวิสาหกิจชุมชน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook