แชร์ว่อน "อนุทิน" และคณะ กินข้าวโต๊ะใหญ่ บอก ปชช.การ์ดอย่าตก แต่ไม่ทำเป็นตัวอย่าง

แชร์ว่อน "อนุทิน" และคณะ กินข้าวโต๊ะใหญ่ บอก ปชช.การ์ดอย่าตก แต่ไม่ทำเป็นตัวอย่าง

แชร์ว่อน "อนุทิน" และคณะ กินข้าวโต๊ะใหญ่ บอก ปชช.การ์ดอย่าตก แต่ไม่ทำเป็นตัวอย่าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ สำหรับกรณีภาพของ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข พร้อมคณะ รับประทานอาหารร่วมกันโต๊ะใหญ่ที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง โดยไม่มีการเว้นระยะห่าง Social Distancing ทั้งที่ตลอดช่วงที่ผ่านมา ภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระทรวงสาธารณสุข เน้นย้ำให้ประชาชนรักษาระยะห่างเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่คณะทำงานของรัฐมนตรีกระทรวง กลับไม่เป็นแบบอย่างที่ดี

โดยในเพจ หมอแมวน้ำเล่าเรื่อง ได้โพสต์ภาพดังกล่าว พร้อมระบุข้อความว่า

อยากให้ใครทำอะไรตัวเองต้องเป็นตัวอย่างที่ดีก่อน ตลอดระยะเวลาเกือบครึ่งปีที่ผ่านมา ทั่วโลกต้องเจอกับวิกฤตการณ์ COVID-19 มียอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ ประเทศไทยเองเพิ่งจะควบคุมการระบาดของโรคได้ (ขอให้ข้อเท็จจริงเป็นเช่นนั้น) จนติดอันดับประเทศที่มีการจัดการโรคได้ดีติด 1 ใน 5 ของโลก

หมอขอยกความดีความชอบให้กับประชาชน/ภาคเอกชน บุคลากรทางการแพทย์และคนที่ทำงานปิดทองหลังพระท่านอื่นๆที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีแบบหนีตายกันเอาเอง ส่วนฝั่งรัฐบาลแม้จะไม่ได้ช่วยสนับสนุนอย่างจริงจัง และไม่จัดการปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถึงเวลาก็ขอเครดิตอย่างเต็มที่ (ขอบคุณค่ะ)

ทุกอย่างดูดีสุขสงบ จนรัฐเริ่มผ่อนปรนมาตรการ Lockdown มีการเตือนและขู่ถึงผลเสียที่จะตามมาหากไม่ร่วมมือปฏิบัติตาม ทุกๆวัน วันละหลายรอบ

“อย่าการ์ดตก” แปลว่า แม้จะเปิดสถานที่และให้ทำกิจกรรมต่างๆได้ใกล้เคียงปกติ แต่ทุกคนยังต้องปฏิบัติตัวป้องกันการติดและแพร่กระจายของโรค เช่น การแยกอยู่ห่างทางสังคม (social/physical distancing), การใส่หน้ากาก, การล้างมือบ่อยๆ

ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือดี แม้จะต้องปรับตัวและอยู่ยากขึ้นอย่างมาก แต่ก็ต้องทนเพื่อให้การควบคุมโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่น่าแปลกใจ คือ ทำไมผู้ที่มีอำนาจของรัฐกลับไม่ปฏิบัติตามสิ่งที่ตนเองออกมาพูดบอกประชาชนว่า “ต้องทำ” ?? หรือเชื้อโรคมีข้อยกเว้นว่า “ถ้าคนที่มีตำแหน่ง xxxx ฉันจะละเว้นให้...ไม่ติดเธอนะจ๊ะ” แต่ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะยังไม่มีงานวิจัยหรือแหล่งข่าวไหนออกมาบอกว่า “การมีตำแหน่งxxx ขึ้นไปเป็นปัจจัยในการป้องกันการติดเชื้อ”

(รูปโพสต้นทางโดนลบไปแล้ว คิดว่าโดนทัวร์ลงมา ไม่ก็ทางผู้มีอำนาจขอให้ลบ)

Image may contain: 3 people, ocean

การเป็นตัวอย่างที่ดี (role model) คำจำกัดความ คือ คนที่เป็นแบบอย่างทางพฤติกรรม, แนวความคิด/ค่านิยม/ความเชื่อให้กับคนอื่นๆนำไปทำตาม คิดตาม

คุณ Bandura เป็นคนที่คิดค้นทฤษฎีเรื่องการเรียนรู้ทางสังคม (Bandura’s social learning theory) เนื้อหาหลักของทฤษฎีนี้ คือ มนุษย์เรียนรู้สิ่งต่างๆจากการที่เห็นคนรอบข้างทำ โดยสมองจะมีการเชื่อมโยงเหตุและผลที่เกิดขึ้น เช่น “นักเรียนที่เรียนดีจะได้รับคำชมและสิทธิพิเศษจากครู” เด็กจะเกิดการเรียนรู้ว่าพฤติกรรมที่ดีที่นำไปสู่ผลลัพธ์ทางบวก คือ “การเรียนดี” หากเด็กอยากได้รับสิ่งเหล่านี้ เด็กจะตั้งใจเรียน ส่งงานให้ครบ อ่านหนังสือก่อนสอบ เพื่อให้ผลการเรียนออกมาดี

กระบวนการเรียนรู้ผ่านต้นแบบนี้มี 4 ขั้นตอน

ต้องมีสมาธิจดจ่อ (attention): การที่เราจะเลียนแบบใครได้ เราต้องมีสมาธิที่ตั้งใจจะจดจำรายละเอียด
การจดจำบันทึกไว้ (retention): เราต้องจดจ่ออย่างต่อเนื่องและใส่ใจ แล้วบันทึกข้อมูลลงในสมอง
การลอกเลียนแบบ (reproduction): เป็นการแสดงพฤติกรรมลอกเลียนแบบจากสิ่งที่เห็นมา แต่ละคนมีความสามารถนี้ไม่เท่ากัน แม้เราจะมีสมาธิจดจ่อและจดจำได้ แต่ถ้าร่างกายเราไม่สามารถทำได้ การลอกเลียนแบบจะไม่สำเร็จ
แรงจูงใจในการมีพฤติกรรม (motivation): ขึ้นอยู่กับว่าเราทำอะไรไปแล้ว ได้รับการตอบสนองจากสิ่งแวดล้อมรอบข้างอย่างไร หากเราได้รับการตอบรับที่เราคิดว่าดี เรามีแนวโน้มที่จะทำพฤติกรรมนี้ซ้ำอีกในอนาคต

เรื่องการทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดีเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะพฤติกรรมที่แสดงออกของเรา เกิดจากการเรียนรู้ตั้งแต่เล็ก วิธีการสอนที่ดีที่สุด คือ ผู้ใหญ่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็ก หรือแม้แต่ระหว่างผู้ใหญ่ด้วยกันเองก็ตาม หากอยากให้คนอื่นทำอะไร ตัวเราเองต้องทำสิ่งนั้นให้ได้ก่อน ไม่อย่างนั้นคนที่เราบอกสอนจะเกิดคำถามขึ้นมาว่า “ขนาดตัวคนบอกสอนยังไม่ทำ แปลว่าสิ่งนั้นไม่สำคัญ”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook