พุทธิพงษ์ แจงไอเดีย Thaiflix ไม่หวังแข่งต่างชาติ แค่สร้างแพลตฟอร์มเพื่อผู้ผลิตไทย

พุทธิพงษ์ แจงไอเดีย Thaiflix ไม่หวังแข่งต่างชาติ แค่สร้างแพลตฟอร์มเพื่อผู้ผลิตไทย

พุทธิพงษ์ แจงไอเดีย Thaiflix ไม่หวังแข่งต่างชาติ แค่สร้างแพลตฟอร์มเพื่อผู้ผลิตไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลฯ แจงไอเดีย Thaiflix ไม่ได้อยากตั้งขึ้นมาเพื่อแข่งขันกับต่างชาติ แต่อยากเปิดพื้นที่ให้กับผลงานของคนไทยได้มีเวทีนำเสนอมากขึ้น

วันนี้ (4 มิ.ย.) เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โพสต์เฟซบุ๊กชี้แจงถึงแนวคิด Thaiflix หลังจากถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงไอเดียดังกล่าว โดยมีเนื้อหาของโพสต์ดังนี้

"จากใน live สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ที่ผมได้พูดถึงแนวคิดเรื่องการสร้างแพลทฟอร์มสตรีมมิ่ง แบบเดียวกับ Netflix และมีการขยายประเด็นไปในสื่อต่างๆ จนอาจเข้าใจผิด ผมจึงอยากชี้แจงให้ทุกท่านได้เข้าใจอย่างถูกต้องครับ

ตอนนี้สื่อโทรทัศน์ถูก disruption หรือโดนสื่อออนไลน์แย่งคนดูไปมากมาย จนย่ำแย่ไปตามๆ กัน ทั้งผู้ผลิตละคร ผู้ผลิตรายการต่างๆ พยายามหาทางออก โดยใช้แพลทฟอร์มออนไลน์ต่างชาติเผยแพร่เนื้อหาให้เข้าถึงผู้ชม ส่งผลให้เม็ดเงินโฆษณามหาศาลออกไปสู่เจ้าของแพลทฟอร์มต่างประเทศ อุตสาหกรรมโฆษณาของไทยแทบไม่ได้ประโยชน์อะไร

สำหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย เป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่ามีฝีมือขนาดไหน ได้รับรางวัลระดับโลกมาก็บ่อย นอกจากการสนับสนุนด้านอื่นๆ แล้ว การพัฒนาช่องทางดิจิทัลที่เป็นของไทยเองยังจะช่วยให้ผู้ผลิตเผยแพร่ผลงานได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่ประเทศกลุ่ม CLMV อย่างกัมพูชา ลาว มาเลเซีย เวียดนาม ก็สนใจหนังไทย รวมถึงตลาดที่ใหญ่มากอย่างจีน

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวคิดเริ่มต้น คงต้องรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนทุกๆ ฝ่าย เราไม่ได้จะทำแข่งกับใครเลย แต่จะสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้มารวมกัน สร้างเนื้อหาดีๆ ให้ถึงประชาชน และได้ลูกค้าใหม่ๆ ภาครัฐจะสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้ขับเคลื่อน ทั้งวงการ production ภาพยนตร์ สื่อโฆษณา บุคลากรวงการดิจิทัล ร่วมเป็นทีมประเทศไทย เสนอแนะแนวทาง ถกปัญหา เริ่มจากโพสต์นี้เลยครับ เชิญคอมเม้นต์เสนอแนะได้เลย"

ทั้งนี้ นายพุทธิพงษ์ เปิดเผยแนวคิดใหม่ที่จะสร้าง "แพลตฟอร์มไทย" เป็นครั้งแรก ในระหว่างการประชุมทางไกล RoLD Virtual Forum : Living with COVID-19 ตอน “How to Empower Digital Citizenship in COVID-19 Era” ที่จัดโดยสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ)

“ทำไมประเทศไทยถึงไม่มีแพลตฟอร์มของคนไทย ทั้งโซเชี่ยลมีเดียและบริการทางออนไลน์ต่างๆ เราต้องไปใช้แพลตฟอร์มของต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เม็ดเงินจากอุตสาหกรรมโฆษณา หรือ การค้าขายทางออนไลน์ก็ไหลไปต่างประเทศหมด” รมว.ดิจิทัลฯ ระบุ

โดยแนวคิดดังกล่าวคือ จะสร้างช่องทางขายคอนเทนต์ของไทยไปสู่ต่างประเทศ พร้อมกับยกตัวอย่างว่า เมื่อมี Netflix ได้ ก็สามารถทำให้มีช่องทางในลักษณะเปรียบเทียบเป็น Thaiflix ได้เช่นกัน เพราะที่ผ่านมาแพลตฟอร์มขายคอนเทนต์จากต่างประเทศ ซื้อคอนเทนต์ของเราไปในราคาที่จ่ายเงินครั้งเดียว แต่สามารถนำไปฉายในประเทศอื่นๆ

"เช่นประเทศจีนจนทำกำไรได้มหาศาล แต่ผู้ผลิตคอนเทนต์ของไทยไม่ได้เงินเพิ่มเลย จึงเห็นว่า หากประเทศไทยสามารถรวบรวมคอนเทนต์ดีๆ ไว้ด้วยกันได้ ก็สามารถสร้างช่องทางนำออกไปขายในต่างประเทศได้เช่นเดียวกับคอนเทนต์ของเกาหลีใต้ โดยเอกชนในธุรกิจนี้ต้องรวมตัวกันเป็นทีมไทยแลนด์ และรัฐบาลเป็นผู้ให้การสนับสนุน"

นายพุทธิพงษ์ เชื่อมั่นว่า ด้วยศักยภาพทางเทคโนโลยีของไทย สามารถทำให้มีแพลตฟอร์มเป็นของตัวเองได้ แต่จะเกิดขึ้นได้ต้องได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนทั้งระบบ เพราะที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า แพลตฟอร์มของไทยที่ทำโดยภาครัฐไม่ได้รับความนิยม เช่น แพลตฟอร์มการค้าปลีกออนไลน์ 3 รายใหญ่ที่คนไทยใช้อยู่เป็นของต่างประเทศทั้งหมด ทั้งที่มีทั้งแพลตฟอร์มของกระทรวงพาณิชย์ ไปรษณีย์ไทย และกระทรวงมหาดไทย

นั่นก็เป็นเพราะแพลตฟอร์มที่รัฐทำขึ้นมาเองยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน ดังนั้นจึงมีความคิดว่า ภาครัฐควรมีบทบาทเพียงการเป็นเจ้าภาพสนับสนุนงบประมาณและรวบรวมเอกชนที่มีความสามารถเข้ามาช่วยสร้างแพลตฟอร์มทำวิจัย ทำตลาด สร้างแคมเปญ นำของไปขายต่างประเทศ ผ่านแพลตฟอร์มเดียวกันของประเทศไทย และเมื่อขายในประเทศไทยได้แล้ว เชื่อว่าในไม่เกิน 1 ปี จะทำให้แพลตฟอร์มของไทยขยายไปได้ในระดับภูมิภาค

อย่างไรก็ตาม หลังจากแนวคิดดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนไม่น้อย หนึ่งในนั้นมาจากเพจเฟซบุ๊ก Drama Addict ที่แสดงความไม่เห็นด้วยผ่านเหตุผลหลัก 2 ข้อคือ

1. ตลาดนี้แม่งแข่งขันกันแหลกราญมาก ตอนนี้มีกี่เจ้าวะ
netflix disney+ amazonPrime AppleTV+ HBOgo iflix flixer บลาๆๆๆ แต่ละแอปแม่งมีกลยุทธ์แบบ สร้าง exclusive content , ลดแลกแจกแถมกันเละเทะ จะเข้าสู่ตลาดนี้ ถ้าไม่มีอะไรที่แม่งเจ๋งจริงๆ ไปไม่รอดแน่

เอาง่ายๆ อย่างกรูตอนนี้สมัคร netflix / HBO go ยังดูไม่คุ้มเลย คงไม่สมัครเจ้าอื่นเพิ่มไปกว่านี้แล้ว

2. content ที่เรามีไม่ได้แข็งขนาดนั้น ของเราขายจีนยังพอไหว เห็นคนจีนชอบดูหนังไทยละครไทย แต่จะให้เขามุด vpn ออกมาใช้ platform ไทยต้องถามว่า content ที่เรามีมันเจ๋งขนาดให้เขาทำงั้นเลยเรอะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook