เปิดฉบับร่างมาตรการผ่อนคลายระยะ 4 ลุ้น ศบค.เตรียมเคาะ 12 มิ.ย. นี้

เปิดฉบับร่างมาตรการผ่อนคลายระยะ 4 ลุ้น ศบค.เตรียมเคาะ 12 มิ.ย. นี้

เปิดฉบับร่างมาตรการผ่อนคลายระยะ 4 ลุ้น ศบค.เตรียมเคาะ 12 มิ.ย. นี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้ (10 มิ.ย.) หลังจาก นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อประจำวันแล้วนั้น

ต่อมา นพ.ทวีศิลป์ กล่าวถึงการหารือถึงฉบับร่างผ่อนคลายมาตรการระยะที่ 4 ในการประชุม ศบค. วันศุกร์ที่ 12 มิ.ย. นี้ ซึ่งหากที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ก็จะเริ่มมาตรการผ่อนคลายระยะ 4 ในวันที่ 15 มิ.ย. หลังจากประเทศไทยไม่พบผู้ติดเชื้อภายในประเทศมาเป็นระยะเวลามากกว่า 14 วัน ต่อเนื่องแล้ว จึงอาจมีการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศในช่วงแรก แต่ยังขอความร่วมมือให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการหลัก โดยเฉพาะ สวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ และเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล

โดยในที่ประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019​ ได้พิจารณากิจการ/กิจกรรม ที่จะผ่อนคลายการบังคับใช้กฎหมายในระยะที่ 4 เพื่อป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกลุ่มที่ 4 คือ กลุ่มสีแดง ที่มีความเสี่ยงสูง

สำหรับฉบับร่างของการมาตรการผ่อนผัน มีดังนี้

1. ผ่อนผันการใช้อาคารสถานที่ คือ ให้โรงเรียนนานาชาติ สถาบันกวดวิชา เปิดได้แล้ว อีกประเภทหนึ่ง คือ หน่วยงานราชการและหน่วยงานกำกับของรัฐ มีการอบรมหลักสูตรสัมมนาอะไรต่างๆ อยู่มากมาย ซึ่งที่ผ่านมาถูกให้หยุดการทำกิจกรรม ตอนนี้เริ่มกลับมาเปิดใหม่ได้แล้ว โดยสิ่งที่ต้องเป็นมาตรการเสริมคือในเชิงของการดูแลเรื่องนักเรียน ซึ่งควรต้องนั่งเรียนห่างกัน

2. กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต

  • ภัตตาคาร โรงแรม สวนอาหาร ร้านอาหาร ขายได้ นั่งดื่มได้ แต่ไม่อนุญาตให้ผับ-บาร์ เปิด นอกจากนี้ ข้อหนึ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นด้วย คือ มีกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น มีคนคนเชียร์เบียร์ ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็แล้วแต่ เพราะในเรื่องของการส่งเสริมการขายทำให้เกิดการใกล้ชิดกัน เพราะเราไม่อยากให้ต้องใกล้ชิดกันมาก ดื่มเสร็จก็กลับกัน และงดทำกิจกรรมเสียงดัง บุฟเฟต์ก็งดตักอาหารส่วนกลางด้วยตัวเอง
  • สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ศูนย์เด็กเล็ก พูดง่ายๆ คือ ศูนย์เด็กเล็กกับสถานที่ดูแลผู้สูงอายุ ในระยะที่ 4 ผู้ที่ต้องการนำลูกไปฝากเลี้ยงในสถานที่เลี้ยงเด็กในช่วงกลางวัน คือ ส่งเช้า เย็นไปรับกลับอย่างนี้อนุญาตได้แล้ว แต่ต้องมีระยะห่างอย่างน้อย 2 ตารางเมตร ครูพี่เลี้ยงหรือครูที่ดูแลด้านนี้ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยอยากให้มีมาตรฐานมากๆ เพราะฉะนั้นผู้ดูแลด้านนี้ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรพัฒนาเด็กปฐมวัย และการป้องกันควบคุมโรค ซึ่งตามกฎหมายมีมานานแล้ว แต่ตอนนี้ก็คงจะต้องมาทำให้ชัดเจนขึ้น แยกกลุ่มเด็กเล็กตามอายุ เวลานอน 1 เตียง ห่างกันมากกว่า 1 เมตร
  • ห้องประชุมโรงแรม ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า เปิดได้แล้ว โดยการประชุมอบรมสัมมนา ต้องคิดเป็นตารางเมตรต่อคน งานเลี้ยง จัด Event สินค้า หรือแข่งขันกีฬาที่ไม่มีคนดู ทำได้แล้ว แต่ต้องมีระยะห่าง ระยะนั่ง ระยะยืน 1 เมตร
  • ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลอง จะได้รับการเปิดอีกครั้ง แต่ก็ต้องมีการกำกับดูแลเพราะเป็นที่นิยมของเด็กๆ
  • ขนส่งสาธารณะ อาจจะให้นั่งติดกันได้ 2 ที่นั่งเว้น 1 ที่นั่ง

3. กิจกรรมด้านการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพ หรือสันทนาการ

  • ก. กองถ่าย เพิ่มจำนวนคนได้แล้ว ไม่เกิน 150 คน ผู้เข้าชมไม่เกิน 50 คน รวมถึงการถ่ายทำรายการโทรทัศน์ทั้งหลายได้สร้างนวัตกรรมอะไรต่างๆ ใหม่ๆ ขึ้นมา สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นตัวอย่างที่ดี โดยมีคนบอกให้ตนช่วยแนะนำด้วยว่ารายการทั้งหลายบางคนใส่ Face Shield อย่างเดียว แล้วยืนใกล้ชิดกัน อย่างนี้ก็บอกว่าไม่ควร เพราะ Face Shield อย่างเดียวไม่ช่วย แต่หน้ากากผ้า หน้ากากอนามัย ช่วยได้
  • ข. สถานประกอบการด้านสุขภาพ สปา ออนเซ็น อบตัวสมุนไพร อบไอน้ำ แบบรวมเปิดได้แล้ว แต่ยังยกเว้น คือ กิจการอาบอบนวด โดยจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการต่อรอบที่ 725 ตารางเมตรต่อคน
  • ค. สนามเด็กเล่น สระน้ำ สวนน้ำ สระว่ายน้ำสาธารณะ เปิดได้แล้ว แต่ต้องมีการอบรม ดูแลตรวจตรา ให้คำแนะนำ แต่ว่าสวนสนุกอีกแบบหนึ่งที่ยังไม่ให้เล่น คือ บ้านลูกบอล ในห้างสรรพสินค้าจะเห็นมีโครงตาข่ายหรืออาจจะไม่ใช่เป็นในห้าง และตามต่างจังหวัดมีคนไปตั้งเป็นสวนสนุก แล้วก็ บ้านลูกบอล ที่มีลูกบอลกลมๆ เล็กๆ เด็กกระโดดลงไปมีบอลเต็มตัว รอบๆ ตัว อันนี้ไม่ให้ เพราะสารคัดหลั่งทั้งหลายจะไปอยู่กับพื้นผิวของอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้น โดยเฉพาะลูกบอล
  • ง. สนามกีฬาประเภทกลางแจ้ง โรงเรียนศิลปะการต่อสู้ โรงยิม แล้วก็สถานที่ออกกำลังกายเกือบทุกประเภท ตามกติกาสากลเพื่อการออกกำลังกาย เพื่อการฝึกซ้อม เพื่อการเรียนการสอน เล่นได้หมดทุกประเภทกีฬา แต่ถ้าจะมีการแข่งขัน ต้องไม่มีผู้ชม คือ ทำให้เขาเข้ามารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก แข่งได้เลย มีแต่คู่แข่ง ที่สำคัญไม่มีกิจกรรมอื่นมาร่วมด้วย คือ พวกกิจกรรมส่งเสริมการขาย นี่คือสิ่งหนึ่งที่จะได้ผ่อนคลายกัน
  • จ. สวนสาธารณะ ลานกิจกรรมเพื่อการออกกำลังกาย
  • ฉ. ตู้เกม เครื่องเล่นหยอดเหรียญ ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ โรงมหรสพ สวนสนุก แต่ร้านเกมภายนอกไม่ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook