“เจ. เค. โรว์ลิง” เผยอดีตอันเจ็บปวด ยืนยันตนมีสิทธิพูดถึง “คนข้ามเพศ”

“เจ. เค. โรว์ลิง” เผยอดีตอันเจ็บปวด ยืนยันตนมีสิทธิพูดถึง “คนข้ามเพศ”

“เจ. เค. โรว์ลิง” เผยอดีตอันเจ็บปวด ยืนยันตนมีสิทธิพูดถึง “คนข้ามเพศ”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากเผชิญกับกระแสโจมตีอย่างรุนแรงโดยกลุ่มสนับสนุนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ จากการแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์บทความชิ้นหนึ่ง โดยระบุว่าควรใช้คำว่า “ผู้หญิง” แทน “ผู้ที่สามารถมีประจำเดือนได้” นักเขียนชื่อดัง “เจ. เค. โรว์ลิง” เจ้าของผลงานวรรณกรรม “Harry Potter” ได้ออกมาชี้แจงแล้วว่า เธอไม่ต้องการส่งเสริมภาวะเป็นพิษในโลกอินเตอร์เน็ต ที่มีทั้งการโจมตีด้วยคำพูดและการข่มขู่จะใช้ความรุนแรง

โรว์ลิงอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่เธอศึกษาและความเชื่อของเธอ รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสิทธิของผู้หญิงและชีวิตของเยาวชน จากรูปแบบบางอย่างของนักกิจกรรมข้ามเพศ พร้อมเปิดเผยว่า สมัยที่ยังเป็นวัยรุ่น เธอต้องดิ้นรนต่อสู้กับโรคย้ำคิดย้ำทำอย่างรุนแรง และยังเคยประสบกับความรุนแรงในครอบครัวและการล่วงละเมิดทางเพศ บาดแผลจากประสบการณ์อันเลวร้ายเหล่านี้ส่งผลต่อความเชื่อและความรู้สึกเกี่ยวกับสิทธิของผู้หญิง และความกลัวว่าวันหนึ่งสิทธินี้จะถูกกัดกร่อนลงไป

อย่างไรก็ตาม เธอเชื่อว่าคนข้ามเพศส่วนใหญ่ไม่ใช่แค่ไม่เป็นอันตรายต่อคนอื่น แต่ยังเป็นกลุ่มเปราะบาง และต้องการการปกป้องดูแล ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องการให้ผู้หญิงมีความปลอดภัยน้อยลง จึงยกตัวอย่างเกี่ยวกับความต้องการของคนข้ามเพศ ที่เป็นอันตรายต่อผู้หญิง

“เมื่อคุณเปิดประตูเข้าไปในห้องน้ำและห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า เพื่อรับผู้ชายที่เชื่อว่าตัวเองเป็นผู้หญิง ก็เหมือนกับว่าคุณเปิดประตูให้กับผู้ชายทุกคนที่อยากเข้ามา”

นอกจากนี้ เธอยังกล่าวถึงการโจมตีที่เธอได้รับในดราม่าครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวหาว่า เธอกำลังฆ่าคนด้วยความเกลียดของเธอเอง หรือถูกเปรียบเทียบกับลอร์ดโวลเดอมอร์ ตัวร้ายในซีรีส์ของเธอเอง ซึ่งเธอก็ยืนยันว่ามีผู้หญิงหลายคนที่ถูกคุกคามโดยนักกิจกรรมข้ามเพศ

“ฉันไม่ขอก้มหัวให้กับการเคลื่อนไหวที่ฉันเชื่อว่าเป็นการใช้ความรุนแรง เพื่อกัดกร่อนผู้หญิง ราวกับชนชั้นทางการเมืองและทางชีวภาพ”

ส่วนประเด็นเรื่องการใช้วลี “ผู้ที่มีประจำเดือน” ในลักษณะที่หมายรวมถึงผู้หญิงข้ามเพศ โรว์ลิงระบุว่าการใช้ภาษาดังกล่าวเป็นการลดคุณค่าของผู้หญิงหลายคน

“ฉันเข้าใจว่าเหตุใดนักกิจกรรมข้ามเพศมองว่าภาษาเช่นนี้มีความเหมาะสมและดูดี แต่สำหรับพวกเราที่ถูกลดทอนคุณค่าโดยการด่าทอของผู้ชาย นี่ไม่ใช่การใช้คำกลางๆ มันเป็นการสร้างปฏิปักษ์และการทำให้เป็นอื่น”

โรว์ลิงทิ้งท้ายว่าเธอไม่ได้เขียนบทความนี้ขึ้นเพราะหวังให้ใครมาโอ๋ และเธอก็คิดว่าเธอเป็นคนที่โชคดีมาก โดยเธอกล่าวว่า การที่เธอพูดถึงเรื่องในอดีต ก็เพราะว่าเธอก็เป็นเหมือนคนอื่นๆ ทั่วโลก ที่มีเรื่องราวเบื้องหลังอันซับซ้อน ซึ่งกำหนดรูปร่างของความกลัว ความสนใจ และความคิดเห็นของเธอ และจะไม่ลืมว่าความซับซ้อนนี้ก็เกิดขึ้นในคนข้ามเพศเช่นกัน

“ทั้งหมดที่ฉันอยากจะขอก็คือ ขอให้แบ่งความเห็นอกเห็นใจและความเข้าใจให้กับผู้หญิงหลายล้านคน ที่ความผิดเพียงอย่างเดียวของพวกเธอก็คือ พวกเธอต้องการให้เสียงของเธอถูกได้ยิน โดยที่ไม่มีการข่มขู่หรือรังแก”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook