ด่วน! มติ ศบค. ยกเลิกเคอร์ฟิว คลายล็อกเฟส 4 เริ่มมีผลบังคับใช้ 15 มิ.ย.นี้

ด่วน! มติ ศบค. ยกเลิกเคอร์ฟิว คลายล็อกเฟส 4 เริ่มมีผลบังคับใช้ 15 มิ.ย.นี้

ด่วน! มติ ศบค. ยกเลิกเคอร์ฟิว คลายล็อกเฟส 4 เริ่มมีผลบังคับใช้ 15 มิ.ย.นี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ในวันนี้ (12 มิ.ย.) มีมติยกเลิกการห้ามออกนอกเคหสถานหรือเคอร์ฟิว เริ่มมีผลตั้งแต่ 15 มิ.ย.

หลังจาก นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงตัวเลขผู้ติดเชื้อประจำวันแล้วนั้น

ในเวลาต่อมา นพ.ทวีศิลป์ เปิดเผยผลการประชุม ศบค. ในวันนี้ว่า ที่ประชุมมีมติ ยกเลิกการห้ามออกนอกเคหสถานหรือเคอร์ฟิว โดยให้เริ่มมีผลตั้งแต่วันจันทร์ที่ 15 มิ.ย.นี้

ขณะที่รายละเอียดของมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 4 มีดังต่อไปนี้

1. ผ่อนผันการใช้อาคารสถานที่ คือ ให้โรงเรียนนานาชาติ สถาบันกวดวิชา เปิดได้แล้ว การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนที่มีนักเรียนรวมทั้งโรงเรียน ไม่เกิน 120 คน อีกประเภทหนึ่ง คือ หน่วยงานราชการและหน่วยงานกำกับของรัฐ มีการอบรมหลักสูตรสัมมนาอยู่มากมาย ซึ่งที่ผ่านมาถูกให้หยุดการทำกิจกรรม ตอนนี้เริ่มกลับมาเปิดใหม่ได้แล้ว โดยสิ่งที่ต้องเป็นมาตรการเสริมคือในเชิงของการดูแลเรื่องนักเรียน ซึ่งควรต้องนั่งเรียนห่างกัน

2. กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต

  • ก. การจัดการประชุม การอบรม การสัมมนา การจัดนิทรรศการ การจัดเลี้ยง การแสดงดนตรี คอนเสิร์ต (ประชุม อบรม สัมมนา คิดเกณฑ์ 4 ตร.ม./คน) (งานเลี้ยง งานอีเวนท์ ระยะนั่ง-ยืน ห่าง 1 เมตร) (งานดนตรี คอนเสิร์ต ลดความหนาแน่น เกณฑ์ 5 ตร.ม./คน)
  • ข. การบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในภัตตาคาร สวนอาหาร ศูนย์อาหาร โรงแรม ร้านอาหาร ให้เปิดได้ ยกเว้นในส่วนของสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ และโรงเบียร์ ยังไม่อนุญาตให้เปิดดำเนินการ
  • ค. สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ศูนย์เด็กเล็ก พูดง่ายๆ คือ ศูนย์เด็กเล็กกับสถานที่ดูแลผู้สูงอายุ ในระยะที่ 4 ผู้ที่ต้องการนำลูกไปฝากเลี้ยงในสถานที่เลี้ยงเด็กในช่วงกลางวัน คือ ส่งเช้า เย็นไปรับกลับอย่างนี้อนุญาตได้แล้ว แต่ต้องมีระยะห่างอย่างน้อย 2 ตารางเมตร ครูพี่เลี้ยงหรือครูที่ดูแลด้านนี้ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยอยากให้มีมาตรฐานมากๆ เพราะฉะนั้นผู้ดูแลด้านนี้ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรพัฒนาเด็กปฐมวัย และการป้องกันควบคุมโรค ซึ่งตามกฎหมายมีมานานแล้ว แต่ตอนนี้ก็คงจะต้องมาทำให้ชัดเจนขึ้น แยกกลุ่มเด็กเล็กตามอายุ เวลานอน 1 เตียง ห่างกันมากกว่า 1 เมตร
  • ง. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา เช่น ท้องฟ้าจำลอง จะได้รับการเปิดอีกครั้ง แต่ก็ต้องมีการกำกับดูแลเพราะเป็นที่นิยมของเด็กๆ
  • จ. กองถ่าย เพิ่มจำนวนคนได้แล้ว ไม่เกิน 150 คน ผู้เข้าชมไม่เกิน 50 คน รวมถึงการถ่ายทำรายการโทรทัศน์ทั้งหลายได้สร้างนวัตกรรมอะไรต่างๆ ใหม่ๆ ขึ้นมา สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นตัวอย่างที่ดี โดยมีคนบอกให้ตนช่วยแนะนำด้วยว่ารายการทั้งหลายบางคนใส่ Face Shield อย่างเดียว แล้วยืนใกล้ชิดกัน อย่างนี้ก็บอกว่าไม่ควร เพราะ Face Shield อย่างเดียวไม่ช่วย แต่หน้ากากผ้า หน้ากากอนามัย ช่วยได้

3. กิจกรรมด้านการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพหรือสันทนาการ

  • ก. สถานประกอบการด้านสุขภาพ สปา ออนเซ็น อบตัวสมุนไพร อบไอน้ำ เน้นให้บริการแบบห้องเดี่ยว ห้องแบบรวมเปิดได้แล้ว (จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการต่อรอบ คิดเกณฑ์ 5 ตร.ม./คน)  แต่ยังยกเว้น คือ กิจการอาบอบนวด
  • ข. การออกกำลังกายแบบกลุ่มในสวนสาธารณะ ลานกิจกรรม พื้นที่กิจกรรมสาธารณะหรือลานกีฬากลางแจ้ง (จำกัดรวมกลุ่ม คิดเกณฑ์ 5 ตร.ม./คน รวมไม่เกิน 50 คน)
  • ค. สวนน้ำ สนามเด็กเล่น สวนสนุก ยกเว้นเครื่องเล่นที่มีพื้นผิวสัมผัสมาก ซึ่งอาจมีความเสี่ยงต่อการติดโรคในเด็ก เช่น บ้านบอล บ้านลม (สวนน้ำ คิดเกณฑ์ 4 ตร.ม. ต่อผู้ใช้บริการ 1 คน)
  • ง. สนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกาย ลานเล่นกีฬา หรือเพื่อการเรียนการสอนในทุกประเภทกีฬา โดยสามารถจัดแข่งขันและถ่ายทอดโทรทัศน์การแข่งขันกีฬาได้แต่ต้องไม่มีผู้ชมอยู่ในสนามแข่งขันและผู้จัดต้องดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการที่ทางราชการกำหนดด้วย
  • จ. ตู้เกม เครื่องเล่นหยอดเหรียญ ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ โรงมหรสพ สวนสนุก แต่ร้านเกมภายนอกไม่ได้

นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. กล่าวก่อนการประชุมว่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ไทยเคยอยู่ในอันดับของประเทศที่มีผู้ป่วยมากที่สุดของโลกในลำดับต้นๆ แต่ปัจจุบันไทยอยู่ในอันดับที่ 85 ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างมาก และถือเป็นความสำเร็จร่วมกันของคนไทยทุกคน พร้อมกับขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่ทุ่มเท เสียสละ ช่วยกันทำงานอย่างหนักมาจนถึงวันนี้ และยังต้องทำต่อไป ซึ่งการทำงานในการแก้ปัญหาดังกล่าวของไทย ได้รับการเผยแพร่และตีพิมพ์ในระดับโลก ถือเป็นความภูมิใจของคนไทยทุกคน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook