PEA ก้าวเข้าสู่ปีที่ 60 อย่างยิ่งใหญ่ ย้อนดูตำนานของความสว่างไสวกับการกำเนิดไฟฟ้าในประเทศไทย
เพราะแสงสว่างไม่ใช่เพียงความสว่างไสวจากหลอดไฟเท่านั้น แต่ยังรวมถึง ความหวัง ความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดี อันเป็นแสงสว่างภายในใจของ ผู้ใช้ไฟฟ้าอีกด้วย การกำเนิดไฟฟ้าในประเทศไทยจึงได้เปลี่ยนวิถีชีวิต ของพวกเราไปตลอดกาล
พ.ศ. 2427 - 2503 : แรกมีไฟฟ้าใช้ในประเทศไทย ก่อตั้ง PEA ในปี 2427 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประเทศไทยได้มีไฟฟ้าใช้เป็นครั้งแรก
ในปี พ.ศ.2473 ได้พัฒนามาเป็นองค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จากนั้นมาไฟฟ้าจึงได้แพร่หลายไปสู่หัวเมืองต่างๆ ประเทศไทยเริ่ม พัฒนาท้องถิ่นให้เจริญขึ้น มีการทยอยก่อสร้างไฟฟ้าให้ชุมชนขนาดใหญ่ระดับจังหวัดและอำเภอต่างๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รัฐบาลเห็นความจำเป็นในการเร่งขยายการก่อสร้างกิจการไฟฟ้า เพิ่มขึ้นใหม่ และดำเนินกิจการไฟฟ้าที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น จึงได้จัดตั้ง สถาปนาการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA ขึ้นเมื่อ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2503
พ.ศ. 2503 - 2523 : PEA เริ่มบุกเบิกก่อสร้างไฟฟ้าให้ชุมชน เร่งรัดขยายไฟฟ้าสู่ชนบท โดยที่ตั้งแห่งแรกของ PEA อยู่ที่ถนนพระราม 6 ริมคลองประปาสามเสน ก่อนจะมีการขยับขยายไปยังสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ ที่ถนนงามวงศ์วาน อำเภอบางเขน จังหวัดพระนครมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2514 การก่อสร้างระบบจำหน่ายไฟฟ้าไปยังท้องที่ต่างๆ เต็มไปด้วยอุปสรรค เช่น การจัดหาเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้า การหาช่างเครื่องไปทำการติดตั้ง การเดินทางเพื่อนำเครื่องจักรรวมทั้งเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า ไปยังหมู่บ้านห่างไกล กันดาร บางแห่งต้องใช้แรงคนและพาหนะขนาดเล็ก ที่ต้องใช้ความร่วมแรง มานะ อุตสาหะยิ่งแต่เพราะ “ประชาชนมีความต้องการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก” คือแรงผลักดันให้ PEA ต้องทำทุกวิถีทาง เพื่อนำไฟฟ้าไปให้ถึงทุกครัวเรือน เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วประเทศ
พ.ศ. 2524 - 2533 : พัฒนาคุณภาพระบบไฟฟ้า ส่งเสริมความเจริญทางด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม เมื่อไฟฟ้าได้ก้าวมาเป็นส่วนสำคัญในโครงสร้างพื้นฐาน มีบทบาทสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้านของประเทศไทย PEA จึงได้เร่งดำเนินการเสริมระบบจำหน่ายไฟฟ้าเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบไฟฟ้า ให้มีความพร้อมสำหรับรองรับการขยายตัวของการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในด้านการส่งเสริมความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของประชาชนบนเกาะ PEA ได้ดำเนินการวางสายเคเบิ้ลใต้น้ำเป็นครั้งแรกในประเทศไทย จากสถานีไฟฟ้าย่อยขนอม ไปยังเกาะสมุย ทำให้มีพลังงานสำรองเพียงพอใช้บนเกาะนอกจากนี้ได้เริ่มพัฒนานำพลังงานทดแทน ได้แก่ พลังงานน้ำและพลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าจ่ายให้กับชุมชนห่างไกลและบางส่วนได้ส่งเข้าระบบจำหน่ายของ PEA เป็นการส่งเสริมให้ความมั่นคงของระบบไฟฟ้าขณะเดียวกันก็มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาระบบการทำงานรวมทั้งนำอุปกรณ์เครื่องมือประสิทธิภาพสูงมาใช้ เพื่อให้บริการของ PEA มีประสิทธิภาพ สนองความพึงพอใจของผู้ใช้ไฟฟ้า
พ.ศ. 2534 - 2543 : นำเทคโนโลยีชั้นสูงมาพัฒนามาตรฐานการบริการระดับสากล ต่อมา PEA ได้เริ่มนำเทคโนโลยีชั้นสูงมายกระดับมาตรฐานระบบสายส่งและการบริการพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้เพียงพอกับการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมนำระบบ SCADA มาควบคุมสั่งการจ่ายไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ และพัฒนาการปฏิบัติงานด้านการบำรุงรักษาระบบจำหน่ายโดยไม่ต้องดับกระแสไฟฟ้าเพื่อประสิทธิภาพในการใช้ไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรม
พ.ศ. 2544 - 2553 : พัฒนาองค์กรเพื่อก้าวสู่ระดับสากลในธุรกิจพลังงานความเจริญรุดหน้าแบบก้าวกระโดดของวิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทางการพัฒนาโครงสร้างและภารกิจขององค์กร รวมทั้งพัฒนาศักยภาพบุคลากรและบริหารจัดการทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และเพิ่มความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขางาน สร้าง PEA ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ควบคู่กับการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องพร้อมพัฒนาสู่ระดับสากลด้วยการนำวิทยาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ มาพัฒนาประสิทธิภาพการกระจายกระแสไฟฟ้า และการให้บริการ รวมทั้งนำระบบบริหารคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9002 มาใช้ทั้งองค์กร
พ.ศ. 2554 - 2563 : ยกระดับการดำเนินงาน ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ PEA DIGITAL UTILITY จากแนวคิดที่ให้ลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลาง PEA จึงมุ่งเน้นการเพิ่มความพึงพอใจจากการได้รับบริการ ที่สะดวก รวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา ปรับเปลี่ยนการดำเนินงานไปสู่การร่วมสร้างคุณค่าสู่สังคม (CREATING SHARED VALUE) การดำเนินธุรกิจให้ตรงกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสู่การเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน สู่องค์กรที่เป็นเลิศด้านธุรกิจพลังงานไฟฟ้าโดยพัฒนาประสิทธิภาพของทุกระบบงาน การตอบสนองความคาดหวังของกลุ่มลูกค้าด้วยแนวทางการบริหารและพัฒนาองค์กรตามหลักธรรมาภิบาลขับเคลื่อนองค์กรให้ทันสมัยด้วยทุนมนุษย์ เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม ร่วมสร้างคุณค่าสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ PEA DIGITAL UTILITY
(Advertorial)