ผู้เชี่ยวชาญชี้ ผู้หญิงทุกคนควรได้รับการตรวจ “โรควิตกกังวล”

ผู้เชี่ยวชาญชี้ ผู้หญิงทุกคนควรได้รับการตรวจ “โรควิตกกังวล”

ผู้เชี่ยวชาญชี้ ผู้หญิงทุกคนควรได้รับการตรวจ “โรควิตกกังวล”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กลุ่มคณะทำงานเพื่อสุขภาพของผู้หญิง เผยแพร่ข้อเสนอแนะที่ระบุว่า ผู้หญิงทุกคน ตั้งแต่อายุ 13 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจหา “โรควิตกกังวล” โดยผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ภาวะวิตกกังวลที่ไม่สามารถรักษาได้จะส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้หญิงในหลายระดับ การตรวจเจอโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“ภาวะวิตกกังวลอาจไม่มีอาการใด ๆ เลยก็ได้ มันจึงไม่ง่ายเลยที่แพทย์จะรู้ได้ว่าใครมีภาวะดังกล่าว ดังนั้น หากเราสามารถถามคำถามเพียงไม่กี่คำถามได้ เราก็สามารถให้ความช่วยเหลือได้”  ดร. Heidi Nelson อาจารย์ประจำคณะสุขภาพและวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยออรีกอน กล่าว

ผู้หญิงมีอัตราการเกิดภาวะวิตกกังวลมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า ขณะที่ผู้หญิงตั้งครรภ์และคุณแม่หลังคลอด เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมากที่สุด ฮอร์โมนอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดภาวะวิตกกังวล แต่ความกดดันทางสังคมต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิงก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยของการล่วงละเมิดทางเพศ และความรุนแรงทางเพศอีกด้วย ดร. Nelson ระบุว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะวิตกกังวล อาจไม่แสดงอาการใด ๆ แต่จะเกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์ การเรียน และการทำงาน

“มันเป็นอาการที่ฉุดรั้งผู้หญิงเอาไว้ เป็นอาการที่บั่นทอนจิตใจของพวกเธอด้วยวิถีชีวิตที่เป็นวงจร” ดร. Nelson กล่าว

ดร. Jeanne Conry ผู้บริหารของศูนย์บริการเพื่อป้องกันสุขภาพของผู้หญิง อธิบายว่า คณะทำงานเสนอให้มีการตรวจหา “โรควิตกกังวล” อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากผู้ป่วยที่ต้องทนทุกข์กับภาวะอาการดังกล่าวมักจะไม่พูดถึงปัญหาของพวกเธอให้หมอฟัง

“มันคงจะดี ถ้าผู้หญิงเดินเข้ามาที่คลินิก และบอกว่า “ฉันเป็นโรควิตกกังวล” แต่สถานการณ์ตอนนี้ไม่ใช่แบบนั้น ผู้หญิงต้องพบเจอกับปัญหาอยู่ตลอดเวลา แต่พวกเธอมักเลือกที่จะไม่พูดมันออกมา” ดร. Conry กล่าว

หากการตรวจหาโรคชี้ว่า ผู้หญิงหรือเด็กผู้หญิงคนนั้นมีภาวะของโรควิตกกังวล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะทำการประเมินผลเพิ่มเติม ขณะเดียวกัน ก็สามารถให้ความช่วยเหลือ ซึ่งรวมถึงการใช้ยาและการบำบัดได้ อย่างไรก็ตาม คณะทำงานพิเศษเพื่อการป้องกันโรค ได้แนะนำให้ผู้ใหญ่ทุกคนเข้ารับการตรวจหา “โรคซึมเศร้า” ซึ่งข้อแนะนำนี้ได้รับการเผยแพร่ตั้งแต่ปี 2016

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook