วิษณุ แย้ม ศบค.จ่อถกยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก่อนสิ้นเดือน ชี้ยังมีลุ้นหยุดยาวชดเชยสงกรานต์

วิษณุ แย้ม ศบค.จ่อถกยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก่อนสิ้นเดือน ชี้ยังมีลุ้นหยุดยาวชดเชยสงกรานต์

วิษณุ แย้ม ศบค.จ่อถกยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก่อนสิ้นเดือน ชี้ยังมีลุ้นหยุดยาวชดเชยสงกรานต์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"วิษณุ" คาด ศบค. หารือยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก่อนสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ย้ำถ้ายกเลิกแล้ว สถานการณ์โควิด-19 แย่ลง นายกฯ สามารถประกาศใช้ได้อีก ย้ำคืนวันหยุดสงกรานต์ เป็นอำนาจ ครม. เผยมีลุ้นหยุดยาว 

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า การประชุม ศบค. ครั้งล่าสุด ยังไม่มีการพูดถึงการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เนื่องจากยังต้องประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 นับจากนี้อีก 15 วัน โดยคาดว่าจะมีการพูดคุยในที่ประชุม ศบค. ก่อนสิ้นเดือน 1 สัปดาห์ แล้วจึงนำเข้าที่ประชุม ครม. ในวันที่ 23 มิ.ย.นี้

ส่วนกิจการ/กิจกรรมในระยะที่ 4 ที่ยังไม่อนุญาตให้เปิด ยังไม่มีการหารือกันว่าจะผ่อนคลายเมื่อใด แต่ก็จะมีการประเมินเหมือนก่อนหน้านี้ที่ประเมินทุก 2 สัปดาห์ แต่หากยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน กิจการต่างๆ เหล่านี้ก็สามารถเปิดได้

รองนายกฯ วิษณุ ยังกล่าวต่อด้วยว่า ถ้ายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไปแล้ว หากสถานการณ์การแพร่ระบาดแย่ลง นายกรัฐมนตรีก็สามารถกลับมาประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ใหม่ได้ทันที แล้วค่อยนำเรื่องเข้า ครม. ภายใน 3 วัน

พร้อมกันนี้ ได้ยกตัวอย่างว่าในต่างประเทศอย่างอิตาลี มีทนายความฟ้องร้องรัฐบาล กรณีประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ล่าช้า จนทำให้สถานการณ์ในประเทศแย่ลง มีคนบาดเจ็บล้มตาย นอกจากนี้ ที่อังกฤษก็มีการฟ้องร้องนายกฯ ที่ประกาศล็อกดาวน์ เมื่อ 23 มี.ค. ที่ผ่านมา ช้าไป ทำให้เกิดความเสียหาย แต่สำหรับประเทศไทย เมื่อประกาศไปแล้ว กลายเป็นเรื่องโอเวอร์ มีคนไปฟ้องว่าทำประชาชนเดือดร้อน

นอกจากนี้ นายวิษณุ เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการพิจารณาวันหยุดชดเชยสงกรานต์ ว่า ตอนนี้เร็วไปที่จะพูดถึง เพราะเดือนหน้ามีวันหยุดถึง 4 วัน ซึ่งการพิจารณาวันหยุดเป็นอำนาจของ ครม. ฉะนั้นไม่ต้องนำมาพูดกันในที่ประชุม ศบค. เพราะไม่เกี่ยวกับโควิด-19 แต่เป็นเรื่องสิทธิผู้ใช้แรงงาน วันหยุดราชการ มีผลต่อข้าราชการกับผู้ใช้แรงงาน

ซึ่งข้าราชการจะหยุดหรือไม่ ไม่ได้เป็นปัญหา เพราะข้าราชการทำงาน 24 ชั่วโมง แต่ผู้ใช้แรงงานถือเป็นสิทธิที่ 1 ปี ควรจะมีวันหยุดได้กี่วัน เมื่อดึงวันสงกรานต์ออกมา ก็ต้องคืนกลับให้ผู้ใช้แรงงาน หลักคือคืนวันหยุดให้กับผู้ใช้แรงงานมากกว่าข้าราชการ แต่ข้าราชการจะได้หยุดไปด้วย

ส่วนจะต้องไม่เกิน 4 วันหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับมติ ครม. หากให้เกิน 4 วันได้ ก็ถือว่าได้ไม่ได้เป็นปัญหา ทั้งนี้ 4 วันที่เคร่งครัดกัน คือเรื่องของตลาดหุ้นกับธนาคาร ซึ่งเป็นคนละอย่างกัน เมื่อถามว่ากระแสข่าวที่หยุดยาว 6 วัน หรือ 9 วันมีลุ้นใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวทิ้งท้ายว่า สุดท้ายก็เกิน 4 วันอยู่ดี มีข้อยกเว้นได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook