“โควิด-19” สะท้อนความไม่เท่าเทียมด้านสุขภาพในสหรัฐฯ

“โควิด-19” สะท้อนความไม่เท่าเทียมด้านสุขภาพในสหรัฐฯ

“โควิด-19” สะท้อนความไม่เท่าเทียมด้านสุขภาพในสหรัฐฯ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การเสียชีวิตของ “จอร์จ ฟลอยด์” จุดชนวนการประท้วงต่อต้านการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อคนผิวดำที่ลุกลามไปทั่วสหรัฐอเมริกา กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงหลายเชื้อชาติได้เรียกร้องให้ยุติการเหยียดเชื้อชาติและการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมต่อคนผิวดำ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีอยู่อย่างยาวนานในสังคมอเมริกัน ยิ่งไปกว่านั้น การเสียชีวิตของฟลอยด์ยังได้สะท้อนภาพความไม่เท่าเทียมทางสุขภาพของสหรัฐฯ อีกด้วย

แม้โรคโควิด-19 จะไม่เลือกเชื้อชาติและสีผิวของผู้ติดเชื้อ แต่ระบบสุขภาพในหลายประเทศก็สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยจากข้อมูลการสำรวจพบว่า ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนผิวดำจะมีอัตราการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นคนผิวขาวถึง 3 เท่า ขณะที่อัตราการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ของคนผิวดำ มีมากกว่าถึง 6 เท่า ขณะเดียวกัน อัตราการเป็นโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคความดันสูงของชุมชนคนผิวสีที่สูงมาก ก็นำไปสู่ความเสี่ยงติดโรคโควิด-19 ที่สูงตามไปด้วย และช่วงชีวิตของผู้ชายผิวดำก็น้อยกว่าผู้ชายผิวขาวถึง 4 ปี

รายงานเรื่องปัจจัยของความไม่เท่าเทียมทางด้านสุขภาพมีมานานหลายทศวรรษ ซึ่งข้อเสียเปรียบทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น การทำงาน ทีอยู่อาศัย และการศึกษา ล้วนส่งผลกระทบต่อคนในสังคม ทั้งในแง่ของโรคระบาดและความรุนแรง โดยโรงพยาบาลและระบบสุขภาพของสหรัฐฯ ถูกมองว่าไม่ต้อนรับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรม หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ก็ยังแสดงอคติออกมาโดยไม่รู้ตัว

อย่างไรก็ตาม การเลือกปฏิบัติ เพราะเหตุแห่งสีผิวและเชื้อชาติในระบบสุขภาพของสหรัฐฯ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยสหรัฐฯ ต้องรักษาไว้ซึ่งระบบข้อมูลคุณภาพสูง เพื่อตรวจสอบผลทางการแพทย์สำหรับชุมชนของคนผิวสี โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตสุขภาพ วิธีการนี้จะช่วยชี้ให้เห็นการขาดแคลนข้อมูลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งแยกตามเชื้อชาติและชาติพันธุ์ และนำไปสู่การตรวจหาเชื้อและรักษาโรคที่ไร้ประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ สหรัฐฯ ต้องเพิ่มประกันสุขภาพให้ครอบคลุมประชาชนที่ไม่มีประกันสุขภาพกว่า 29 ล้านคน และเปิดช่องทางให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษา ทั้งนี้ การเพิ่มระบบประกันสุขภาพของรัฐยังจะช่วยสนับสนุนกลุ่มประชากรรายได้น้อยอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ระบบสุขภาพและบุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องมีมาตรฐานการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและภาษา เพื่อทำการรักษาทุกคนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่มีอคติและการเลือกปฏิบัติ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook