บุกพิสูจน์ แมวพูดได้ คนตะลึง! เรียก พ่อ

บุกพิสูจน์ แมวพูดได้ คนตะลึง! เรียก พ่อ

บุกพิสูจน์ แมวพูดได้ คนตะลึง! เรียก พ่อ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บุกพิสูจน์ แมวพูดได้ เจ้าของตั้งชื่อ ปลาเก๋า เป็นแมวตัวผู้ สามสี อายุ 8 ปี อยู่ อ.ขลุง จ.จันทบุรี กำนันพาคณะพิสูจน์กับหู ถึงกับตะลึงได้ยินแมวร้องออกเสียงคล้ายคน เจ้า ของเผยเห็นแววพูดได้ตั้งตอนอายุ 3 ปี เลย สอนมาเรื่อยๆ จนสามารถออกเสียงคล้ายคนได้หลายคำ เช่นคำว่า จ๋า พ่อ รักแม่ ไม่เอา กลัว ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ระบุน่าจะเป็นพฤติกรรมเลียนแบบเจ้าของ ที่พยายามพูดให้ฟังซ้ำๆ มากกว่า เพราะธรรมชาติของแมว ยังไงก็พูดไม่ได้ ทำได้แต่ออกเสียงคล้ายเสียงคนเท่านั้น

เมื่อวันที่ 26 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.จันทบุรี ว่ามีชาวบ้านใน ต.มาบไพ อ.ขลุง พากันร่ำลือว่ามีแมวแสนรู้สามารถเลียนแบบเสียงคนพูดได้ เป็นที่ฮือฮาแก่ผู้พบเห็น จากการตรวจสอบทราบว่าเจ้าของแมวดังกล่าว อยู่บ้านเลขที่ 28/4 อยู่กลางหุบเขาหัวแหวน หมู่ 6 ต.มาบไพ นายอรัญ เวชกรรม กำนันต.มาบไพ สารวัตร กำนันและกรรมการหมู่บ้าน พร้อมผู้สื่อข่าวจึงร่วมกันเดินทางไปพิสูจน์ พบเป็นบ้านก่ออิฐชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง โดยนายเฉลยทรง หกยอด อายุ 48 ปี และนางสุวรรณรา เวชชาชีพ อายุ 45 ปี สามีภรรยา ได้นำแมวเพศผู้ 3 สี อายุ 8 ปี ชื่อปลาเก๋า มาให้ดูพิสูจน์ว่าสามารถร้องเสียงเหมือนคนได้จริง

โดยเจ้าของได้ เรียกชื่อว่า "เก๋าเอ๊ย เก๋าเอ๊ย" ปรากฏว่าแมวส่งเสียงร้องขานรับว่า"จ๋า" สร้างความแปลกใจให้แก่คณะของนายอรัญ นอก จากนี้เมื่อนายเฉลยทรงพูดกับแมวว่า "ไหน ลองเรียกพ่อซิ" แมวก็ร้องออกเสียงว่า"พ่อ" และเมื่อนางสุวรรณาพูดว่า"เก๋าเอ๊ย รักแม่มั้ย" แมวก็ร้องตอบว่า"รักแม่" นางสุวรรณาพูดซ้ำว่า "รักแม่มั้ยจ๊ะ" เจ้าปลาเก๋าก็ร้องตอบว่า "รักจ๊ะ" นอกจากนี้เมื่อเจ้าของอุ้มไปยังลำธารน้ำข้างบ้าน เจ้าแมว ก็ส่งเสียงร้องว่า "ไม่เอา กลัว" โดยนายเฉลยทรงบอกว่า เจ้าปลาเก๋าไม่ชอบลำธารและไม่ชอบอยู่ใกล้น้ำ

นางสุวรรณากล่าวว่า สาเหตุที่ตั้งชื่อว่าปลาเก๋า เนื่องจากเป็นแมวที่มีสีเทาลายๆ คล้ายสีของปลาเก๋า เป็นแมวที่แม่แมวหลงมาออกลูกที่บ้าน มี 3 ตัวตายหมด เหลือเจ้าปลาเก๋าตัวเตียว เป็นแมวไม่ซุกซน เลี้ยงอยู่ในบ้าน คุ้นเคยกับหมาที่เลี้ยงไว้ 10 ตัว ไม่จับหนูกิน ชอบกินปลาทูต้มคลุกข้าว

ด้าน นายเฉลยทรง กล่าวเสริมว่า ปลาเก๋าเริ่มหัดพูดเมื่อมีอายุได้ 3 ปี ตอนนั้นพูดไม่ชัด อีก ทั้งตนพยายามพูดกับแมวบ่อยๆ ตอนแรกๆ ทดลองเรียกคำว่า "แม่" เจ้าปลาเก๋าก็ได้แต่ส่งเสียงว่า"แอ้ แอ้" จึงคิดว่าแมวน่าจะพูดได้ จึงเริ่มสอนให้พูดจนกระทั่งพูดคำยาวๆได้

นายอรัญ กล่าวว่า ได้ยินเรื่องแมวพูดได้ จากชาวบ้านที่พูดกันปากต่อปาก ตอนแรกไม่เชื่อ จนกระทั่งมาพิสูจน์ความจริง ได้ยินกับหู ได้เห็นกับตาด้วยตนเอง เชื่อแล้วจริงๆ

วันเดียวกัน น.สพ.อลงกรณ์ มหรรณพ นายสัตวแพทย์ ช่วยราชการสำนักพระราชวัง กล่าวถึงกรณีแมวพูดได้ว่า แมวไม่สามารถพูดภาษามนุษย์ได้ แต่อาจจะออกเสียงคล้ายเสียงมนุษย์ ได้ ทั้งนี้ เพราะสมองของแมวไม่มีการพัฒนาด้านระบบการจดจำ เพื่อให้สมองสั่งการไปยังปาก ลิ้นและบริเวณช่องปาก เพื่อให้ปากขยับให้พูดออกมาเป็นรูปประโยคได้ แต่อาจเป็นเพียงพฤติกรรมการเลียนแบบเสียงที่ได้รับฟังจากเจ้าของที่พูดซ้ำๆ หลายครั้ง จนแมวพยายามออกเสียงใกล้เคียงกับเสียงร้องได้ เช่นเดียวกับนกขุนทอง สุนัข ที่สามารถออกเสียงคล้ายภาษาคนแต่ก็ได้เพียงไม่กี่คำ

"การสื่อสารของ แมวนั้นไม่สามารถสื่อสารโดยการพูดได้ เพราะแมวเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีเขี้ยว มีเล็บ ดังนั้นจะใช้วิธีการสื่อสารด้วยการ ใช้ปัสสาวะเพื่อบอกอาณาเขตให้ตัวอื่นได้รับรู้ หรือในช่วงฤดูผสมพันธุ์ แมวตัวผู้จะใช้เสียง ร้องเพื่อสื่อสารไปยังแมวตัวเมีย รวมถึงการออกเสียงข่มขู่ศัตรูก็จะใช้เสียงเฉพาะ" น.สพ.อลงกรณ์ กล่าว

ด้าน สพ.ญ.พันพิชา สัตถาสาธุชนะ อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกสัตว์เลี้ยง คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า มีทีมงานจากรายการบางอ้อ นำวิดีโอบันทึกภาพและเสียงแมวตัวดังกล่าวมาเปิดให้ดูประมาณ 5 นาที ตอนแรกก็รู้สึกแปลกใจที่สามารถออกเสียงได้คล้ายเสียงคน แต่เท่าที่ฟังมีเพียงไม่กี่ เสียง เช่น "รัก" "ไม่เอา" "กลัว" เราก็ไม่รู้ว่ามันเข้าใจความหมายหรือไม่เพราะไม่ได้ตรวจหรือศึกษาอย่าง ละเอียด แต่เข้าใจว่าน่าจะเป็นพฤติ กรรมเลียนเสียงเจ้าของ เพราะเมื่อออกเสียง แบบที่เจ้าของต้องการ แล้วเจ้าของให้รางวัลเป็นความรักความเอ็นดู ลูบตัวลูบคางหรือให้อาหาร แมวก็จะรับรู้ว่าได้ความรักมันก็จะจดจำ ตรงนี้เป็นพฤติกรรมของสัตว์

สพ. ญ.พันพิชา กล่าวต่อว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าแมวจะออกเสียงเหมียว ซึ่งคล้ายกับเสียงคำ ว่า"ไม่เอา" อีกทั้งเราก็ไม่ได้ตรวจกล่องเสียงของแมวตัวนี้ว่าผิดปกติหรือไม่ เพราะแมวส่วนใหญ่จะมีโทนเสียงที่สูง แต่ตัวนี้จะออกเสียงในโทนเสียงต่ำได้ ซึ่งจะตรงกับโทนเสียงของมนุษย์บางคำ แต่ส่วนตัวคิดว่าน่าจะเป็นพฤติกรรมเลียนแบบเสียงเจ้าของมากกว่าคล้ายกับนก แก้ว นกขุนทอง ที่เจ้าของพยายามฝึกให้พูด โดยการสอนซ้ำๆ จนสามารถจดจำได้

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook