“ปฏิวัติอเมริกา” อีกหนึ่งต้นเหตุสู่การขับเคลื่อนไหว Black Lives Matter

“ปฏิวัติอเมริกา” อีกหนึ่งต้นเหตุสู่การขับเคลื่อนไหว Black Lives Matter

“ปฏิวัติอเมริกา” อีกหนึ่งต้นเหตุสู่การขับเคลื่อนไหว Black Lives Matter
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การรื้อถอนอนุสาวรีย์ฝ่ายใต้ในสหรัฐอเมริกา จุดชนวนข้อถกเถียงเรื่อง “การเหยียดสีผิว” ที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานในสังคมอเมริกัน ถึงแม้ว่า “สงครามกลางเมือง” จะมีสาเหตุจากความขัดแย้งของชนชั้นนำเพื่อแย่งชิงอำนาจ แต่นักประวัติศาสตร์ก็เห็นพ้องกันว่า ต้นตอของสงครามในครั้งนี้คือ “การถือครองทาส” โดยสงครามที่ร้ายแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติสหรัฐฯ ครั้งนี้ เกิดขึ้นจากความพยายามรักษา “สถาบันคนผิวขาว” ของรัฐทางใต้ แต่อีก 155 ปีต่อมา อนุสาวรีย์ของผู้นำฝ่ายใต้กลับถูกรื้อถอน ธงของฝ่ายใต้ถูกสั่งห้ามใช้ในกิจกรรมสาธารณะ ขณะที่ชื่อฐานทัพของกองทัพสหรัฐฯ ที่ตั้งตามชื่อของผู้นำฝ่ายใต้ ก็ต้องเผชิญกับความกดดันให้เปลี่ยน 

อย่างไรก็ตาม สงครามกลางเมืองไม่ได้เกิดขึ้นในทันทีทันใด แต่เป็นจุดเดือดของการเหยียดคนผิวดำเชื้อสายแอฟริกัน ที่คุกรุ่นอยู่ในสถาบันทางสังคมมาอย่างยาวนาน โดย 240 ปีก่อนสงครามกลางเมือง มีการกดขี่สิทธิการอยู่อย่างเสรีของคนผิวดำในแผ่นดินอเมริกาอย่างหนักหน่วง หรือการปฏิบัติต่อคนกลุ่มนี้เยี่ยง “ทาส” จนนำไปสู่ความพยายามลุกขึ้นมาต่อสู้ ที่ทั้งประสบความสำเร็จและล้มเหลวหลายต่อหลายครั้ง ยิ่งไปกว่านั้น สงครามกลางเมืองยังเป็นจุดเดือดของนโยบายด้านสีผิวที่ล้มเหลว เหตุผลเหล่านี้ ทำให้คนอเมริกันในปัจจุบันจึงต้องการให้รื้อถอนอนุสาวรีย์เพื่อเปลี่ยนแปลงความเชื่อและความเข้าใจอดีตของประเทศ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ “สงครามกลางเมือง” ไม่ใช่สงครามเดียวในสหรัฐฯ ที่มี “ทาส” เป็นองค์ประกอบสำคัญ  

ย้อนกลับไปถึงสงครามในปี 1812 ทหารอังกฤษออกลาดตระเวนตามเส้นทางจากบัลติมอร์ถึงวอชิงตัน และผ่านพื้นที่ของนายทาส ซึ่งทหารอังกฤษทำให้กลุ่มทาสแปรพักตร์เข้าร่วมกับฝ่ายอังกฤษเป็นจำนวนมาก แม้ในช่วงท้ายของสงคราม สถานที่สำคัญของสหรัฐฯ จะถูกทำลายลง แต่สงครามครั้งนี้ก็เป็นการปลดแอกทาสครั้งใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ คือมากกว่า 4,000 คนในช่วงปี 1776 ถึง 1865 และต่อมา กลุ่มทาสเหล่านี้ได้เดินทางไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่รัฐโนวาสโกเชีย ประเทศแคนาดา และประเทศจาเมกา

ยิ่งไปกว่านั้น ปัจจัยเรื่องทาสผิวดำเชื้อสายแอฟริกันยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสงครามปฏิวัติอเมริกาอีกด้วย โดยก่อนหน้าที่จะเกิดสงคราม ชาวอเมริกันที่อยู่ในรัฐทางใต้มีความภักดีต่อจักรวรรดิอังกฤษ และดื่มด่ำไปกับสถานะ “ลูกรัก” ซึ่งรัฐทางตอนเหนือไม่มี ผู้ครองรัฐทางใต้มักส่ง “สินค้าคุณภาพดี” ไปให้กับอังกฤษ เช่น ฝ้าย ไม้และคราม รวมถึงยาสูบ ข้าว และน้ำตาล แม้ว่าสินค้าเหล่านี้จะได้มาจากเหล่าแรงงานทาสผิวดำ แต่ทางอังกฤษเองก็พยายามมองข้ามไป ขณะที่ “การค้าไตรภาคี” ก็รวมไปถึงการนำเข้าทาสจากแอฟริกาทางใต้ซึ่งกลายเป็นเรื่องปกติ ดังนั้น หากไม่นับรวมความกังวลเรื่องภาษีที่ต้องเสียให้กับอังกฤษของผู้ครองรัฐทางใต้ เรื่องทาสไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายของพวกเขา เหมือนที่เกิดขึ้นกับรัฐทางตอนเหนือ แต่อะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้ครองรัฐทางใต้เข้าร่วมสงครามปฏิวัติอเมริกา 

จากหนังสือเรื่อง In the Matter of Color ของ A. Leon Higginbotham Jr. ปี 1978 และหนังสือ Slave Nationของ Alfred W. และ Ruth G. Blumrosen ปี 2005 ได้ข้อสรุปเดียวกันว่า ผู้ครองรัฐทางใต้ไม่มีเหตุผลใดที่ต้องเอาชีวิตและทรัพย์สินของตัวเองมาเสี่ยงในการทำสงคราม จนกระทั่งการตัดสินคดีที่เกิดขึ้นในศาลสูงของอังกฤษ ในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 1772 โดยมีประกาศเลิกทาส ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเจ้าของทาสในรัฐทางตอนใต้ ช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปี 1772 ในช่วงเวลา 3 ปีหลังเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ที่บอสตัน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 1770 ถูกเรียกว่า “ปีที่เงียบสงัด” จนกระทั่งวันที่ 12 มีนาคม 1773 ความเงียบเริ่มหายไปในเวอร์จิเนีย ในตอนนั้น Thomas Jefferson, James Madison และ Patrick Henry บอกกับ Benjamin Franklin ว่า หากเวอร์จิเนียยังอยู่ใต้จักรวรรดิอังกฤษ ทาสทั้งหมดจะได้รับอิสรภาพ ซึ่งจะทำให้ผืนดินทำกินและครอบครัวของเจ้าของทาสตกอยู่ในความเสี่ยง ดังนั้นทางออกเดียวคือการแยกตัวออกจากจักรวรรดิ ดังนั้น ในปี 1775 ผู้ครองรัฐทั้ง 13 คนได้ร่วมมือกันเพื่อหาทางประกาศอิสรภาพ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook