คนโอดเดือดร้อน เงินไม่พอใช้ ยี้ว่าที่รัฐมนตรีโยงโกง

คนโอดเดือดร้อน เงินไม่พอใช้ ยี้ว่าที่รัฐมนตรีโยงโกง

คนโอดเดือดร้อน เงินไม่พอใช้ ยี้ว่าที่รัฐมนตรีโยงโกง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ซูเปอร์โพล ปชช. 63.9% เดือดร้อนเงินไม่พอใช้ คือทุกข์ยากหลักด้านเศรษฐกิจ ขณะ 90.7% ชี้ความล้มเหลวในการแก้ปัญหาการเมือง คาดต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เสียงสนับสนุนรัฐบาลจะลดฮวบลง

สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่องเหตุปัจจัย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลแบบผสมผสาน (Mixed Method) การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ การลงพื้นที่ และการเก็บข้อมูลในโลกโซเชียล ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน1,187 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 25–26 มิ.ย. ที่ผ่านมา

พบว่า ร้อยละ 63.9 ระบุเงินไม่พอใช้ในแต่ละเดือน คือความเดือดร้อน ทุกข์ยากของประชาชนด้านเศรษฐกิจและสังคม, ร้อยละ 49.5 งานไม่มั่นคง, ร้อยละ 32.9 ไม่มีงานทำ,ร้อยละ 32.0 อาหารและของใช้จำเป็นราคาแพง ขณะที่ เหตุปัจจัยของปัญหาด้านการเมืองการปกครอง ร้อยละ 90.7 ระบุ ความล้มเหลวในการแก้ปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม, ร้อยละ 89.7 ความเหลื่อมล้ำ เลือกปฏิบัติ ที่ประชาชนถูกกระทำ ,ร้อยละ 89.1 ความไม่ชอบธรรมของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐเกิดขึ้นในทุกระดับ, ร้อยละ 87.3 ความไม่เชื่อมั่นต่อองค์กรอิสระ และร้อยละ 85.9 ผู้หลักผู้ใหญ่ในรัฐบาล ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีต่อเด็กและเยาวชน

ส่วนเมื่อถามถึง การรับรู้ต่อความซื่อสัตย์ สุจริตของรัฐมนตรีทั้ง 4 คน ที่ตกเป็นข่าวจะถูกปรับออก นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้คะแนนความซื่อสัตย์ สุจริต สูงที่สุด คือ ร้อยละ 59.3, รองลงมา นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร้อยละ 59.2, นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ร้อยละ 59.0 และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 52.5 ขณะเดียวกัน ประชาชนร้อยละ 90.3 ระบุ เคยได้ยิน รับรู้ต่อประวัติด่างพร้อย เกี่ยวโยงทุจริต ของบางคนที่เป็นข่าวจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรี และมีเพียงร้อยละ 9.7 เท่านั้นที่ไม่เคยได้ยิน

ทั้งนี้ ประชาชน ร้อยละ 85.8 ผู้หลักผู้ใหญ่ในรัฐบาล ยังทำงานการเมืองเก่าแบบเดิม ที่เคยถูกอ้างก่อนการยึดอำนาจ ส่วน ร้อยละ 14.2 ระบุ รัฐบาลทำงานแบบการเมืองใหม่ นอกจากนี้ เมื่อมีข่าวต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แนวโน้มจุดยืนการเมืองต่อการสนับสนุนรัฐบาลลดลงจาก จากร้อยละ 22.3 เหลือร้อยละ 13.5

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook