ดร.สุเมธแนะใช้สตินำทาง ลดประโยชน์ส่วนตัว ยุติขัดแย้ง

ดร.สุเมธแนะใช้สตินำทาง ลดประโยชน์ส่วนตัว ยุติขัดแย้ง

ดร.สุเมธแนะใช้สตินำทาง ลดประโยชน์ส่วนตัว ยุติขัดแย้ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ดร.สุเมธเผยความขัดแย้งทางการเมือง เกิดจากความไม่พอเพียง เป็นกิเลส ตัณหา อำนาจและเงินทอง แนะใช้สตินำทาง ลดประโยชน์ส่วนตัว เสียสละเพื่อบ้านเมือง

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวภายหลังมอบรางวัลในการแข่งขัน "เศรษฐศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ : เงินทองของมีค่าและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ครั้งที่ 1 วันที่ 29 สิงหาคมว่า เศรษฐกิจพอเพียงหรือหลักวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องที่อยู่กับตัวเรา ไม่ใช่เรื่องวิชาการชั้นสูง แต่กลับพบว่ามีการบรรจุเป็นหลักสูตรสอนเฉพาะระดับอุดมศึกษาเท่านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมากว่า 10 ปีแล้ว แต่ยังไม่ใครเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของการควบคุมกิเลส ตัณหาให้อยู่ในกรอบ หากใครทำได้ก็จะพบว่าไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยาก หรือต้องให้อดทน แต่เป็นเรื่องของการใช้หลักเหตุผลควบคุม ปัญหาบ้านเมืองที่เกิดขึ้น การทะเลาะเบาะแว้ง และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นก็เพราะความไม่พอเพียง เป็นเรื่องกิเลส ตัณหาทางด้านการเมือง อำนาจและเงินทอง หากใช้สตินำทางก็จะย่อมเข้าใจได้ง่ายขึ้น

"ปัญหาบ้านเมืองที่เกิดขึ้น สามารถทำให้คลี่คลายได้ โดยต้องมีความเข้าใจคำว่าประชาธิปไตยอย่างแท้จริง บุคคลที่มีความขัดแย้งกันทุกฝ่ายต้องตัดลดประโยชน์ส่วนตน เสียสละ เห็นแก่ชาติบ้านเมือง ประชาธิปไตยที่แท้จริงต้องรู้จักเสียสละ เคารพเสียงส่วนใหญ่ นี่คือหลักการมีเหตุมีผล การอยู่ร่วมกันในบ้านเมือง ประชาธิปไตยต้องมีกฎระเบียบ การต่อสู้ การใช้สิทธิของตนเองโดยไม่เกินขอบเขต และไม่กระทบกระเทือนหรือสร้างความเดือดร้อนให้กับคนส่วนใหญ่" ดร.สุเมธ กล่าว

ส่วนเรื่องที่ถูกทาบทามให้ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานคณะกรรมการบริหารโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน (ศพช.) จากนายมีชัย วีระไวทยะ ว่าที่ประธานคณะกรรมการบริหาร ศพช. นั้น ดร.สุเมธ กล่าวว่า พึ่งได้รับโทรศัพท์ทาบทามจากนายมีชัยจริง แต่ขอดูรายะลเอียดก่อนเนื่องจากติดปัญหาเรื่องของเวลา เนื่องจากต้องทำงานหลายอย่าง ให้เป็นที่ปรึกษาอาจจะได้ แต่ให้นั่งดำรงตำแหน่งอะไรนั้นขอดูรายละเอียดก่อน ตนอายุ 70 ปีแล้ว ไม่ได้ยึดกับเรื่องตำแหน่ง แต่คำนึงว่าจะมีเวลาหรือทำประโยชน์ได้มากแค่ไหน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook