“เนเธอร์แลนด์” ยกเลิก “คำระบุเพศ” ในเอกสารราชการ

“เนเธอร์แลนด์” ยกเลิก “คำระบุเพศ” ในเอกสารราชการ

“เนเธอร์แลนด์” ยกเลิก “คำระบุเพศ” ในเอกสารราชการ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ ประกาศยกเลิก “คำระบุเพศ” ในเอกสารราชการ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน และพาสปอร์ต ในช่วงเวลา 5 ปีต่อจากนี้ เพื่อลดการคุกคาม การเลือกปฏิบัติ และการทำร้ายร่างกายกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยนักกิจกรรมทั่วโลก รวมถึงในประเทศเนเธอร์แลนด์ ต่างผลักดันให้มีกฎหมายที่สามารถเปลี่ยนแปลงคำระบุเพศจาก “ชายเป็นหญิง” หรือ “หญิงเป็นชาย” ในเอกสารที่ออกโดยทางราชการมาอย่างยาวนาน

ในปี 2006 ผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกได้ร่วมกันร่าง Yogyakarta Principle หรือประมวลกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสิทธิมนุษยชนนานาชาติ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศ และหลังจากนั้น 10 ปี พวกเขาก็แก้ไขร่างดังกล่าว เพื่อสร้างความยอมรับเรื่องเพศสถานะของบุคคลนั้น ๆ โดยระบุว่า “ให้ยกเลิกการใช้ “เพศ” และ “เพศสถานะ” ในเอกสารที่ทางการออกให้ เช่น สูติบัตร บัตรประจำตัวประชาชน พาสปอร์ต และใบขับขี่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ทางกฎหมายของคน ๆ นั้น

คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ว่าด้วยรสนิยมทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ กล่าวในปี 2018 ว่า “ระบบกฎหมายจำเป็นต้องพิจารณาเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการแสดงข้อมูลที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อย่างระมัดระวัง เพื่อความต้องการที่แท้จริงที่จะแสดงหรือไม่แสดงคำระบุเพศในเอกสารทางการและไม่เป็นทางการ”

จุดประสงค์ของเอกสารระบุตัวตน คือ การแสดงข้อมูลพื้นฐานที่สามารถถระบุตัวตนของเจ้าของเอกสารนั้น ๆ ได้ ดังนั้น เชื้อชาติและเพศสถานะ จึงไม่ใช่ข้อมูลสำคัญที่ต้องปรากฎอยู่ในเอกสาร ยิ่งไปกว่านั้น การยกเลิกข้อมูลที่ไม่จำเป็นออกจากเอกสารราชการก็เคยเกิดขึ้นแล้วหลายครั้ง โดยหลายประเทศได้ทำการยกเลิกข้อมูลส่วนตัว เช่น เชื้อชาติ ศาสนา และสถานะแต่งงาน ออกจากเอกสารราชการเป็นที่เรียบร้อย

การตัดสินใจของเนเธอร์แลนด์นำไปสู่การถกเถียงว่า “คำระบุเพศ” ในเอกสารราชการ ไม่มีความจำเป็นและอาจทำให้เกิดอันตรายจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เมื่อประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวแล้ว ประชาชนชาวเนเธอร์แลนด์ก็ไม่จำเป็นต้องพกพาเอกสารที่มีข้อมูลที่ไม่จำเป็น และอาจส่งผลให้เกิดอันตรายกับพวกเขาได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook