ผู้เชี่ยวชาญแนะปิดเครื่องปรับอากาศ เหตุเสี่ยงแพร่กระจายเชื้อ “โควิด-19”

ผู้เชี่ยวชาญแนะปิดเครื่องปรับอากาศ เหตุเสี่ยงแพร่กระจายเชื้อ “โควิด-19”

ผู้เชี่ยวชาญแนะปิดเครื่องปรับอากาศ เหตุเสี่ยงแพร่กระจายเชื้อ “โควิด-19”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้เชี่ยวชาญจาก UK Health and Safety Executive สหราชอาณาจักร เปิดเผยว่า ระบบต่างๆ ในเครื่องปรับอากาศที่ “รีไซเคิล” อากาศภายในห้องหรือออฟฟิศ อาจเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้อนุภาคของไวรัสโคโรนาที่ลอยอยู่ในอากาศแพร่กระจายได้ แม้จะมีการรักษาระยะห่างทางสังคม ดังนั้น จึงแนะนำให้ปิดเครื่องปรับอากาศหรือเปิดไว้พร้อมกับเปิดหน้าต่างด้วย รวมทั้งพยายามระบายอากาศออกจากห้อง เพื่อให้ได้รับอากาศบริสุทธิ์เมื่อสามารถทำได้

อย่างไรก็ตาม UK Health and Safety Executive ระบุว่า ความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนาผ่านเครื่องปรับอากาศนั้นมีน้อยมาก ตราบเท่าที่สถานที่นั้นๆ มีอากาศบริสุทธิ์และการระบายอากาศที่เพียงพอ แต่หากมีการใช้ระบบระบายอากาศส่วนกลาง ที่หมุนเวียนอากาศไปยังห้องต่างๆ ก็แนะนำให้ปิดระบบดังกล่าว และใช้อากาศจากภายนอกแทน

ดร.ชอน ฟิตซ์เจอรัลด์ นักวิจัยจากสถาบันวิศวกรรมแห่งชาติ สหราชอาณาจักร กล่าวว่า มาตรการที่แนะนำในขณะนี้ก็คือ หากคุณมีระบบปรับอากาศที่แยกจากกัน ให้เปิดหน้าต่างทิ้งไว้ แม้ว่าอากาศภายในอาคารจะไม่เย็นมากก็ตาม และหากมีลมเล็กน้อยก็จะช่วยให้มีอากาศไหลเวียน แต่หากไม่สามารถเปิดหน้าต่างได้ ก็ให้ปิดระบบนั้น

อย่างไรก็ตาม แนวทางของ Chartered Institution of Building Service Engineers เตือนว่า ระบบที่แยกจากกันที่ไม่ได้ช่วยให้มีอากาศจากภายนอกเข้ามาเติมในห้อง อาจเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้อนุภาคของไวรัสโคโรนาที่ลอยอยู่ในอากาศแพร่กระจายได้ แม้จะมีการรักษาระยะห่างทางสังคม

ดร.ฟิตซ์เจอรัลด์กล่าวว่า การเปิดหน้าต่างขณะที่มีการเดินระบบเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยง แม้ว่าจะขัดแย้งกับความเชื่อเดิม และมีค่าใช้จ่ายที่สูง

ด้านนักวิจัยเกี่ยวกับสุขภาวะสิ่งแวดล้อม โจเซฟ การ์ดเนอร์ อัลเลน ระบุว่า ระบบระบายอากาศที่มีตัวกรองประสิทธิภาพสูง เป็นหนทางหลักในการกรองละอองฝอยในอากาศ ขณะที่การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนาในจีน เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ระบุว่าการแพร่กระจายของละอองฝอยนั้นเกิดจากการระบายอากาศที่มาจากเครื่องปรับอากาศ โดยมีปัจจัยหลักในการติดเชื้อคือทิศทางของการไหลเวียนอากาศ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook